ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันขอบคุณเหล่าผู้นำของกลุ่มประเทศ G7 ที่ร่วมออกแถลงการณ์ให้ความสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน เป็นครั้งแรก
2021-06-15
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันขอบคุณเหล่าผู้นำของกลุ่มประเทศ G7 ที่ร่วมออกแถลงการณ์ให้ความสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน เป็นครั้งแรก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันขอบคุณเหล่าผู้นำของกลุ่มประเทศ G7 ที่ร่วมออกแถลงการณ์ให้ความสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน เป็นครั้งแรก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 14 มิ.ย. 64
 
การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนําระดับโลก 7 ประเทศ (Group of Seven, G7) ครั้งที่ 47 ที่จัดขึ้นในเมืองคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมหลังเสร็จสิ้นการประชุม ซึ่งมีเนื้อความที่ระบุเน้นย้ำความสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก  พร้อมสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายแก้ไขปัญหาระหว่างสองฝั่งช่องแคบด้วยสันติวิธี  นับเป็นครั้งแรกในรอบ 46 ปี ตั้งแต่ปี 1975 ที่ได้มีการรวมตัวของ 6 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก ซึ่งขณะนี้เพิ่มมาเป็น 7 ประเทศแล้ว โดยที่ประชุมในครั้งนี้ ได้ออกแถลงการณ์ที่ระบุถึงข้อความที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอบคุณผู้นำกลุ่มประเทศ G7 และสหภาพยุโรป (EU) ด้วยใจจริง ที่ให้ความสำคัญกับสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวันอย่างเป็นรูปธรรม
 
นี่เป็นอีกครั้งที่ผู้นำกลุ่มประเทศ G7 และ EU แสดงจุดยืนในการให้ความสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ต่อเนื่องจากในการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ – ญี่ปุ่นที่จัดขึ้นในเดือนเมษายน ปี 2021การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ – เกาหลีใต้ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม การประชุมสุดยอดผู้นำ EU – ญี่ปุ่น การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกลุ่มประเทศ G7 และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมระหว่างญี่ปุ่น – ออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่า การรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน เป็นฉันทามติร่วมกันของผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูงของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกอย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี แคนาดา และ EU อีกทั้งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่า สันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสรรค์สร้าง “ภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกที่เสรีและการเปิดกว้าง”
 
การประชุม G7 ประจำปีนี้เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในรูปแบบออฟไลน์ นับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เป็นต้นมา โดยในการประชุมครั้งนี้ ตัวแทนประเทศที่เข้าร่วมต่างร่วมหารือกันในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ มาตรการการเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ของนานาประเทศทั่วโลก แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด – 19 การเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น