ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ตซื้อผลงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยของไต้หวันไปเป็นของสะสม
2021-07-16
New Southbound Policy。พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ตซื้อผลงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยของไต้หวันไปเป็นของสะสม (ภาพจากกระทรวงวัฒนธรรม)
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ตซื้อผลงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยของไต้หวันไปเป็นของสะสม (ภาพจากกระทรวงวัฒนธรรม)

กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 15 ก.ค. 64
 
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต (Victoria and Albert Museum, V&A) ของอังกฤษที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในด้านการจัดแสดงผลงานด้านหัตถศิลป์ร่วมสมัยและศิลปะประยุกต์ โดยในช่วงหลายปีมานี้ V&A ได้ติดต่อขอจัดซื้อผลงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยของศิลปินไต้หวันหลายท่าน และหนึ่งในก็คือผลงานเครื่องเคลือบเซรามิก ในคอลเลกชัน “หินนิรนาม (Rock with no name)” ของดร. จางชิงยวน และเครื่องประดับไทเทเนียมของนายเฉินจื้อฉวน แสดงให้เห็นว่า V&A ให้ความสนใจต่อหัตถศิลป์ร่วมสมัยและผลงานการออกแบบของไต้หวันเป็นอย่างมาก
 
ดร. จางชิงยวน ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไถหนาน (Tainan National University of the Arts, TNNUA) และช่างปั้นเซรามิก เคยได้รับรางวัลพิเศษด้านหัตถศิลป์สมัยใหม่ของญี่ปุ่น รวมถึงรางวัลศิลปินยอดเยี่ยมประจำปีของรัฐแมริแลนด์ของสหรัฐฯ โดยผลงานของดร. จางฯ เคยถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการในต่างประเทศมากมาย ทั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชิการากิ จังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ในเมืองคานาซาว่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผลงานภายใต้ชื่อ “หินนิรนาม” ที่ V&A ได้ติดต่อขอซื้อเพื่อนำไปจัดแสดง เป็นหินรูปทรงประหลาดซึ่งทำจากเซรามิก ที่จัดแสดงโดยมาวางไว้นอกภาชนะ หรือนำไปวางในบรรจุภัณฑ์ที่โปร่งใสเพื่อให้ผู้คนร่วมสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ โดยใช้แนวคิดของ “การวางผิดที่ผิดทาง” ในการอุปมาให้ผู้พบเห็นได้ตระหนักถึงองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของไต้หวัน
 
ผลงานอีกชิ้นคือ เครื่องประดับไทเทเนียมของเฉินจื้อฉวน ซึ่งเป็นนักออกแบบเครื่องประดับคนแรกของไต้หวันที่ V&A ติดต่อขอซื้อผลงาน โดยผลงานชิ้นนี้ใช้ดอกแมกโนเลียเป็ยองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ โดยใช้ไทเทเนียมมาทำการสรรค์สร้างเป็นประติมากรรมแบบสามมิติ โดยชิ้นส่วนในผลงานสามารถแยกออกมาเป็นเครื่องประดับได้ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับคำชื่นชมจากเว็บไซต์ของ V&A ว่า “ผสมผสานประติมากรรม การออกแบบตกแต่ง และเครื่องประดับ ถือเป็นการเปิดบริบทใหม่ให้กับเครื่องประดับแห่งศตวรรษที่ 21”
 
ปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมิได้นำผลงานทั้งสองชิ้นนี้ออกมาจัดแสดง แต่เปิดให้ชมได้แล้วจากคลังข้อมูลของสะสมในรูปแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีผลงานของศิลปนท่านอื่นที่มาจากไต้หวัน ได้แก่ เครื่องเซรามิกของเหลียงเจียหาว และประติมากรรมไม้แกะสลักของไป๋ชางอี๋