ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กรมการค้าต่างประเทศจัดการประชุมนานาชาติรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก
2021-10-21
New Southbound Policy。กรมการค้าต่างประเทศจัดการประชุมนานาชาติรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก (ภาพจากกรมการค้าต่างประเทศ)
กรมการค้าต่างประเทศจัดการประชุมนานาชาติรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก (ภาพจากกรมการค้าต่างประเทศ)

กรมการค้าต่างประเทศ วันที่ 15 ต.ค. 64
 
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของห่วงโซ่อุปทานระดับโลก กรมการค้าต่างประเทศ (BOFT) กระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จึงได้จัดการประชุมรูปแบบออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “การรับมือกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของภาคธุรกิจ”
 
ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ (EU) ต่างทยอยเสนอมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร่วมดำเนินภารกิจการลดคาร์บอน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างอุตสาหกรรม และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” (Green New Deal) โดยมาตรการข้างต้นประกอบด้วย “กลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism, CBAM)” “ตลาดคาร์บอน (Carbon Market)” และ “การจำแนกหมวดหมู่สำหรับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”
 
ในช่วงที่ผ่านมา BOFT ได้จัดการประชุมขึ้นเพื่อร่วมแบ่งปันการรับมือกับทิศทางนโยบาย Green New Deal ของนานาประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อหุ้นส่วนทางการค้าของ UN เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ภาคอุตสาหกรรมในการยกระดับศักยภาพการแข่งขัน โดยการประชุมในครั้งนี้ได้รับการตอบสนองอย่างคึกคักจากบรรดาผู้ประกอบการ โดยจะเห็นได้จากการที่มียอดผู้เข้าร่วมการปรระชุมนับพันคน
 
BOFT ระบุว่า หลายปีมานี้ นานาประเทศต่างให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  อาทิ เกาหลีใต้และ EU ที่ล้วนมุ่งมั่นผลักดันนโยบาย Green New Deal ส่วนไต้หวันก็ได้เร่งดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน นับตั้งแต่ด้านการผลิต การขนส่ง การเคหะ ไปจนถึงการเกษตร โดยได้ร่างแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2050