ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา อียู และอิสราเอล เข้าร่วมการประชุม “หยุดยั้งความรุนแรงทางเพศ” ภายใต้กรอบความร่วมมือและการฝึกอบรม GCTF
2022-05-25
New Southbound Policy。ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา อียู และอิสราเอล เข้าร่วมการประชุม “หยุดยั้งความรุนแรงทางเพศ” ภายใต้กรอบความร่วมมือและการฝึกอบรม GCTF (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา อียู และอิสราเอล เข้าร่วมการประชุม “หยุดยั้งความรุนแรงทางเพศ” ภายใต้กรอบความร่วมมือและการฝึกอบรม GCTF (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 25 พ.ค.65
 
เพื่อร่วมผลักดันและแบ่งปันประสบการณ์ในด้านความเสมอภาคทางเพศและการรับประกันสิทธิมนุษยชน ที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จของ “การประชุมหารือด้านการบริหารจัดการทางประชาธิปไตยในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกระหว่างไต้หวัน-สหรัฐฯ” ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2021 กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และสำนักงานความเสมอภาคทางเพศของสภาบริหาร  ได้ร่วมกับสำนักงานตัวแทนของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา สหภาพยุโรป และอิสราเอล ที่ประจำอยู่ในไต้หวันรวม 7 ประเทศ จัดการสัมมนาด้าน “การหยุดยั้งความรุนแรงทางเพศ” ภายใต้กรอบความร่วมมือและการฝึกอบรม GCTF (2022 GCTF Conference on Ending Gender-based Violence) แบบไฮบริด (ออนไลน์และออฟไลน์) ขึ้น ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2022
 
นายซูเจินชาง นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดด้วยตนเองได้กล่าวในระหว่างการเปิดงานว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความรุนแรงทางเพศบนเครือข่ายดิจิทัลได้ผุดขึ้นมาอย่างไม่หยุดหย่อน ส่งผลให้กลุ่มสตรี เด็กผู้หญิง และกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ ได้กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงนี้ จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไต้หวันและพันธมิตรจากนานาชาติได้ร่วมมือกันภายใต้กรอบ GCTF ในการรับมือกับความท้าทายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงทางเพศนี้ Jenny BLOOMFIELD ผู้แทนจากสำนักงานออสเตรเลียได้เป็นตัวแทนของประเทศผู้ร่วมจัดงาน ก็ได้กล่าวเรียกร้องให้หยุดยั้งความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ พร้อมทั้งได้ให้การยอมรับความสำเร็จของไต้หวันในการผลักดันประเด็นด้านความรุนแรงทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม
 
การประชุม GCTF ในครั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมการประชุมมากที่สุดตั้งแต่เคยจัดมา แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการผลักดันประเด็นด้านความเสมอภาคทางเพศของไต้หวันในสังคมโลก 
 
การประชุมครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและภาควิชาการของไต้หวัน รวมถึงสำนักงานตัวแทนของต่างประเทศในไต้หวันรวมประมาณ 100 คน เข้าร่วมการประชุมในสถานที่จริง นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐบาลและวิชาการจากเอเชียแปซิฟิก ลาตินอเมริกา เอเชียตะวันตก ยุโรปและแอฟริกา 22 ประเทศ รวม 200 กว่าคน เข้าร่วมการประชุมแบบออนไลน์ด้วย