ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีและขอบคุณรัฐสภายุโรปที่มีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยความท้าทายด้านความมั่นคงของสหภาพยุโรปและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก” ซึ่งมีเนื้อความที่ระบุถึงการให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในช่องแคบไต้หวัน พร้อมมองว่าไต้หวันเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยและหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก
2022-06-08
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีและขอบคุณรัฐสภายุโรปที่มีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยความท้าทายด้านความมั่นคงของสหภาพยุโรปและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก” ซึ่งมีเนื้อความที่ระบุถึงการให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในช่องแคบไต้หวัน พร้อมมองว่าไต้หวันเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยและหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีและขอบคุณรัฐสภายุโรปที่มีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยความท้าทายด้านความมั่นคงของสหภาพยุโรปและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก” ซึ่งมีเนื้อความที่ระบุถึงการให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในช่องแคบไต้หวัน พร้อมมองว่าไต้หวันเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยและหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 8 มิ.ย. 65
 
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ประชุมรัฐสภายุโรปได้มีมติเห็นชอบต่อ “รายงานว่าด้วยความท้าทายด้านความมั่นคงของสหภาพยุโรปและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก” ด้วยคะแนนเสียง 474 ต่อ 60 โดยมีผู้งดออกเสียง 80 เสียง โดยเนื้อความในรายงานฉบับนี้ ได้ระบุถึงความมั่นคงในช่องแคบไต้หวันหลายจุด เพื่อเน้นย้ำถึงภัยคุกคามจากจีนที่มีต่อบูรณภาพแห่งดินแดนของไต้หวัน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค จึงขอต่อต้านต่อพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการคุกคามและทำลายสถานภาพในปัจจุบันของช่องแคบไต้หวัน พร้อมทั้งประณามจีนที่พยายามแพร่กระจายข้อมูลที่เป็นการเปรียบเทียบสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน กับสถานการณ์ความมั่นคงของไต้หวัน นอกจากนี้ เนื้อความในรายงานยังได้มีการระบุให้ไต้หวันสำแดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก พร้อมทั้งมองว่าไต้หวันเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยและหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกของสหภาพยุโรป (EU) จึงได้เร่งกำชับให้ EU – ไต้หวันเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในประเด็นต่างๆ ระหว่างกัน ตลอดจนยืนยันจุดยืนการสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) ในฐานะผู้สังเกตการณ์
 
นี่เป็นครั้งที่ 5 ที่รัฐสภายุโรปได้มีมติผ่านญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ต่อเนื่องจาก “ญัตติฉุกเฉินว่าด้วยการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในฮ่องกง” “รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกันประจำปี” (CFSP) “รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายความมั่นคงและการป้องกันประเทศ” (CSDP) และ “รายงานการแทรกแซงจากต่างชาติต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยในสหภาพยุโรป (รวมถึงการสร้างข่าวปลอม)” จึงจะเห็นได้ว่า รัฐสภายุโรปให้การสนับสนุนไต้หวันที่เป็นรูปธรรม อย่างหนักแน่นเสมอมา ซึ่งนอกจากจะสอดรับต่อฉันทามติของกลุ่มประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกว่าด้วยการให้ความสำคัญต่อความมั่นคงและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันแล้ว ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ารัฐสภายุโรปได้ยกระดับการระแวดระวังต่อพฤติกรรมของจีนในการทำลายสันติภาพและเสถียรภาพที่นับวันยิ่งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอบคุณสำหรับการลงมติเห็นชอบของรัฐสภายุโรป พร้อมคาดหวังที่จะเห็นรัฐสภายุโรปยึดมั่นในการสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) ผ่านการร่วมเป็นกระบอกเสียงบนเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
 
ไต้หวันในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะเร่งประสานความร่วมมือในนานาภาคส่วนกับ EU ประเทศสมาชิกของ EU และกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันต่อไป เพื่อร่วมรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันและภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกให้คงอยู่สืบต่อไป ทั้งนี้ เพื่อร่วมต่อต้านสงครามลูกผสมที่ประเทศลัทธิอำนาจนิยมต้องการที่จะบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ โดยไต้หวันจะยึดมั่นในการธำรงรักษาค่านิยมสากลด้านประชาธิปไตย เสรีภาพ หลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชนสืบต่อไป