ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีที่รัฐสภายุโรปมีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ในด้านการค้าและการลงทุน” เพื่อให้การสนับสนุนไต้หวัน – EU เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจรูปแบบดิจิทัล ตลอดจนยกระดับความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน
2022-07-06
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีที่รัฐสภายุโรปมีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ในด้านการค้าและการลงทุน” เพื่อให้การสนับสนุนไต้หวัน – EU เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจรูปแบบดิจิทัล ตลอดจนยกระดับความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีที่รัฐสภายุโรปมีมติผ่าน “รายงานว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ในด้านการค้าและการลงทุน” เพื่อให้การสนับสนุนไต้หวัน – EU เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจรูปแบบดิจิทัล ตลอดจนยกระดับความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 5 ก.ค. 65
 
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่ประชุมรัฐสภายุโรปได้มีมติเห็นชอบต่อ “รายงานว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ในด้านการค้าและการลงทุน” ด้วยคะแนนเสียง 458 ต่อ 51 โดยมีผู้งดออกเสียง 124 เสียง เพื่อกระตุ้นให้ไต้หวัน – EU เปิดการเจรจาในกลไกความร่วมมือเทคโนโลยีสีเขียวในด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และเศรษฐกิจแบบดิจิทัล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ที่เอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายในอนาคตต่อไป โดยรายงานฉบับนี้ยังได้ยืนยันให้คณะกรรมาธิการยุโรปควรเร่งกระตุ้นให้เกิดการลงนามความตกลงทวิภาคีด้านการลงทุน (BIA) ระหว่างไต้หวัน – EUในเร็ววัน พร้อมทั้งเร่งดำเนินการประเมินผลกระทบ (impact assessment) กำหนดขอบเขตการเจรจา (Scoping Exercise) และการปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) ควบคู่ไปพร้อมกัน ตลอดจนเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปเร่งวิจัยการประสานความร่วมมือกับไต้หวันในด้านการยกระดับความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านวิกฤตสาธารณสุขและการค้าด้านเวชภัณฑ์ทางการแพทย์กับไต้หวันให้เกิดความเหนียวแน่นยิ่งขึ้น
 
นับเป็นครั้งที่ 6 ที่รัฐสภายุโรปได้ผ่านญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ต่อเนื่องจาก “ญัตติฉุกเฉินว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในฮ่องกง” “รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกันประจำปี” (CFSP) “รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายความมั่นคงและการป้องกันประเทศ” (CSDP) “รายงานการแทรกแซงจากต่างชาติต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยในสหภาพยุโรป (รวมถึงการสร้างข่าวปลอม)” และ “รายงานว่าด้วยความท้าทายด้านความมั่นคงของสหภาพยุโรปและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก” จึงจะเห็นได้ว่า รัฐสภายุโรปให้การสนับสนุนไต้หวันที่เป็นรูปธรรม อย่างหนักแน่นเสมอมา พร้อมทั้งเป็นการให้การยอมรับและให้ความสำคัญต่อคุณประโยชน์ที่ไต้หวันได้อุทิศต่ออุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอบคุณด้วยใจจริง
 
ไต้หวัน – EU ต่างยึดมั่นในค่านิยมหลักด้านประชาธิปไตย เสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมร่วมกัน ไต้หวันในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมโลกที่มีความรับผิดชอบ จะเร่งเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิดกับ EU และกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันต่อไป ภายใต้พื้นฐานอันแข็งแกร่งที่มีอยู่เดิม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อก้าวสู่การเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของ EU ในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ในด้านเศรษฐกิจการค้าความมั่นคงและค่านิยม เพื่อร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบสากล รวมไปถึงธำรงรักษาภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกที่เปี่ยมด้วยเสรีภาพและการเปิดกว้างให้คงอยู่สืบไป