ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไทยจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารเอเปค โดยนายเฉินจี๋จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตรและรัฐมนตรีจากนานาประเทศ ร่วมหารือประเด็นการธำรงรักษาความมั่นคงด้านเสบียงอาหารในระดับภูมิภาค
2022-08-30
New Southbound Policy。ไทยจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารเอเปค โดยนายเฉินจี๋จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตรและรัฐมนตรีจากนานาประเทศ ร่วมหารือประเด็นการธำรงรักษาความมั่นคงด้านเสบียงอาหารในระดับภูมิภาค (ภาพจากคณะกรรมการการเกษตร)
ไทยจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารเอเปค โดยนายเฉินจี๋จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตรและรัฐมนตรีจากนานาประเทศ ร่วมหารือประเด็นการธำรงรักษาความมั่นคงด้านเสบียงอาหารในระดับภูมิภาค (ภาพจากคณะกรรมการการเกษตร)

คณะกรรมการการเกษตร วันที่ 26 ส.ค. 65
 
การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 (The 7th APEC Virtual Food Security Ministerial Meeting) ได้เปิดฉากขึ้นผ่านรูปแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. โดยการประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการอภิปรายใน “แผนปฏิบัติการว่าด้วยแนวทางการบรรลุความมั่นคงด้านอาหารในปี 2030” รวมถึงผลสัมฤทธิ์และมาตรการรักษาความมั่นคงด้านอาหารในระดับภูมิภาคของเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยในระหว่างการประชุม นายเฉินจี๋จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ร่วมแบ่งปันมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องของไต้หวัน ในการธำรงรักษาความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งแพลตฟอร์มข้อมูลรูปแบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร นโยบายการขจัดความหิวโหย รวมถึงผลสัมฤทธิ์และความมุ่งหวังในการประชุมหัวข้อ “ลดผลกระทบจากการสูญเสียและการสิ้นเปลืองอาหาร” ภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค ที่ไต้หวันทำหน้าที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจ (lead economy) โดยในระหว่างการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีจากทุกประเทศต่างมีมติเห็นชอบผ่าน “แผนปฏิบัติการว่าด้วยแนวทางการบรรลุความมั่นคงด้านอาหารในปี 2030” โดยเน้นย้ำว่าจะร่วมผลักดันภารกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลและนวัตกรรม ศักยภาพด้านการผลิต การยอมรับซึ่งกันและกัน การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมรักษาความมั่นคงด้านอาหารในระดับภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกให้คงอยู่ต่อไป
 
ไต้หวันแบ่งปันมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านการสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร
เนื่องจากในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และความขัดแย้งในภูมิภาค ทำให้ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ปธ.เฉินฯ จึงได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การจัดตั้งกลไกแพลตฟอร์มข้อมูลรูปแบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อเป็นสื่อกลางในการควบคุมสถานการณ์ ผ่านการเฝ้าระวังพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณการผลิต สถานการณ์การนำเข้า โกดังเก็บผลผลิต แหล่งผลิตและราคาในท้องตลาด ปริมาณการซื้อขาย รวมไปถึงการประเมินแนวโน้มอุปสงค์ – อุปทานในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อประยุกต์ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างให้เกิดหลักประกันความเสถียรภาพของอุปสงค์และอุปทานด้านอาหาร นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายการขจัดความหิวโหย โดยไต้หวันได้เสนอโครงการ “ขจัดความหิวโหยเป็นศูนย์” ตามกฎหมายการศึกษาด้านอาหารและการเกษตร มาตรา 9 เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และในปริมาณที่เพียงพอ พร้อมส่งมอบความรู้ด้านการเกษตรในพื้นที่และคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการสนับสนุนการผลิตในท้องถิ่น รวมถึงจัดตั้งระบบการบริหารจัดการอาหารที่มีความมั่นคงและยืดหยุ่นอย่างยั่งยืน
 
ไต้หวันทำหน้าที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจในประเด็น “การลดผลกระทบจากการสูญเสียและการสิ้นเปลืองอาหาร”
ในระยะที่ผ่านมา ไต้หวันได้มุ่งมั่นผลักดันโครงการลดผลกระทบจากการสูญเสียอาหาร ภายใต้กรอบเอเปคมาเป็นเวลานาน ซึ่งผลสัมฤทธิ์ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกเอเปค โดยต่างสนับสนุนให้ไต้หวันทำหน้าที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจในประเด็นหัวข้อ “ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างเขตเศรษฐกิจผ่านการจัดตั้งกลไกและการประชุมสัมมนา เพื่อลดผลกระทบจากการสูญเสียอาหารในห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการสิ้นเปลืองอาหารกว่าครึ่ง ก่อนปี 2030 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติในข้อที่ 12.3” ภายใต้แผนปฏิบัติการว่าด้วยแนวทางการบรรลุความมั่นคงด้านอาหาร ในปี 2030 ข้อที่ 17(e) โดยปธ.เฉินฯ แถลงในที่ประชุมว่า ไต้หวันจะร่วมมือกับนานาประเทศ ดำเนินการวางแผนจัดการประชุมสัมมนาว่าด้วยมาตรการด้านการเกษตรเพื่อลดการสูญเสียและการสิ้นเปลืองอาหาร กลยุทธ์ว่าด้วยการลดการสูญเสียและการสิ้นเปลืองและการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการประชุมสัมมนาในประเด็นหัวข้อที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่พื้นทีในเขตเศรษฐกิจเอเปคและนานาประเทศทั่วโลก
 
รัฐมนตรีจากนานาประเทศทั่วโลก เน้นย้ำว่าจะร่วมธำรงรักษาความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค
คณะกรรมการการเกษตร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า ในปีนี้ เจ้าหน้าที่ตัวแทนจากนานาประเทศต่างให้คำมั่นในระหว่างการประชุมครั้งนี้ว่า จะมุ่งมั่นผลักดัน “แผนปฏิบัติการว่าด้วยแนวทางการบรรลุความมั่นคงด้านอาหารในปี 2030” พร้อมทั้งแสดงจุดยืนว่าด้วยการให้ความสำคัญต่อความร่วมมือแบบข้ามภาคส่วน ไต้หวันในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกสำคัญในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก จะประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ เพื่อร่วมธำรงรักษาความมั่นคงด้านอาหารในระดับภูมิภาคต่อไป