ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวัน มูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน สนง.ไทเป ร่วมจัด “การประชุมสัมมนาด้านเสรีภาพทางศาสนาในภูมิภาคปี 2022 – การเสวนาของภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก : ความท้าทายที่มีต่อเสรีภาพทางศาสนา”
2022-08-31
New Southbound Policy。กต.ไต้หวัน มูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน สนง.ไทเป ร่วมจัด “การประชุมสัมมนาด้านเสรีภาพทางศาสนาในภูมิภาคปี 2022 – การเสวนาของภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก : ความท้าทายที่มีต่อเสรีภาพทางศาสนา” (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวัน มูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน สนง.ไทเป ร่วมจัด “การประชุมสัมมนาด้านเสรีภาพทางศาสนาในภูมิภาคปี 2022 – การเสวนาของภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก : ความท้าทายที่มีต่อเสรีภาพทางศาสนา” (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 30 ส.ค. 65
 
กระทรวงการต่างประเทศ มูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน และสถาบันอเมริกาในไต้หวันสำนักงานไทเป (AIT/T) ร่วมจัด “การประชุมสัมมนาด้านเสรีภาพทางศาสนาในภูมิภาคปี 2022 – การเสวนาของภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก : ความท้าทายที่มีต่อเสรีภาพทางศาสนา” ระหว่างวันที่ 30 – 31 ส.ค. โดยได้มีการจัดพิธีเปิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 30 ส.ค. โดยประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) นายโหยวซีคุณประธานสภานิติบัญญัติและประธานมูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน และ Ms. Sandra Oudkirk ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันอเมริกา สำนักงานไทเป ได้เข้าร่วมกล่าวปราศรัย นอกจากนี้ Mr. Rashad Hussain  เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษด้านเสรีภาพทางศาสนาของสหรัฐฯ ก็ได้เข้าร่วมกล่าวปราศรัยผ่านการบันทึกวิดีทัศน์ล่วงหน้า โดย Mr. Nury Turkel ประธานคณะกรรมาธิการด้านเสรีภาพทางศาสนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่วิจัยระดับอาวุโสแห่งสถาบัน Hudson Institute ได้ร่วมเดินทางมาแสดงปาฐกถาในหัวข้อพิเศษในไต้หวันด้วยตนเอง โดยการประชุมว่าด้วยเสรีภาพทางศาสนาในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิกในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและคำมั่นสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมเสรีภาพทางศาสนา ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ
 
ปธน.ไช่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า ไต้หวันตั้งอยู่แนวหน้าในการเผชิญหน้ากับการต่อต้านอำนาจเผด็จการ พร้อมทั้งมุ่งมั่นในการธำรงรักษาและส่งเสริมเสรีภาพทางศาสนาในระดับนานาชาติ ซึ่งนอกจากจะร่วมจัดการประชุมด้านเสรีภาพทางศาสนาขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ในทุกปีไต้หวันยังได้บริจาคเงินให้ “มูลนิธิเสรีภาพทางศาสนาระหว่างประเทศ” ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือฉุกเฉินให้แก่ผู้รอดชีวิตจากการถูกคุกคามเสรีภาพทางศาสนาและผู้ร่วมขบวนการปกป้องเสรีภาพทางศาสนา นอกจากนี้ เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ไต้หวันยังได้สิทธิ์ให้เข้าร่วม “พันธมิตรด้านเสรีภาพทางความเชื่อศาสนาระดับนานาชาติ” (International Religious Freedom or Belief Alliance, IRFBA) ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อประสานความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันในการปกป้องสิทธิของผู้ที่ถูกกดขี่และถูกคุกคามเสรีภาพด้านศาสนา เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านเสรีภาพทางศาสนาให้แก่ประชาชน
 
การประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมด้านเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิมนุษยชน รวม 40 คนจาก 9 ประเทศเข้าร่วม นับเป็นการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในหนังสือคำมั่นที่รัฐบาลไต้หวันเสนอใน “การประชุมสุดยอดประชาธิปไตย” เมื่อช่วงปลายปี 2021 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่แข็งขันของไต้หวันในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก รวมไปถึงการยกระดับเสรีภาพทางศาสนาและกิจการด้านสิทธิมนุษยชน โดยกต.ไต้หวันจะให้ความช่วยเหลือพันธมิตรภาคประชาสังคมในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกและกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึง ผลักดันค่านิยมด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนต่อไป เพื่อร่วมเสริมสร้างความหลากหลาย ความเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคสืบไป