ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รมว.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์แก่ “สำนักข่าว France 24” ชี้ ไต้หวันเป็นดินแดนที่ปักกิ่งต้องการ เพื่อขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการไปสู่ทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มประเทศประชาธิปไตยร่วมมือกันสกัดกั้นความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายของอำนาจเผด็จการ
2022-10-17
New Southbound Policy。รมว.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์แก่ “สำนักข่าว France 24” ชี้ ไต้หวันเป็นดินแดนที่ปักกิ่งต้องการ เพื่อขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการไปสู่ทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มประเทศประชาธิปไตยร่วมมือกันสกัดกั้นความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายของอำนาจเผด็จการ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
รมว.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์แก่ “สำนักข่าว France 24” ชี้ ไต้หวันเป็นดินแดนที่ปักกิ่งต้องการ เพื่อขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการไปสู่ทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มประเทศประชาธิปไตยร่วมมือกันสกัดกั้นความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายของอำนาจเผด็จการ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 14 ต.ค. 65
 
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้สัมภาษณ์แก่ Mr. Cyril Payen ผู้สื่อข่าวอาวุโสของสำนักข่าว France 24 โดยได้ชี้แจงถึงประเด็นต่างๆ ในเชิงลึก อาทิ สถานการณ์ระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ข้อคิดจากสงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และการแผ่ขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการ เป็นต้น โดยเนื้อหาบทสัมภาษณ์ได้รับการเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์สำนักข่าว France 24 ของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา ตามเวลาในกรุงไทเป โดยได้รับกระแสตอบรับและความสนใจอย่างกว้างขวาง
 
รมว.อู๋ฯ ชี้ว่า ไต้หวันตั้งอยู่บนระยะห่วงโซ่ที่ 1 (First Island Chain) ที่ทอดยาวลงมาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาจนถึงฟิลิปปินส์ ด้วยเหตุนี้ จีนจึงหมายตาที่จะเข้าครอบครองไต้หวันมานานแล้ว เพื่ออาศัยตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของไต้หวัน ในการแผ่ขยายอิทธิพลไปสู่ภายนอก ไต้หวันจึงเป็นดินแดนที่รัฐบาลปักกิ่งต้องการ เพื่อใช้ขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการไปสู่ทั่วโลก
 
รมว.อู๋ฯ วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า จีนได้เพิ่มความถี่ในการข่มขู่ไต้หวันด้วยกำลังทหารและสร้างแรงกดดันทางการทูตอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจากในเดือนม.ค. ปี 2019 ที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ได้เสนอหลักการ “1 ประเทศ 2 ระบบ” สำหรับไต้หวัน ในวาระครบรอบ 40 ปีของ “หนังสือแจ้งต่อพี่น้องไต้หวัน” เพื่อหวังจะให้ชาวไต้หวันยอมแพ้โดยง่าย โดยในช่วง 2 ปีมานี้ จีนได้ส่งเครื่องบินรบและเรือรบจำนวนมาก เข้าก่อกวนรุกล้ำเขตอาณาของไต้หวัน ควบคู่ไปกับการบีบบังคับไต้หวัน ผ่านวิธีการต่างๆ อาทิ การแพร่กระจายข่าวปลอม สงครามจิตวิทยา และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา จีนยังได้ใช้ข้ออ้างในกรณีที่ Ms. Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวัน มาเป็นตัวจุดชนวนที่ทำให้จีนทำการฝึกซ้อมตามแผนการโจมตีไต้หวันที่ได้จัดเตรียมไว้มาเป็นเวลานาน
 
รมว.อู๋ฯ เน้นย้ำว่า รัฐบาลจีนป่าวประกาศต่อประชาคมโลกว่า จะเข้าครอบครองไต้หวันด้วยสันติวิธี โดยในขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมล้มเลิกการใช้กำลัง แต่จีนกลับมองข้ามข้อเท็จจริงอันสำคัญที่ว่า สองฝั่งช่องแคบไต้หวันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน รวมไปถึงความสมัครใจของประชาชนชาวไต้หวัน ไต้หวันเป็นประเทศประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ที่จีนไม่เคยได้เข้าปกครองไต้หวันเลยแม้แต่วันเดียว ประชาชนชาวไต้หวันต่างยึดมั่นในวิถีชีวิตแห่งประชาธิปไตยและเสรีภาพ ซึ่งไม่เชื่อและไม่ยินดีที่จะยอมรับหลักการ “1 ประเทศ 2 ระบบ” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหลักการข้างต้น การใช้กำลังอาวุธในการเข้าครอบครอง หรือการเพิกเฉยต่อความสมัครใจของไต้หวัน ล้วนถือเป็นการรุกล้ำดินแดน ซึ่งขัดต่อหลักการขั้นพื้นฐานในกฎบัตรของสหประชาชาติ โดยรมว.อู๋ฯ จึงได้เรียกร้องให้กลุ่มประเทศประชาธิปไตย เร่งประสานสามัคคีซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันห้ามปรามมิให้จีนใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน
 
เมื่อระบุถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและการเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศด้วยตนเองของไต้หวัน รมว.อู๋ฯ แถลงว่า หากรัสเซียสามารถบุกโจมตียูเครนได้ ก็หมายความว่า จีนก็สามารถบุกโจมตีไต้หวันได้เช่นเดียวกัน ไต้หวันจึงขออ้างอิงประสบการณ์ที่ยูเครนสามารถต่อกรกับการรุกรานของรัสเซียได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยไต้หวันให้คำมั่นว่า จะไม่ก่อกรณีข้อพิพาทเพื่อนำไปสู่สงคราม แต่จะเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมืออย่างรัดกุม หลังจากที่สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ปะทุขึ้น ความมุ่งมั่นตั้งใจในการปกป้องประเทศของประชาชนชาวไต้หวัน ก็ยิ่งมีความหนักแน่นเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลไต้หวันจึงได้ทำการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และกองทัพ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างแสนยานุภาพด้านกลาโหมที่ขาดความสมดุล รวมไปถึงผนึกกำลังระหว่างภาคประชาชน เสริมสร้างศักยภาพในการป้องกันประเทศด้วยตนเอง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน เพื่อแสวงหาพลังสนับสนุนและความช่วยเหลือจากนานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อสกัดกั้นความทะเยอทะยานของจีน
 
รมว.อู๋ฯ วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังจากที่จีนเข้ารุกรานไต้หวัน ซึ่งในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ไต้หวันเป็นผู้ผลิตแผ่นชิปวงรรวมรายใหญ่ ที่ป้อนชิ้นส่วนอะไหล่สำคัญให้แก่ทั่วโลกกว่าร้อยละ 62 และอัตราการผลิตแผ่นไมโครชิปขั้นสูงของไต้หวัน ก็ครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 92 หากเกิดสงคราม ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ก็จะเกิดภาวะขาดช่วง และจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโลก
 
ในเชิงการเมือง หากจีนเข้าครอบครองไต้หวัน ก็จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มในภูมิรัฐศาสตร์รอบน่านน้ำไต้หวัน โดยในปัจจุบัน รัฐบาลจีนได้ส่งเรือลาดตระเวณตามพื้นที่สองฝั่งช่องแคบไต้หวันและเรือรบ เข้าตระเวณพื้นที่น่านน้ำในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังได้จัดตั้งฐานทัพในพื้นที่ทะเลจีนใต้ พร้อมทั้งจัดส่งเครื่องบินรบเข้าลาดตระเวณ รวมถึงจัดตั้งกองกำลังทหารพลเรือนเข้าประจำการ ทำให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศโดยรอบ
 
รมว.อู๋ฯ ยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในเดือนมิ.ย. ของปีนี้ จีนและหมู่เกาะโซโลมอนได้ร่วมลงนามความตกลงทางความมั่นคงระหว่างกัน นอกจากนี้ จีนยังได้จัดตั้งท่าเรือในพื้นที่กัมพูชา เมียนมา บังกลาเทศ ศรีลังกาและปากีสถาน เป็นต้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความท้าทายข้างต้น รมว.อู๋ฯ จึงเรียกร้องให้ประชาคมโลก ร่วมสกัดกั้นความทะเยอทะยานของจีน ด้วยการประสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพื่อยุติการแผ่ขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการจากจีนอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวยอดนิยม