กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 1 ธ.ค. 65
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้จัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นแก่ Ms. Alicia Kearns MP ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศแห่งสภาสามัญชนของสหราชอาณาจักร โดยสมาชิกของคณะตัวแทนที่ร่วมเดินทางมาในครั้งนี้ ประกอบด้วย Mr. Royston Smith MP สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนุรักษ์นิยม Mr. Liam Byrne MP สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแรงงาน Mr. Stewart Malcolm McDonald MP สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแห่งชาติสก็อตแลนด์ และ Mr. Neil Coyle MP สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สังกัดพรรคการเมือง รวมไปถึงเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการการต่างประเทศอีก 7 คน นับเป็นอีกครั้งที่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษ รวบรวมคณะเดินทางมาเยือนไต้หวัน หลังจากที่เว้นช่วงไปอันเนื่องมาจากการการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคระบาดมาเป็นเวลาร่วม 3 ปี และนับเป็นครั้งแรกหลังจากปี 2006 ที่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษได้เดินทางเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี ระหว่างไต้หวัน – อังกฤษเป็นอย่างมาก และเป็นบทพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนที่ครอบคลุมในเชิงลึก ระหว่างไต้หวัน – อังกฤษ
รมว.อู๋ฯ กล่าวขอบคุณคณะตัวแทนที่เดินทางมาจากแดนไกล เพื่อร่วมให้การสนับสนุนประชาธิปไตยของไต้หวัน นอกจากนี้ รมว.อู๋ฯ ยังรู้สึกยินดีต่อการที่เห็นรัฐบาลอังกฤษ ยื่นเสนอ “หลักการฝักฝ่ายอินโด - แปซฟิก” ที่ระบุไว้ใน “รายงานการประเมินแบบบูรณาการ” เมื่อปี 2021 โดยรมว.อู๋ฯ ชี้ว่า ภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก และเป็นทางผ่านที่สำคัญของเส้นทางการบินระหว่างประเทศ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของอังกฤษและนานาประเทศทั่วโลก โดยไต้หวันตั้งอยู่บริเวณจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก Mr. Rishi Sunak นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง ต่างร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยว่า สันติภาพและเสถียรภาพในสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน มีส่วนเกี่ยวพันต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกโดยตรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลอังกฤษให้ความสำคัญต่อการจัดตั้งและธำรงรักษาความมั่นคงในสองฝั่งช่องแคบไต้หวันและภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกเป็นอย่างมาก รมว.อู๋ฯ เน้นย้ำว่า หลายปีมานี้ สถานการณ์ระหว่างประเทศนับวันยิ่งต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการประสานสามัคคีระหว่างกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ภายใต้พื้นฐานของค่านิยมด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ในการร่วมสกัดกั้นการแผ่ขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการ
Ms. Kearns ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สำหรับการต้อนรับอันแสนอบอุ่นและเป็นกันเอง โดยในแง่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าไต้หวัน - อังกฤษ จะตั้งอยู่ห่างไกลกันนับพันไมล์ แต่ทั้งสองฝ่ายกลับมีความเชื่อมโยงผูกพันกัน อันเนื่องจากการที่ยึดมั่นในค่านิยมเดียวกัน โดยคณะตัวแทนคาดหวังที่จะทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก เพื่อเสริมสร้างความทรหดของประชาธิปไตย ควบคู่ไปกับการผลักดันความร่วมมือแบบทวิภาคี อย่างการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ การเสริมสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานด้านประชาธิปไตย ผ่านการร่วมเจรจาหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงนักวิชาการที่เข้าร่วมงานเลี้ยงในครั้งนี้ โดย Ms. Kearns เน้นย้ำว่า ไต้หวันจะไม่ถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก รัฐสภาอังกฤษจะยึดมั่นในความตั้งใจแรกเริ่ม ในการให้การสนับสนุนไต้หวันซึ่งเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยอย่างหนักแน่นต่อไป