ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีการลงนามบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการมอบอำนาจทางกลาโหม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ และกรณีการผ่าน “รายงานการจัดสรรงบการเงินรวม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
2022-12-26
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีการลงนามบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการมอบอำนาจทางกลาโหม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ และกรณีการผ่าน “รายงานการจัดสรรงบการเงินรวม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีการลงนามบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการมอบอำนาจทางกลาโหม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ และกรณีการผ่าน “รายงานการจัดสรรงบการเงินรวม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 24 ธ.ค. 65
 
กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ชี้แจงต่อกรณีการลงนามบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการมอบอำนาจทางกลาโหม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ และกรณีการผ่าน “รายงานการจัดสรรงบการเงินรวม ประจำปีงบประมาณ 2023” ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ โดยมีนัยยะสำคัญดังต่อไปนี้
 
หลังจากเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ ได้มีมติเห็นชอบต่อ “กฎหมายว่าด้วยการมอบอำนาจทางกลาโหม ประจำปีงบประมาณ 2023” หลังจากที่ได้ทำการแก้ไขโดยทั้งสองสภาแล้ว ก็ได้นำเสนอต่อประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกา และเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา ปธน.ไบเดนก็ได้ทำการลงนามในร่างกฎหมายฉบับข้างต้น เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และเป็นไปตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ โดยในวันเดียวกันนั้น สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ยังได้ลงร่วมมติให้ผ่าน“รายงานการจัดสรรงบการเงินรวม ประจำปีงบประมาณ 2023” ที่อนุมัติและยื่นส่งมาจากวุฒิสภา อันเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนทางนิติบัญญัติแล้ว ในลำดับขั้นต่อไปจะเป็นการยื่นเสนอต่อปธน.โจ ไบเดน เพื่อขออนุมัติและลงนาม จากนั้น จึงจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายอย่างเป็นทางการต่อไป
 
การที่กฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้นผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา แสดงให้เห็นว่า รัฐสภาสหรัฐฯ ล้วนมีจุดยืนในการสนับสนุนการสร้างความร่วมมือแบบครอบคลุมระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ซึ่งนอกจากเงินทุนสนับสนุนทางการทหารต่างประเทศของสหรัฐฯ (Foreign Military Financing, FMF) และ “โครงการนักวิชาการไต้หวัน” แล้ว ญัตติสองฉบับข้างต้นยังได้เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ไต้หวันในการเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศภายใต้ “โครงการฝึกอบรมทางทหารนานาชาติ” (IMET) ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องต่อ “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ” ที่ทั้งสองประเทศร่วมลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญใน MOU ได้เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศและองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) รวมไปถึงพันธมิตรและหุ้นส่วน ซึ่งรวมไปถึงไต้หวัน เร่งสร้างความร่วมมือในกลุ่มประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณภายใต้กรอบ “Global Cooperation and Training Framework (GCTF)” เพิ่มจาก 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่ออัดฉีดทรัพยากรมากขึ้นให้แก่กลไกความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างทั้งสองฝ่าย กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขอขอบคุณรัฐสภาสหรัฐฯ ด้วยใจจริงสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้วยหลักการทางกฎหมายและการกำหนดนโยบายที่หลากหลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ และการเสริมสร้างความมั่นคงของไต้หวัน
 
โดยรัฐบาลไต้หวันจะเร่งเสริมสร้างกลไกการเจรจากับรัฐสภาและหน่วยงานสภาบริหารของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาประเทศในภาพรวม พร้อมดำเนินการตามระเบียบที่เป็นมิตรต่อไต้หวันให้บรรลุผลอย่างมีเสถียรภาพ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับสหรัฐฯ บนพื้นฐานอันแข็งแกร่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนแบบทวิภาคี ตลอดจนร่วมปกป้องสันติภาพและเสถียรภาพในสองฝั่งช่องแคบไต้หวันและภูมิภาคให้คงอยู่สืบไป