ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
อุตสาหกรรมของไต้หวันตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในเวทีโลกได้อย่างยอดเยี่ยม แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการผลักดันอุตสาหกรรม 5+2
2023-01-18
New Southbound Policy。อุตสาหกรรมของไต้หวันตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในเวทีโลกได้อย่างยอดเยี่ยมในการ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการผลักดันอุตสาหกรรม 5+2 (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
อุตสาหกรรมของไต้หวันตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในเวทีโลกได้อย่างยอดเยี่ยมในการ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการผลักดันอุตสาหกรรม 5+2 (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

คณะกรรมการพัฒนาแห่งชาติ วันที่ 17 ม.ค. 66
 
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์การผลักดันอุตสาหกรรมนวัตกรรม 5+2 ของรัฐบาลไม่บังเกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งชาติได้ย้ำว่า การที่ภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันสามารถสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาสงครามการค้าและความขัดแย้งด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบห่วงโซ่อุปทานหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการผลักดันนโยบายของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้ภาคอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จในการยกระดับตัวเอง จนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับนานาชาติ
 
การผลักดันโครงการซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย ทำให้มูลค่าอุตสาหกรรม IoT ของไต้หวัน ในปี 2018 สามารถขยายตัวจนมีมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านล้านเหรียญไต้หวันเป็นครั้งแรก คาดว่ามูลค่าในปี 2022 จะขยายตัวจนทะลุหลัก 2 ล้านล้านเหรียญไต้หวันได้สำเร็จ ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล หลังจากที่ผลักดันนโยบายการยกระดับสู่การเป็นเครื่องจักรกลอัจฉริยะทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญไต้หวันตั้งแต่ปี 2017 สำหรับการผลักดันพลังงานสีเขียวของรัฐบาล คาดว่าในปี 2025 จะสามารถดึงดูดให้มีการลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมนอกชายฝั่งและพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญไต้หวันเช่นกัน ในส่วนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้รับอานิสงส์จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็มีมูลค่าอุตสาหกรรมทะลุหลัก 1 ล้านล้านเหรียญไต้หวันในปี 2020 โดยนอกจากตัวเลขตามสถิติข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบและนักลงทุนระดับนานาชาติหลายรายก็เพิ่มการลงทุนและสร้างความร่วมมือกับไต้หวัน จนทำให้ไต้หวันมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานระดับนานาชาติ รัฐบาลจึงจะผลักดันนโยบายอุตสาหกรรมนวัตกรรม 5+2 เวอร์ชัน 2.0 และ 6 อุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้ความสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการตามความต้องการในด้านการตลาด การสรรหาบุคลากร และการสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีต่อไป