ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันจัด “การประชุม Ketagalan-ความมั่นคงในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ประจำปี 2023” เน้นประเด็นสถานการณ์ช่องแคบไต้หวันและความมั่นคงระดับโลก
2023-08-07
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันจัด “การประชุม Ketagalan-ความมั่นคงในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ประจำปี 2023” เน้นประเด็นสถานการณ์ช่องแคบไต้หวันและความมั่นคงระดับโลก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันจัด “การประชุม Ketagalan-ความมั่นคงในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ประจำปี 2023” เน้นประเด็นสถานการณ์ช่องแคบไต้หวันและความมั่นคงระดับโลก (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 4 ส.ค. 66
 
กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และมูลนิธิ The Prospect Foundation มีกำหนดการจัด “การประชุม Ketagalan-ความมั่นคงในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ประจำปี 2023” (Ketagalan Forum: 2023 Indo-Pacific Security Dialogue) ในวันที่ 8 ส.ค. ณ โรงแรม Grand Hyatt Taipei โดยหวังจะร่วมพูดคุยและสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการประชุมครั้งนี้ เพื่อร่วมธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกให้คงอยู่ต่อไป
 
การประชุมในครั้งนี้ได้ถูกจัดขึ้นในสถานที่จริงอย่างเต็มรูปแบบอีกเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคระบาดเมื่อช่วงที่ผ่านมา โดยได้เชิญ Mr. Taro Aso อดีตนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น Mr. Andrus Ansip อดีตนายกรัฐมนตรีเอสโตเนีย เดินทางมาเข้าร่วมแสดงปาฐกถาในไต้หวัน นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกสภา นักการเมือง นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน จาก 12 ประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญของไต้หวัน อาทิ Mr. Karambir Singh ประธานมูลนิธิ The National Maritime Foundation (NMF) ของอินเดีย Mr. Keisuke Suzuki สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่น Mr. Vilius Semėška สมาชิกรัฐสภาลิทัวเนีย Mr. Daniel Russel รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายแห่งสมาคมเอเชียของสหรัฐฯ (Asia Society Policy Institute) และ Mr. Isaac Ben-Israel ผู้อำนวยการ “ศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (The Tel Aviv University) ของอิสราเอล” (Blavatnik Interdisciplinary Cyber Research Center, ICRC) โดยการประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นสถานการณ์ล่าสุดในช่องแคบไต้หวัน และความสงบเรียบร้อยด้านความมั่นคงในระดับสากล ความท้าทายและผลกระทบต่อประชาธิปไตย ที่เกิดจาก “ยุทธศาสตร์สงครามในพื้นที่สีเทา” เช่น สงครามไซเบอร์และสงครามจิตวิทยา รวมไปถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานโลกและบทบาทของไต้หวัน เป็นต้น
 
กต.ไต้หวันขอเชิญชวนให้ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมรับชมบรรยากาศการประชุมได้ที่ Youtube Channel ช่อง Ketagalan Forum