ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
Dr. Omar M. Yaghi คว้ารางวัลถังไพรซ์สาขาการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2024-06-19
New Southbound Policy。Dr. Omar M. Yaghi คว้ารางวัลถังไพรซ์สาขาการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ภาพจากเว็บไซต์มูลนิธิถังไพรซ์)
Dr. Omar M. Yaghi คว้ารางวัลถังไพรซ์สาขาการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ภาพจากเว็บไซต์มูลนิธิถังไพรซ์)

เว็บไซต์มูลนิธิถังไพรซ์ วันที่ 18 มิ.ย. 67
 
มูลนิธิถังไพรซ์ (Tang Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลถังไพรซ์ (Tang Prize) ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยในปีนี้ Dr. Omar M. Yaghi เป็นผู้ที่คว้ารางวัลถังไพรซ์มาครองได้สำเร็จ โดยมูลนิธิฯ ได้ให้การยอมรับต่อการสร้างคุณประโยชน์ด้านการประยุกต์ใช้เคมีโลหอินทรีย์ และโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (MOFs) ในการออกแบบเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ไฮโดรเจน และการกักเก็บก๊าซมีเทน รวมไปถึงการกักเก็บน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง
 
ปัจจุบัน Dr. Omar M. Yaghi ดำรงตำแหน่งเป็นประธานภาควิชาเคมีในสถาบัน James and Neeltje Tretter แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสในห้องปฏิบัติการ Lawrence Berkeley National Laboratory อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันวิทยาศาสตร์โลกแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ อีกด้วย
 
โมเลกุลก๊าซขนาดเล็ก 4  ชนิดในชั้นบรรยากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกมากที่สุด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน มีเทนและน้ำ Dr. Yaghi ได้สาธิตแนวทางใหม่ในการควบคุมโมเลกุลเหล่านี้ ด้วยโครงข่ายเคมีที่เขาได้ทำการคิดค้นวิจัยในเชิงเคมีศาสตร์ ส่งผลให้การควบคุมด้วยวิธีนี้บรรลุประสิทธิผลตามความคาดหวัง โดย Dr. Yaghi ได้สาธิตวิธีการกักเก็บ รวบรวมและประยุกต์ใช้โมเลกุลก๊าซขนาดเล็กทั้ง 4 ข้างต้น ด้วยวัสดุโครงข่ายรูปแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นแผนโซลูชันในการรับมือกับความท้าทายด้านอากาศสะอาด พลังงานสะอาดและน้ำสะอาด ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติสืบต่อไป
 
กุญแจสำคัญที่ส่งผลให้ Dr. Yaghi ประสบความสำเร็จ  มาจากการประยุกต์ใช้วิธีการสังเคราะห์รูปแบบพิเศษ เพื่อผลิตวัสดุ MOFs และเฟรมอินทรีย์โควาเลนต์ (COFs) ที่มีคุณสมบัติมัลติฟังก์ชัน  อาทิ วัสดุใหม่ที่ Dr. Yaghi ได้คิดค้นขึ้น มีปริมาตรรูพรุนที่หนาแน่นกว่าที่เคยมีมา ซึ่งมีความแข็งแกร่งทนทาน และมีความเป็นผลึกสูง อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับขนาดได้หลายตัน นอกจากนี้ โครงสร้างทางเคมียังสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นในระดับชั้นโมเลกุลอีกด้วย