ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กระทรวงเศรษฐการไต้หวันจัดงานสัมมนาโอกาสในการลงทุนและแนวโน้มด้าน NET ZERO ในกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ เพื่อช่วยนักธุรกิจไต้หวันคว้าโอกาสการลงทุนด้าน Net-Zero
2024-06-25
New Southbound Policy。กระทรวงเศรษฐการไต้หวันจัดงานสัมมนาโอกาสในการลงทุนและแนวโน้มด้าน NET ZERO ในกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ เพื่อช่วยนักธุรกิจไต้หวันคว้าโอกาสการลงทุนด้าน Net-Zero (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)
กระทรวงเศรษฐการไต้หวันจัดงานสัมมนาโอกาสในการลงทุนและแนวโน้มด้าน NET ZERO ในกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ เพื่อช่วยนักธุรกิจไต้หวันคว้าโอกาสการลงทุนด้าน Net-Zero (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)

กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 24 มิ.ย. 67
 
เนื่องด้วยแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และการบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ รวมไปถึงข้อกำหนดของแบรนด์ต่างประเทศสำหรับระบบห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ จึงได้ทยอยประกาศนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (NET ZERO) และดำเนินมาตรการรับมือที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไต้หวันในการจับทิศทางนโยบายล่าสุดและทิศทางการลงทุนในด้าน NET ZERO เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการลงทุน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จึงได้จัด “งานสัมมนาโอกาสธุรกิจและแนวโน้ม NET ZERO ในกลุ่มประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่” โดยเชิญสำนักงานบัญชี KPMG International Limited และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวัน มาร่วมบรรยายและทำการวิเคราะห์กฎระเบียบด้านการลงทุนในอุตสาหกรรม NET ZERO ในกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ ตลอดระยะที่ผ่านมา รวมไปถึงการส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไต้หวัน และโอกาสในการลงทุน เป็นต้น ซึ่งสามารถดึงดูดผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นจำนวนกว่าร้อยคน ทั้งจากบริษัท Pegatron Corporation , DELTA , Data Systems Consulting Co., Ltd. และ Cathay Financial Holdings เป็นต้น
 
นายหวงชิงหยุน ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการลงทุนไต้หวัน กล่าวว่า ขณะนี้ มี 148 ประเทศทั่วโลกที่ประกาศแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งครอบคลุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กว่าร้อยละ 88 ของโลก ภายใต้แผนผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำและการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว การบริหารงานของภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นถือเป็นตลาดใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ได้เร่งพิจารณากำหนดกฎหมายว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและนโยบายการพัฒนาแนวทางเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย NET ZERO ซึ่งผู้ประกอบการไต้หวันก็ควรเร่งวางแผนรับมือ เพื่อลดผลกระทบต่อการธุรกิจของตน ในส่วนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียว พลังงานหมุนเวียน การกักเก็บพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการขนส่งและคมนาคม เป็นต้น คาดว่าอาจเป็นโอกาสใหม่ด้านการลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรเกาะกุมโอกาสนี้เอาไว้
 
งานสัมมนาในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการแบ่งปันมุมมองของนายหวงลี่เจีย ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท KPMG ในประเด็น “แนวโน้มภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศและการรับมือของภาคอุตสาหกรรม” ซึ่งครอบคลุมไปด้วยภาพรวมและความคืบหน้าล่าสุดของกลไกการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนในสินค้าที่จะนำเข้าสู่พรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism, CBAM) รวมไปถึงกฎระเบียบการยื่นขออนุมัติและการคำนวณปริมาณคาร์บอนสะสม เป็นต้น เพื่อเป็นข้อชี้แนะในด้านการยื่นขออนุมัติขั้นต้นให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุด ผ่านกรณีศึกษาของ CBAM
 
จากนั้น เป็นการบรรยายด้าน “นโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ และผลกระทบที่มีต่อผู้ประกอบการไต้หวัน” ของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนากลยุทธ์ทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระหว่างประเทศแห่ง ITRI เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ล่าสุดของการผลักดัน NET ZERO และกลไกการลดคาร์บอนในกลุ่มประเทศเป้าหมายอย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย อินเดียและมาเลเซีย ITRI ยังชี้ว่า เพื่อตอบสนองต่อข้อกำหนดด้านการลดคาร์บอนของแบรนด์ดังระดับโลก ผู้ประกอบการไต้หวันจะมุ่งพัฒนาการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว อาทิเช่น การตรวจสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CFV) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) การใช้กลไกการแลกเปลี่ยนสิทธิคาร์บอนของประเทศต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ นำระบบบริหารจัดการคาร์บอนมาใช้งาน และการซื้อใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น เพื่อการคงไว้ซึ่งศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ
 
เมื่อต้องเผชิญกับแนวโน้มการลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงเศรษฐการจะมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันในการวางรากฐานในต่างประเทศต่อไป และจะบูรณาการทรัพยากรของทีมปฏิบัติการในพื้นที่ ผ่านการจัดตั้ง “ช่องบริการการลงทุนไต้หวัน” (Taiwan Desk) ใน 8 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เมียนมา ไทย อินเดีย กัมพูชาและมาเลเซีย เพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะด้านการลงทุนอย่างมืออาชีพ จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าลงทุนในกลุ่มประเทศมุ่งใต้ใหม่ นำข้อมูลและแนวทางเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป