ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันให้ความเห็นต่อการที่คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศแห่งรัฐสภาเยอรมนี มีมติเห็นชอบต่อญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน
2024-07-08
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันให้ความเห็นต่อการที่คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศแห่งรัฐสภาเยอรมนี มีมติเห็นชอบต่อญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันให้ความเห็นต่อการที่คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศแห่งรัฐสภาเยอรมนี มีมติเห็นชอบต่อญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 6 ก.ค. 67
 
เมื่อระยะที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศแห่งรัฐสภาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้มีมติเห็นชอบต่อ “ญัตติว่าด้วยการประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอินโด – แปซิฟิก ในการรับมือกับความท้าทายระดับสากล” ที่เสนอโดยรัฐบาลผสม ซึ่งประกอบด้วย พรรคสังคมนิยมเพื่อประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) พรรคกรีนแห่งเยอรมนี (Bündnis 90/Die Grünen) และพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การยอมรับต่อความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการย้ำถึงจุดยืนว่าด้วยการไม่ยอมรับต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมของช่องแคบไต้หวัน ที่เกิดจากความเห็นชอบเพียงฝ่ายเดียว กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขอขอบคุณรัฐสภาเยอรมนี สำหรับการแสดงจุดยืนในการสนับสนุนไต้หวันอย่างหนักแน่น
 
เนื้อความในญัตติระบุว่า ความมั่นคงระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรปและกลุ่มประเทศอินโด – แปซิฟิก มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด การเข้ามีส่วนร่วมในกิจการความมั่นคงของภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก สอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันของเยอรมนีและกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐสภาเยอรมนีมุ่งจับตาต่อสถานการณ์ความตึงเครียดในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนตะวันออกและช่องแคบไต้หวัน อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมในปัจจุบันของช่องแคบไต้หวัน ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ระหว่างจีน – ไต้หวัน จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการด้วยสันติวิธี และได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย
 
นอกจากนี้ ญัตติยังได้ให้การยอมรับต่อ “การประชุมตัวแทนภาคประชาชนระหว่างไต้หวัน - เยอรมนี” ซึ่งเป็นการกระตุ้นการเปิดการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภาคพลเรือนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในระบบสหประชาชาติและเวทีนานาชาติ ตลอดจนเรียกร้องให้มีการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า ระหว่างไต้หวัน – EU รวมไปถึงกลไกความร่วมมือด้านระบบห่วงโซ่อุปทานเชิงอุตสาหกรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและการวิจัยกับไต้หวันด้วย