ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สภาบริหาร สภาตุลาการและสภานิติบัญญัติไต้หวัน ร่วมเปิดศักราชใหม่ด้วยการจัดตั้งกลไกป้องกันและปราบปรามคดีฉ้อฉลหลอกลวง
2024-07-19
New Southbound Policy。สภาบริหาร สภาตุลาการและสภานิติบัญญัติไต้หวัน ร่วมเปิดศักราชใหม่ด้วยการจัดตั้งกลไกป้องกันและปราบปรามคดีฉ้อฉลหลอกลวง (ภาพจากสภาบริหาร)
สภาบริหาร สภาตุลาการและสภานิติบัญญัติไต้หวัน ร่วมเปิดศักราชใหม่ด้วยการจัดตั้งกลไกป้องกันและปราบปรามคดีฉ้อฉลหลอกลวง (ภาพจากสภาบริหาร)

สภาบริหาร วันที่ 16 ก.ค. 67
 
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ผ่านการพิจารณาร่างแก้ไข “กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” และบทบัญญัติบางประการในร่างแก้ไข “กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” วาระที่ 3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของเครื่องมือทางกฎหมาย นายเฉินซื่อไข่ โฆษกสภาบริหาร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สภาบริหาร สภาตุลาการและสภานิติบัญญัติ ได้ร่วมดำเนินการพิจารณากฎหมายฉบับข้างต้น รวมไปถึง “ร่างระเบียบด้านการป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกง” และบทบัญญัติบางประการในร่างแก้ไข “กฎหมายว่าด้วยหลักประกันและการตรวจสอบความปลอดภัยด้านโทรคมนาคม” แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อประเด็นการปราบปรามการฉ้อโกง ที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพื่อเปิดศักราชใหม่ของการสร้างหลักประกันผ่านกฎหมายการป้องปรามการฉ้อโกง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้กลไกการป้องกันและปราบปรามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการทุจริตและฉ้อโกง
 
โฆษกเฉินฯ กล่าวว่า ร่างแก้ไข “กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” ที่ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 3 โดยสภานิติบัญญัติในวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ :

1. การเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามมิให้สินทรัพย์ดิจิทัลถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน

2. บรรลุกลไกการตรวจสอบการใช้บริการ Mobile Payment เพื่อมิให้ตกหลุมพลางไปสู่การเป็นช่องทางการฟอกเงิน

3. การเพิ่มบทลงโทษความผิดฐานการฟอกเงิน การเพิ่มโทษความผิดทางอาญาของนิติบุคคล การจับกุมผู้สมรู้ร่วมคิดในคดีความผิดในคดีฟอกเงิน และขยายขอบเขตการยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการก่ออาชญากรรม
 
โฆษกเฉินฯ แถลงเพิ่มเติมต่อกรณีร่างแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยบทลงโทษภาคบังคับพิเศษ ใน “กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” ที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติ ในวาระที่ 3 ซึ่งได้อ้างอิงเนื้อหาบทบัญญัติ “ร่างกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริง ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่ยื่นเสนอโดยสภานิติบัญญัติไต้หวัน โดยได้มอบโอนอำนาจทางกฎหมายผ่านวิธีการสอบสวนด้วยระบบเทคโนโลยี อาทิ การประยุกต์ใช้ระบบ GPS ติดตามตัว อุปกรณ์สำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศเคลื่อนที่ด้วยรถยนต์แห่งอนาคต (M-Car) และการประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเทอร์โมสแกน ในการสำรวจพื้นที่ภายในอาคาร เป็นต้น
 
โฆษกเฉินฯ กล่าวว่า ในอนาคต สภาบริหารจะมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมุ่งดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ รวมไปถึงมาตรการที่มีความเกี่ยวข้อง โดยจะรวบรวมไว้ใน “แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงยุคใหม่ เวอร์ชัน 2.0” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่ปีหน้านี้เป็นต้นไป