กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 19 ก.ค. 67
กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมแสดงความยินดีกับ Ms. Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ที่ได้รับการลงมติจากรัฐสภายุโรป เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยุโรปต่อเป็นสมัยที่ 2 โดย Ms. von der Leyen ได้ใช้โอกาสนี้ประกาศแผนแม่บทด้านการเมืองในช่วงของการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 (Political Guidelines 2024-2029) ซึ่งได้มีการระบุถึงการประสานความร่วมมือกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์และออสเตรเลียในภายภาคหน้า ควบคู่ไปกับการแสดงจุดยืนต่อต้านพฤติกรรมการใช้กำลังทหารของจีน เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมของช่องแคบไต้หวัน กต.ไต้หวันจึงร่วมแสดงความยินดีกับ Ms. von der Leyen ผ่านการโพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์ม X ทันทีที่ได้รับทราบข่าว พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณต่อ Ms. von der Leyen ที่ให้การสนับสนุนและส่งมอบความห่วงใยต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันอย่างหนักแน่น
คณะกรรมาธิการยุโรป ภายใต้การนำของ Ms. von der Leyen ได้มุ่งยกระดับความสัมพันธ์กับไต้หวันอย่างต่อเนื่อง “แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก” (The EU Strategy for Cooperation in the Indo-Pacific) ที่มีการประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุชัดว่า ไต้หวันเป็นหุ้นส่วนทางความร่วมมือที่สำคัญในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกของสหภาพยุโรป (EU) พร้อมทั้งระบุว่า กลุ่มประเทศยุโรปจะร่วมสรรสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่หลากหลายและเปี่ยมด้วยความทรหด ควบคู่ไปพร้อมกับไต้หวัน และจะมุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี ตลอดจนผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ความมั่นคงในช่องแคบไต้หวัน ที่มีต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ Ms. von der Leyen ได้แสดงจุดยืนหลายครั้ง และเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญและสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพของช่องแคบไต้หวัน บนเวทีนานาชาติแบบทวิภาคีและพหุภาคี
ไต้หวันในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนที่ยึดมั่นในค่านิยมด้านประชาธิปไตย เสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมที่คล้ายคลึงกัน ในอนาคต จะมุ่งประสานความร่วมมือกับ EU อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคี ควบคู่ไปกับการจัดตั้งความทรหดของระบบห่วงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจดิจิทัล พลังงานสีเขียว เทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นต้น ตลอดจนธำรงรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎกติกาสากล ทั้งนี้ เพื่อเปิดบริบทใหม่ในการเสริมสร้างความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ระหว่างไต้หวัน – EU ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน