ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วม “พิธีเปิดการประชุมสุดยอดนโยบายกลุ่มชนพื้นเมืองแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567”
2024-08-02
New Southbound Policy。ปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วม “พิธีเปิดการประชุมสุดยอดนโยบายกลุ่มชนพื้นเมืองแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567” (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)
ปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วม “พิธีเปิดการประชุมสุดยอดนโยบายกลุ่มชนพื้นเมืองแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567” (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)

ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 1 สิงหาคม 67
 
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วม “พิธีเปิดการประชุมสุดยอดนโยบายกลุ่มชนพื้นเมืองแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567” โดยปธน.ไล่ฯ ได้แสดงความห่วงใย ให้การสนับสนุนและขอบคุณต่อมิตรสหายที่เป็นชนพื้นเมือง ควบคู่ไปกับการรับฟังการประกาศรายงาน “แผนแม่บทใหม่ด้านนโยบายกลุ่มชนพื้นเมือง” ซึ่งครอบคลุมใน 5 มิติหลัก ได้แก่ (1) การฟื้นฟูภาษาชนพื้นเมือง (2) การเสริมสร้างสุขภาพของชนพื้นเมือง (3) การอนุรักษ์วัฒนธรรมชนพื้นเมือง (4) การบ่มเพาะบุคลากรชนพื้นเมือง และ (5) การส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านชนพื้นเมืองอย่างยั่งยืน เป็นต้น โดยหวังที่จะเห็นทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมก้าวสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น
 
ปธน.ไล่ฯ กล่าวว่า ทุกวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีตรงกับ “วันชนเผ่าพื้นเมือง” ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้รับเชิญให้มาเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ พร้อมทั้งขอแสดงความขอบคุณต่อมิตรสหายชนพื้นเมืองที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ไต้หวันบนเวทีนานาชาติอยู่บ่อยครั้ง ตลอดจนยังสร้างคุณูปการให้แก่ประชาสังคม ทั้งในด้านการกีฬา ศิลปวัฒนธรรม การทหาร ตำรวจ การบรรเทาสาธารณภัย การแพทย์ รวมถึงการศึกษา
 
ปธน.ไล่ฯ ชี้ว่า ตนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในปี พ.ศ. 2539 ซึ่ง และในปี พ.ศ. 2540 ทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านได้กำหนดให้คำว่า “ชนพื้นเมือง” เข้าสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งเสริมให้แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มชนพื้นเมือง รวมถึงชื่อและสิทธิของกลุ่มชนพื้นเมือง ได้รับการปกป้องด้วยรัฐธรรมนูญมากขึ้น หลังจากนั้น ในช่วงที่ตนเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติก็ได้มีการผลักดัน “กฎหมายพื้นฐานด้านกลุ่มชนพื้นเมือง”  อย่างต่อเนื่อง โดยหวังที่จะเสริมสร้างสิทธิของกลุ่มชนพื้นเมืองด้วยหลักประกันทางกฎหมาย นอกจากนี้ ในขณะที่ปธน.ไล่ฯ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการนครไถหนาน ก็ได้ทำหน้าที่เป็นประธานในกิจกรรมรำลึกถึงกลุ่มชนพื้นเมือง พร้อมทั้งเชิญกลุ่มชนพื้นเมืองเผ่าโจวที่เคยอาศัยอยู่ในเขตอันผิงของไถหนาน ก่อนจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในแถบภูเขาอาลีซานของเมืองเจียอี้ ให้มาร่วมงานด้วย นอกจากนี้ ในที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ปธน.ไล่ฯ ก็ได้ผลักดัน “กฎหมายการพัฒนาภาษาแห่งชาติ” โดยได้กำหนดให้ภาษาถิ่นเฉพาะของกลุ่มชนพื้นเมืองและภาษามือ เป็นภาษาราชการของไต้หวันด้วย
 
การประชุมครั้งนี้ นายเจิงจื้อหย่ง ประธานคณะกรรมการกิจการชนพื้นเมือง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ประกาศ “แผนแม่บทใหม่ด้านนโยบายกลุ่มชนพื้นเมือง” ให้เป็นที่ประจักษ์แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานความมุ่งมั่นในการดำเนินภารกิจใน 5 มิติหลัก ดังนี้ :
 
(1) การฟื้นฟูภาษาชนพื้นเมือง : ภาษาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ปธน.ไล่ฯ ยึดมั่นในทัศนคติที่ต้องการฟื้นฟูภาษาของทุกกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมให้มิตรสหายชนพื้นเมือง สามารถใช้ภาษาแม่ของตนเองในการสื่อสาร และเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้พวกเขาตระหนักว่า การใช้ภาษาแม่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ

(2) การส่งเสริมสุขภาพของชนพื้นเมือง : ในระหว่างที่ปธน.ไล่ฯ ดำรงตำแหน่งเป็นนรม. ได้มุ่งผลักดันการบัญญัติ “กฎหมายสุขภาพกลุ่มชนพื้นเมือง” เพื่อสร้างหลักประกันทางสุขภาพของกลุ่มชนพื้นเมือง

(3) การอนุรักษ์วัฒนธรรมชนพื้นเมือง : ไต้หวันเป็นดินแดนแห่งพหุวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมชนพื้นเมืองทำให้วัฒนธรรมไต้หวันมีความสมบูรณ์ กลุ่มชนพื้นเมืองเป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียน วัฒนธรรมชนพื้นเมืองนอกจากจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของไต้หวันแล้ว ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าในระดับสากลอีกด้วย “วัฒนธรรมโอลิมปิก” ในการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงปารีสในครั้งนี้ ก็ได้นำเสนอให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันล้ำค่าของกลุ่มชนพื้นเมือง

(4) การบ่มเพาะบุคลากรชนพื้นเมือง : รัฐบาลมุ่งผลักดันการศึกษาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา บ่มเพาะให้บุคลากรของไต้หวันก้าวสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางด้านต่างๆ และยังได้ส่งมอบความห่วงใยและความช่วยเหลือให้กลุ่มชนพื้นเมือง สามารถแสดงศักยภาพของตนในแวดวงต่างๆ ได้อย่างเต็มกำลัง

(5) การส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านชนพื้นเมืองอย่างยั่งยืน : นอกเหนือจากการผลักดันการศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว ยังมีการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมในพื้นที่ชนบท ซึ่งเชื่อว่านอกจากจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรม การฟื้นฟูภาษาและการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในชุมชนหมู่บ้านของชนพื้นเมืองอีกด้วย