ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและแคนาดา ร่วมจัดการประชุมนานาชาติภายใต้กรอบ GCTF ขึ้นที่นิวยอร์ก ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
2024-09-24
New Southbound Policy。ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและแคนาดา ร่วมจัดการประชุมนานาชาติภายใต้กรอบ GCTF ขึ้นที่นิวยอร์ก ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและแคนาดา ร่วมจัดการประชุมนานาชาติภายใต้กรอบ GCTF ขึ้นที่นิวยอร์ก ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 23 ก.ย. 67
 
เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นในเขตตะวันออกของสหรัฐฯ ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและแคนาดา ได้ร่วมจัดการประชุมระดับนานาชาติขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือ Global Cooperation and Training Framework (GCTF) ในหัวข้อ “การอาศัยเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนระดับโลกและการเข้ามีส่วนร่วมของภาคเยาวชน” (GCTF Seminar on Harnessing Technology for Sustainable Development through Global Partnerships and Youth Engagement) ถือเป็นการแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า ไต้หวันเป็นหุ้นส่วนที่ไม่สามารถขาดได้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของโดยสหประชาชาติ (UN)
 
นายหลี่จื้อเฉียง ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำนครนิวยอร์ก กล่าวว่า การประชุมแห่งอนาคต (Summit of the Future) ที่ UN จัดขึ้นเป็นพิเศษในปีนี้ เป็นการเปิดอภิปรายในประเด็นแนวทางการประสานความร่วมมือของประชาคมโลก ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับสวัสดิการของยุคสมัยแห่งอนาคต แต่ไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตแผ่นชิปทันสมัยกว่าร้อยละ 90 ในสู่ตลาดโลก กลับถูกกีดกันให้อยู่นอกระบบ สิ่งที่น่าขันยิ่งไปกว่านั้นคือ หัวข้อหลักของการประชุม UN ในปีนี้คือ “ไม่ละทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง” (leaving no one behind) แต่ UN กลับปล่อยให้จีนบิดเบือนมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติฉบับที่ 2758 ในทิศทางที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อชาวไต้หวัน จำนวน 23.5 ล้านคน โดยไต้หวันได้ขอแสดงความขอบคุณต่อหน่วยงานบริหารและหน่วยงานนิติบัญญัติของสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ รวมถึงรัฐสภายุโรปและกลุ่มพันธมิตรจีนแห่งรัฐสภาข้ามชาติ (IPAC) ที่ต่างก็ทยอยประกาศแถลงการณ์ที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน และมีมติเห็นชอบต่อญัตติที่ไม่เห็นด้วยต่อการบิดเบือนข้อเท็จจริงของญัตติ 2758 แสดงให้เห็นถึงความสนับสนุนที่มีต่อไต้หวันอย่างหนักแน่น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพลังเสียงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้น
 
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด ทั้งการประชุมในสถานที่จริงและรูปแบบออนไลน์ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญจาก 10 กว่าประเทศเข้าร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมต่างได้รับข้อคิดเห็นดีๆ มากมาย พร้อมทั้งให้การยอมรับต่อศักยภาพ และคุณประโยชน์ที่ไต้หวันร่วมอุทิศให้แก่ประชาคมโลกด้วย