ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รมว.กต.ออสเตรเลีย โพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์ม X ส่วนตัว ขอบคุณการสนับสนุนของไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ ที่ร่วมผลักดัน “โครงการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง” พร้อมตอบรับแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างออสเตรเลีย – อังกฤษ (AUKMIN) ที่เน้นย้ำความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน
2024-12-18
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รมว.กต.ออสเตรเลีย โพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์ม X ส่วนตัว ขอบคุณการสนับสนุนของไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ ที่ร่วมผลักดัน “โครงการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง”  พร้อมตอบรับแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างออสเตรเลีย – อังกฤษ (AUKMIN) ที่เน้นย้ำความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รมว.กต.ออสเตรเลีย โพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์ม X ส่วนตัว ขอบคุณการสนับสนุนของไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ ที่ร่วมผลักดัน “โครงการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง” พร้อมตอบรับแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างออสเตรเลีย – อังกฤษ (AUKMIN) ที่เน้นย้ำความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 14 และ 17 ธ.ค. 67
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศตูวาลู ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรของไต้หวัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จำเป็นต้องพึ่งพาดาวเทียมเป็นสื่อกลาง ซึ่งนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ความเสถียรของสัญญาณ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาพอากาศอีกด้วย ประกอบกับอัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ จึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวม อย่างไรก็ดี รัฐบาลตูวาลูให้ความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2567 รัฐบาลตูวาลูได้ประกาศแนวทางการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ “แผนแม่บทการพัฒนาประเทศ 21 รายการ” 
 
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ตูวาลู ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอินเทอร์เน็ต และการสื่อสารและโทรคมนาคม นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ไต้หวันได้มุ่งให้ความช่วยเหลือจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบ 4G/LTE นอกจากนี้ เพื่อขานรับแผนแม่บทการพัฒนาประเทศซึ่งมีการกำหนดลำดับความสำคัญก่อน – หลัง โดยรัฐบาลชุดใหม่ของตูวาลู และเป็นการบรรลุคำมั่นของไต้หวันที่มีต่อการร่วมพัฒนาประเทศในกลุ่มพันธมิตรในพื้นที่แถบมหาสมุทรแปซิฟิก ไต้หวันจึงได้เข้ามีส่วนร่วมในโครงการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง” (Central Pacific Cable, CPC) ร่วมกับสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อเชื่อมโยงรางเคเบิลใต้มหาสมุทรเส้นแรกในประเทศตูวาลู ซึ่งขณะนี้ แผนปฏิบัติการข้างต้นได้ประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อสายสัญญาณเคเบิลใต้น้ำสู่ภาคพื้นดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในอนาคตจะสามารถยกระดับความทรหดทางดิจิทัล และประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศของตูวาลู  อันจะเป็นการเสริมสร้างสวัสดิการ เศรษฐกิจและการพัฒนาทุกภาคส่วนในสังคมของตูวาลู อย่างครอบคลุม
 
กต.ไต้หวันรู้สึกยินดีและขอขอบคุณ Ms. Penny Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย สำหรับการให้การยอมรับต่อผลประโยชน์ที่ไต้หวันร่วมอุทิศให้แก่ประชาคมโลก ซึ่งกลไกความช่วยเหลือเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนทางความร่วมมืออันแนบแน่น ระหว่างไต้หวัน ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน
 
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 Mr. David Lammy รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร พร้อมด้วย Mr. John Healey รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ Ms. Penny Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย รวมถึง Mr. Richard Marles รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างออสเตรเลีย – อังกฤษ (AUKMIN) ขึ้น ณ กรุงลอนดอน ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการประชุม ได้มีการประกาศแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเน้นย้ำความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพของช่องแคบไต้หวัน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มิใช่การคุกคาม การใช้กำลังทหาร หรือการบีบบังคับ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมของช่องแคบไต้หวันในปัจจุบัน  โดยอังกฤษ – ออสเตรเลีย ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ประชาคมโลกได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของชาวไต้หวัน จึงมุ่งให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศอย่างมีความหมาย และมีความสมัครใจที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกกับไต้หวันในด้านเศรษฐกิจ การค้า เทคโนโลยีและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอขอบคุณต่อรัฐบาลอังกฤษ – ออสเตรเลีย ที่มีมติให้การสนับสนุนไต้หวัน  3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 ปี
 
อังกฤษ - ออสเตรเลีย และไต้หวันต่างก็เป็นประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ซึ่งยึดมั่นในค่านิยมด้านประชาธิปไตย เสรีภาพและหลักนิติธรรม อีกทั้งยังเป็นพลังสำคัญในการสร้างเสถียรภาพด้านสันติภาพในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ในฐานะที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกที่ไม่สามารถขาดได้ พวกเราจะมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ร่วมธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน และขยายพื้นที่บนเวทีนานาชาติ ตลอดจนปกป้องความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎกติกาสากล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน