
กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 18 ธ.ค. 67
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 นายกัวจื้อฮุย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (Ministry of Economic Affairs, MOEA) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ได้นำคณะตัวแทนเดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อร่วมเป็นประธานใน “การประชุมเสวนาด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างไต้หวัน - EU” (Trade and Investment Dialogue, TID) และ “การประชุมเสวนาทางอุตสาหกรรม ระหว่างไต้หวัน - EU” (EU-Taiwan Industrial Policy Dialogue Mechanism, IPD) ร่วมกับ Ms. Sabine Weyand ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจและการค้ายุโรป (European Economic and Trade Office, EETO) และ Ms. Maive Rute รองผู้อำนวยการสำนักงานThe Directorate-General for Internal Market, Industry, Entrepreneurship and SMEs (DG GROW) ตามลำดับ
รมว.กัวฯ กล่าวในระหว่างการประชุม TID โดยระบุว่า ไต้หวันมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ภายใต้ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พร้อมนี้ รมว.กัวฯ ยังได้หยิบยกกรณีตัวอย่างที่ไต้หวันเลือกให้สาธารณรัฐเช็ก เป็นประเทศเป้าหมายแรกในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในต่างแดน เพื่อประกอบการชี้แจงว่า MOEA พร้อมให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการก้าวสู่เวทีนานาชาติ ซึ่งนอกจากจะบรรลุ “นโยบายว่าด้วยการนำผู้ประกอบการด้านการผลิตของไต้หวัน เข้าลงทุนและรุกขยายตลาดต่างประเทศ” ที่เสนอโดยรมว.กัวฯ แล้ว ยังเป็นการให้ความช่วยเหลือพันธมิตรด้านประชาธิปไตย ในการร่วมสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่เปิดกว้างและเปี่ยมด้วยความทรหด
นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุม IPD เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆในเชิงลึก อาทิ ความร่วมมือทางภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ การก้าวไปสู่เวทีระดับนานาชาติของผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจหมุนเวียน ระหว่างไต้หวัน – EU โดยรมว.กัวฯ กล่าวว่า หลังจากที่ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ก็ได้เสนอนโยบายอุตสาหกรรมที่เชื่อถือได้ 5 รายการ ภายใต้การผลักดันของกระแสเทคโนโลยี AI ระดับสากล ไต้หวันจะได้รับการผลักดันให้เป็นอาณาจักรแห่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้พื้นฐานของการสวมบทบาทผู้นำด้านแผ่นชิปเซมิคอนดักเตอร์และซิลิคอนวัลเลย์ ด้วยเหตุนี้ รมว.กัวฯ จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไต้หวัน – EU จะร่วมสำรวจการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยี AI เพื่อรับมือกับความท้าทายรูปแบบอัจฉริยะในระดับสากลต่อไป
นอกจากนี้ รมว.กัวฯ ยังได้เชิญชวนเจ้าหน้าที่ DG GROW รวบรวมคณะตัวแทนเดินทางเยือนไต้หวันในปีหน้า (พ.ศ. 2568) เพื่อร่วมจัด “สัปดาห์นวัตกรรมแห่งสหภาพยุโรป” (European Innovation Week) ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในเชิงลึก ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมของไต้หวัน – EU ผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
EU เป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของไต้หวัน มูลค่าการค้าแบบทวิภาคีในปี 2566 สูงถึง 73,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในด้านการลงทุน EU เป็นแหล่งที่มาของการลงทุนจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ในช่วงระหว่างปี 2495 – 2566 ยอดเงินลงทุนของ EU ที่อัดฉีดเข้าสู่ไต้หวัน มีมูลค่าสูงถึง 58,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงจะเห็นได้ว่า การค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี ระหว่างไต้หวัน - EU ต่างมีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด