ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
อุตสาหกรรมข้าวไต้หวันยกระดับขึ้นสู่อีกขั้น นอกจากจะเป็นการดูแลเกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกเข้าสู่สต็อกของรัฐแล้ว ยังร่วมดูแลผลประโยชน์ของชาวนา จำนวน 360,000 คน
2024-12-24
New Southbound Policy。อุตสาหกรรมข้าวไต้หวันยกระดับขึ้นสู่อีกขั้น นอกจากจะเป็นการดูแลเกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกเข้าสู่สต็อกของรัฐแล้ว ยังร่วมดูแลผลประโยชน์ของชาวนา จำนวน 360,000 คน (ภาพจากกระทรวงการเกษตร)
อุตสาหกรรมข้าวไต้หวันยกระดับขึ้นสู่อีกขั้น นอกจากจะเป็นการดูแลเกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกเข้าสู่สต็อกของรัฐแล้ว ยังร่วมดูแลผลประโยชน์ของชาวนา จำนวน 360,000 คน (ภาพจากกระทรวงการเกษตร)

กระทรวงการเกษตร วันที่ 23 ธ.ค. 67
 
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 กระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture, MOA)สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จัดงานแถลงข่าว ภายใต้ “โครงการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวอย่างครอบคลุม” โดย MOA แถลงว่า นโยบายการจัดซื้อเสบียงอาหาร มีความเกี่ยวโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเสบียงอาหารในภาพรวม จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาโดยผ่านระบบการประเมินอย่างมืออาชีพ มิใช่การกำหนดราคาตามอำเภอใจ MOA เน้นย้ำว่า ไม่ว่าจะกลุ่มเกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกเข้าสู่ยุ้งฉางของภาครัฐ หรือกลุ่มเกษตรพันธสัญญา ตลอดจนกลุ่มชาวนา ล้วนแต่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการดูแลจาก MOA ทั้งสิ้น ซึ่งโครงการที่เสนอ นอกจากจะสามารถดูแลเหล่าเกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกให้แก่ภาครัฐ จำนวน 120,000 รายแล้ว ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มชาวนาจำนวน 360,000 คนอีกด้วย
 
MOA แถลงว่า สาระสำคัญของโครงการข้างต้น ประกอบด้วย การปรับโครงการจัดซื้อข้าวเปลือกของภาครัฐ ซึ่งจะปรับเพิ่มค่าตอบแทนเป็น 20,000 เหรียญต่อ 1 เฮกตาร์ ควบคู่ไปกับการวางแผนการประกันรายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือก ตลอดจนส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่น แทนการปลูกข้าวและระบบเงินรางวัลที่ส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อมด้านการผลิต

MOA เน้นย้ำว่า ต้นทุนการผลิตข้าวตลอด 3 ปีมานี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ ทางหน่วยงานจึงเพิ่มแผนปฏิบัติการ การชี้แนะ และเสริมสร้างแผนการรับซื้อ ข้าวเปลือกเพื่อยกระดับรายได้ของเหล่าเกษตรกร ภายใต้ปริมาณการจัดซื้อเสบียงข้าวเปลือกในสัดส่วนเดิม ที่คำนึงถึงต้นทุนการผลิตและการพัฒนาทางอุตสาหกรรมที่สมดุล
 
MOA ชี้แจงว่า การชี้แนะการบริหารแปลงนาข้าว และการรักษาความสมดุลของการผลิตและจำหน่ายผลผลิตข้าวสาร ถือเป็นนโยบายเสบียงอาหารในระยะยาวไต้หวัน นอกจากนี้ จากข้อมูลระบุ ความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อรายได้ของเหล่าเกษตรกรมากกว่าการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุน โดยในปีนี้ ได้มีการยกเลิกกฎระเบียบว่าด้วยการไม่อนุมัติให้เกษตรกรที่ส่งข้าวเปลือกให้ภาครัฐ เข้าสู่ระบบประกันรายได้ข้าวสาร ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางรายได้ให้แก่บรรดาเกษตรกร
 
นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ และหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นมากเกินไปของอุตสาหกรรมข้าว  ควบคู่ไปกับการยกระดับกลไกการบริหารจัดการ และเพิ่มเงินรางวัล 10,000 เหรียญไต้หวันต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ โดยหวังที่จะยกระดับราคาข้าวเปลือกในแหล่งผลิต ควบคู่ไปกับการสร้างหลักประกันทางรายได้ของกลุ่มเกษตร และเพิ่มความหลากหลายในอุตสาหกรรมข้าว ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพการป้อนผลผลิตภายในประเทศ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกระดับความยืดหยุ่นทางความมั่นคงของเสบียงอาหารในไต้หวัน