ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รมช.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์ต่อ Radio Free Europe ย้ำ ไต้หวันจะมุ่งเสริมสร้างศักยภาพทางกลาโหมด้วยการพึ่งพาตนเองอย่างกระตือรือร้น
2025-01-06
New Southbound Policy。รมช.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์ต่อ Radio Free Europe ย้ำ ไต้หวันจะมุ่งเสริมสร้างศักยภาพทางกลาโหมด้วยการพึ่งพาตนเองอย่างกระตือรือร้น (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
รมช.กต.ไต้หวันให้สัมภาษณ์ต่อ Radio Free Europe ย้ำ ไต้หวันจะมุ่งเสริมสร้างศักยภาพทางกลาโหมด้วยการพึ่งพาตนเองอย่างกระตือรือร้น (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 4 ม.ค. 68
 
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2568 นายอู๋จื้อจง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้สัมภาษณ์แก่ Mr. Andrey Tsyganov ผู้สื่อข่าวของ Radio Free Europe โดยเนื้อหาบทสัมภาษณ์ถูกบรรจุไว้ในสารคดีภาษารัสเซียเรื่อง “เตรียมพร้อมรบมา 70 ปี-จีนจะใช้กำลังทหารรุกรานไต้หวันหรือ? ” นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ผ่าน Youtube Channel ช่องรายการ Current Time ภาคภาษารัสเซีย โดยสารคดีชุดนี้จะจัดทำคำบรรยายภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งภาษา ซึ่งได้รับความสำคัญและความสนใจจากทุกฝ่ายในวงกว้าง
 
รมช.อู๋ฯ กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานที่ต้องการจะเข้าครอบครองไต้หวัน หากแต่ไต้หวันไม่ต้องการให้เกิดสงครามขึ้น แต่เมื่อต้องเผชิญกับการคุกคามทางทหารจากจีน ไต้หวันจึงเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม และหากว่าในท้ายที่สุดแล้ว รัสเซียโค่นล้มยูเครนลงได้ ก็อาจกลายเป็นการจุดชนวนให้จีนกระทำอุกอาจกับไต้หวันเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน การสนับสนุนที่ประชาคมโลกมีต่อยูเครน ได้สร้างแรงกดดันต่อรัสเซียอย่างหนัก จึงส่งผลให้จีนไม่ยังกล้าที่จะใช้กำลังทหารเข้ารุกรานไต้หวันโดยง่าย
 
นอกจากนี้ รมช.อู๋ฯ ยังชี้ว่า สงครามรัสเซีย - ยูเครน เป็นการปลุกความตระหนักรู้ให้ชาวไต้หวัน ร่วมรับรู้ว่า สงครามเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ พลังสนับสนุนจากประชาคมโลกที่มีต่อสถานภาพเดิมของช่องแคบไต้หวันที่เปี่ยมด้วยสันติภาพและเสถียรภาพ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หลายปีมานี้ กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อิตาลีและเยอรมนี ต่างส่งเรือรบมาแล่นผ่านช่องแคบไต้หวัน เพื่อตรวจการณ์ในด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ตลอดจนเป็นการปฏิบัติภารกิจในการ “รักษาเสรีภาพในการเดินเรือ” ในพื้นที่ช่องแคบไต้หวัน แสดงให้เห็นว่า พันธมิตรแห่งประชาธิปไตย มีความสามัคคีในการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาสากล
 
รมช.อู๋ฯ ย้ำว่า ไต้หวันจะมุ่งเสริมสร้างศักยภาพทางกลาโหมด้วยการพึ่งพาตนเอง ควบคู่ไปกับการประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพื่อธำรงรักษาสถานภาพเดิมในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกที่เปี่ยมสันติภาพและเสรีภาพ ซึ่งก็คือกลยุทธ์ “Not Today” ที่ไต้หวันนำมาใช้ โดยหวังที่จะทำให้ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ผู้นำจีนต้องตระหนักว่า “วันนี้มิใช่วันที่จะบุกไต้หวัน”
 
รมช.อู๋ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเทียบกับจีนที่อาศัยมาตรการทางการค้า เป็นกำลังอาวุธในการเข้าคุกคามกลุ่มประเทศประชาธิปไตย ไต้หวันถือเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ในระบบห่วงโซ่อุปทานแห่งประชาธิปไตยระดับโลก เนื่องจากอุปทานของแผ่นชิปเซมิคอนดักเตอร์ ร้อยละ 60 และแผ่นชิปทันสมัยมากกว่าร้อยละ 90 ถูกผลิตขึ้นในไต้หวัน ประกอบกับแผ่นชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี AI ที่ผลิตขึ้นในไต้หวัน ถูกป้อนเข้าสู่ตลาดโลกเต็มร้อยเปอร์เซนต์ เทคโนโลยี AI ถือเป็นทิศทางในอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ไต้หวันจึงยินดีที่จะมุ่งส่งเสริมให้ระบบห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย มีความครอบคลุมสมบูรณ์ เพื่อที่จะสามารถตั้งรับกับภัยคุกครามที่เกิดจากห่วงโซ่การผลิตของจีนที่ใช้วิธีการทุ่มตลาดด้วยราคาถูก
 
นอกจากสารคดีชุดนี้จะนำเสนอสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของการแบ่งแยกระบอบการปกครองในสองฝั่งช่องแคบไต้หวันแล้ว ยังได้ทำการสัมภาษณ์บุคคลจากหลากหลายวงการในไต้หวัน รวมถึงนักศึกษายูเครนในไต้หวัน ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน และย้ำจุดยืนที่ว่า ชาวไต้หวันส่วนใหญ่หวังที่จะรักษาสถานภาพเดิมในปัจจุบันของช่องแคบไต้หวันเอาไว้