ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความน่าสะพรึงสีขาว ประจำปี 2568 ร่วมแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน
2025-01-10
New Southbound Policy。การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความน่าสะพรึงสีขาว ประจำปี 2568 ร่วมแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน (ภาพจากพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความน่าสะพรึงสีขาว ประจำปี 2568 ร่วมแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน (ภาพจากพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 9 ม.ค. 68
 
เพื่อประชาสังคมมีความเข้าใจมากขึ้นต่อเหตุการณ์ความน่าสะพรึงสีขาว (White Terror) ที่เคยเกิดขึ้นในไต้หวัน พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human Rights Museum, NHRM) และสถาบันวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ไต้หวัน (ITH Academic Sinica) ภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิจัยแห่งชาติ ได้ร่วมมือกันจัดทำ “โครงการเรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ความน่าสะพรึงสีขาว” โดยมีกำหนดการจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความน่าสะพรึงสีขาว ประจำปี 2568” ขึ้น ณ หอประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 9 – 10 มกราคม 2568 พร้อมทั้งติดต่อเชิญเหยื่อทางการเมือง ครอบครัว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมพูดคุยบรรยาย เข้าร่วมแบ่งปันข้อคิดที่ประสบพบเจอมาด้วยตนเองและผลงานวิจัย นำเสนอให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ตามลำดับขั้นของโครงการ ซึ่งประสบความสำเร็จในการดึงดูดให้นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้นับร้อยคน
 
ดร. เฉินสูหม่าน รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การชี้แจงให้เห็นแก่นแท้ทางประวัติศาสตร์ในยุคความน่าสะพรึงสีขาว พร้อมอาศัยการจัดแสดงหลักฐานและการศึกษา มาช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบอย่างทั่วถึง ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรม นับตั้งแต่ ปี 2560 เป็นต้นมา NHRM - ITH ประสานความร่วมมือกับกลุ่มคณะผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ รวมถึงเหยื่อทางการเมืองและสมาชิกในครอบครัวในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งประวัติศาสตร์ กฎหมาย สังคมและวรรณกรรม เข้าร่วมในภารกิจการเรียบเรียงเอกสารข้อมูลมหัตที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความน่าสะพรึงสีขาว ให้เป็นสารานุกรมที่มีความถูกต้องและกระชับเข้าใจง่าย พร้อมทั้งแบ่งสารบัญออกเป็น 5 หมวดหมู่ ประกอบด้วย บุคคล เหตุการณ์และกรณี หน่วยงานและองค์กร กฎหมายและระบอบการปกครอง และศัพท์เฉพาะ นอกจากนี้ NHRM ยังได้นำผลสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องรวบรวมเข้าสู่ “คลังข้อมูลสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงให้ประชาชนทุกแวดวงร่วมค้นหา และทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ของความน่าสะพรึงสีขาว ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นเวลาติดต่อกัน 2 วัน ซึ่งในวันที่ 9 มกราคม 2568 เป็นการเสวนาภายใต้หัวข้อพิเศษ จึงได้ติดต่อเชิญเหยื่อทางการเมือง และสมาชิกในครอบครัว ร่วมบอกเล่าความเป็นมาคร่าวๆ อีกทั้งยังมีการแบ่งปันประสบการณ์การถูกควบคุมตัวของกลุ่มเพรสไบทีเรียน และประสบการณ์การลงพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่เต็มไปด้วยบาดแผล อุปสรรคและความกล้าหาญในการเอาชนะ ส่วนการประชุมในวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผลงานการวิจัย รวม 10 ฉบับ นำเสนอให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตามโครงการในระยะที่ 6 นอกจากนี้ ITH -NHRM ยังได้ร่วมกันจัดสร้างฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ภายใต้ชื่อ “บอกเล่าข้อเท็จจริง : การสำรวจความหลากหลายของกรณีทางการเมือง ในยุคหลังสงครามของไต้หวัน” (Bringing the truth to light: multifaceted exploration of political cases in post-war Taiwan) เพื่อเก็บรวบรวมวิทยานิพนธ์ตามโครงการ ในระยะที่ 5 รวม 10 ผลงาน มานำเสนอให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ผ่านมา เพื่อต่อเติมรากฐานการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรมในอนาคต ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นต่อไป