
กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 3 มี.ค. 68
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 3 มีนาคม 2568 ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วม “พิธีเปิดงานแสดงสินค้าเครื่องจักรกลและเครื่องมือกลนานาชาติไทเป (TIMTOS) ประจำปี 2568” พร้อมกล่าวว่า เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่พลิกผันไปอย่างรวดเร็ว ปธน.ไล่ฯ คาดหวังที่จะเห็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐและแวดวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือกัน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขานรับต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ปธน.ไล่ฯ ยังหวังจะเห็นภาคอุตสาหกรรมมุ่งแสวงหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนหวังที่จะเห็นกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวัน “วางรากฐานที่มั่นคงในไต้หวัน เพื่อแผ่ขยายไปสู่ประชาคมโลก และประชาสัมพันธ์สู่เวทีนานาชาติ” ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เครื่องจักรกล การผลิตรูปแบบอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมเครื่องมือกล ได้รับการพัฒนาให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง
ปธน.ไล่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า งานแสดงสินค้า TIMTOS ถือเป็นกิจกรรมประจำปีในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไต้หวัน และเป็นงานแสดงสินค้าด้านการผลิตในรูปแบบอัจฉริยะและเครื่องมือกลที่สำคัญในระดับนานาชาติ ปธน.ไล่ฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมพิธีเปิดในครั้งนี้ พร้อมชี้แจงว่า หลายปีมานี้ อุตสาหกรรมเครื่องมือกลต้องประสบกับความท้าทายนานับประการ อาทิ สถานการ
ณ์โรคโควิด – 19 สถานการณ์การเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานแสดงสินค้าในครั้งนี้ ได้รับความสนใจเข้าร่วมจากบรรดาผู้ประกอบการ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ราย ซึ่งเป็นจำนวนมากสุดเป็นประวัติการณ์
ปธน.ไล่ฯ แถลงว่า สถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันมีการพลิกผันไปอย่างรวดเร็ว พวกเราจึงจำเป็นต้องเร่งแสวงหาแนวทางรับมือ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐและแวดวงอุตสาหกรรม ประสานความร่วมมือในการดำเนินภารกิจเพื่อพิชิตเป้าหมาย 3 มิติ ดังนี้ : ประการแรกคือ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมเครี่องมือกลไต้หวัน ขานรับต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยในปีนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนไว้ที่มูลค่า 11,600 ล้านเหรียญไต้หวัน ในแง่มุมการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องนำเทคโนโลยี AI เข้าช่วย ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการผลิต และลดต้นทุน มุ่งสู่การพัฒนาในทิศทางรูปแบบอัจฉริยะและมีความปราณีต จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ดังใจหวัง สำหรับแง่มุมการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ปธน.ไล่ฯ ขอแสดงความขอบคุณต่อสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไต้หวัน ที่ช่วยนำพาผู้ประกอบการ ดำเนินภารกิจการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CFV) โดยในอนาคต รัฐบาลจะจับมือกับสมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จัดตั้ง “คลังข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor)” เพื่อให้แวดวงอุตสาหกรรม นำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักอ้างอิงในการจัดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์คาร์บอนต่ำ อันจะพัฒนาไปสู่การยกระดับศักยภาพทางการแข่งขัน ในภายภาคหน้าต่อไป
เป้าหมายประการที่สองคือ การผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมมุ่งสู่แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากยุคสมัยถัดไปคือยุคอัจฉริยะ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมเครื่องมือกลจึงจำเป็นต้องขานรับต่อกระแสข้างต้นตามไปด้วย เพื่อที่จะสามารถนำไปบูรณาการให้เข้ากับเทคโนโลยีด้านต่างๆ อาทิ อากาศยานไร้คนขับ โรบอท การผลิตเชิงอัจฉริยะ ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมอวกาศ รวมไปถึงเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยี AI อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ความมั่นคงและการเฝ้าระวัง ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมเครื่องมือกลของไต้หวันเข้าช่วยเป็นหนึ่งในปัจจัย จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้อุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจของไต้หวัน พัฒนาไปสู่อีกลำดับขั้น
ประการสุดท้าย คือการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนประสานความร่วมมือกัน “วางรากฐานที่มั่นคงในไต้หวัน เพื่อแผ่ขยายไปสู่ประชาคมโลก และประชาสัมพันธ์สู่เวทีนานาชาติ” ในอนาคต ยังมีประเด็นต่างๆ อีกมากมายที่เราต้องมุ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการบูรณาการแบบข้ามแวดวง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประชาคมโลก รวบรวมเป็นระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลก จึงจะสามารถช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางอุตสาหกรรมของไต้หวัน ตลอดจนมีส่วนช่วยในการผลักดันเศรษฐกิจโลก ให้มุ่งสู่การพัฒนาที่เจริญรุ่งเรืองในอีกลำดับขั้น
ปธน.ไล่ฯ ระบุว่า รัฐบาลจะมุ่งผลักดันมาตรการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุน และการเข้าถึงบริการทางการเงิน ควบคู่ไปกับการอัดฉีดเม็ดเงินในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เข้าสู่กองทุนค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และจัดสรรงบประมานอุดหนุนตามโครงการต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีลู่ทางในการยกระดับการเปลี่ยนผ่าน ควบคู่ไปกับการรุกขยายตลาดนานาชาติ ตลอดจนมุ่งผลักดันโครงการอุดหนุน “ระบบห่วงโซ่อุปทานนานาชาติด้านการประยุกต์ใช้และจำหน่ายตัวควบคุมเครื่องจักรกลอัจฉริยะ ซึ่งรวมไปถึงเครื่องมือกล” ซึ่งเพดานสูงสุดของงบประมาณอุดหนุนในแต่ละโครงการ ถูกกำหนดไว้ที่ 30 ล้านเหรียญไต้หวัน นอกจากนี้ ปธน.ไล่ฯ ยังได้เร่งกำชับให้กระทรวงเศรษฐการแจ้งเรื่องไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าติดตามความคืบหน้าว่า โครงการเงินอุดหนุนจะได้รับผลกระทบการถูกแช่แข็งโดยสภานิติบัญญัติหรือไม่
ปธน.ไล่ฯ กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมรูปแบบ 1+5” หรือการที่ 1 ผู้ประกอบการทำหน้าที่เป็นตัวแทนรวบรวมความต้องการในการยื่นขออนุมัติของผู้ประกอบการอีก 5 ราย มีส่วนช่วยในการบูรณาการข้ามแวดวงและการวิจัยพัฒนาทางนวัตกรรม โดยปธน.ไล่ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเหล่าผู้ประกอบการ ประยุกต์ใช้ทรัพยากรการเงินภายในประเทศ และกองทุนประกันวินาศภัย เข้าร่วมลงทุนระหว่างประเทศอย่างมีแผนการ และประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการนานาชาติ เสริมสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการของตน อันจะเป็นการพิชิตหลักการ “การวางรากฐานที่มั่นคงในไต้หวัน เพื่อแผ่ขยายไปสู่ประชาคมโลก และประชาสัมพันธ์สู่เวทีนานาชาติ”