ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันครองอันดับ 4 ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปี 2568 โดยปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับต่อการเดินทางมาเยือนของ Ph.D. Edwin Feulner ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ และคณะตัวแทน
2025-03-05
New Southbound Policy。ไต้หวันครองอันดับ 4 ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปี 2568 โดยปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับต่อการเดินทางมาเยือนของ Ph.D. Edwin Feulner ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ และคณะตัวแทน (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)
ไต้หวันครองอันดับ 4 ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปี 2568 โดยปธน.สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับต่อการเดินทางมาเยือนของ Ph.D. Edwin Feulner ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ และคณะตัวแทน (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)

คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งชาติและทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 4 มี.ค. 68
 
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 มูลนิธิเฮอริเทจ (Heritage Foundation) ซึ่งเป็นคลังสมองของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศ “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปี 2568” (2025 Index of Economic Freedom) ผลปรากฏว่า ไต้หวันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 4 จาก 184 ประเทศ/กลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถรักษาอันดับเดิมของปีที่แล้วไว้ได้อย่างคงที่ และเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก เป็นรองเพียงสิงคโปร์ ที่ครองอันดับ 1 สวิตเซอร์แลนด์ที่อยู่ในอันดับ 2 ไอร์แลนด์ที่อยู่ในอันดับ 3 ไต้หวันอยู่ที่อันดับ 4 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าออสเตรเลีย ที่อยู่อันดับ 6 นิวซีแลนด์ที่อยู่อันดับ 11 เกาหลีใต้ที่อยู่อันดับ 17 สหรัฐฯ ที่อยู่อันดับ 26 ญี่ปุ่นที่อยู่อันดับ 28 อังกฤษที่อยู่อันดับ 33 และจีนที่อยู่อันดับ 151  
 
รายงานประจำปี 2568 ระบุว่า การเลือกใช้นโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ชาญฉลาด อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด – 19 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น การรุกรานยูเครนของรัสเซียที่ยังไม่จบสิ้น ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันกลางที่ขยายเป็นวงกว้าง รวมไปถึงการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว ยังก่อเกิดเป็นความท้าทายเชิงโครงสร้างระยะยาวของนานาประเทศ ในด้านนโยบายต่างๆ ทั้งความโปร่งใส ประสิทธิภาพ การเปิดกว้างและประสิทธิภาพของภาครัฐ โดยในปีนี้ ไต้หวันได้รับคะแนนเฉลี่ยรวม 79.7 คะแนน ขยับลดลง  0.3 คะแนนจากเดิม 80 คะแนนในปี 2567 แต่ยังคงสามารถครองอันดับ 4 ของโลกได้ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน
 
โดยเกณฑ์การจัดอันดับดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ทั้ง 12 รายการ ไต้หวันมี 5 รายการที่ถูกจัดให้อยู่ในระดับ “เสรีภาพ” (100-80 คะแนน) ซึ่งเรียงตามลำดับ ดังนี้ : “ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม” (94.4) “การเงินที่มั่นคง” (91.3) “รายจ่ายของรัฐบาล” (90.1) “เสรีภาพทางการค้า” (86.6) และ “สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา” (83) โดยในจำนวนนี้ “ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม” ได้พัฒนาจาก 70.1 คะแนนในปี 2563 มาสู่ 94.4 คะแนน ในปี 2568 ขยับขึ้นรวม 24 คะแนน นับเป็นดัชนีที่มีพัฒนาการเด่นชัดที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
 
นอกจากนี้ ไต้หวันยังมีดัชนีชี้วัดอีก 5 รายการ ที่ถูกจัดให้อยู่ใน 20 อันดับแรกของโลก เรียงตามลำดับ ดังนี้ : เสรีภาพทางการค้า (อันดับที่ 5) เสรีภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อันดับที่ 8) ประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม (อันดับที่13) เสรีภาพด้านแรงงาน (อันดับที่ 17) และรายจ่ายของรัฐบาล (อันดับที่ 20)
 
อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก จะมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายใต้บริบทแห่งยุคสมัยที่มีการพลิกผันอยู่ตลอดเวลา กลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันต้องประสบกับวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งการยกระดับทางเทคโนโลยี ที่ต้องผนวกเข้ากับเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล กลยุทธ์ทางความยืดหยุ่น และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น
 
ในช่วงบ่ายของวันที่ 4 มีนาคม 2568 ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับคณะตัวแทนคลังสมองที่นำโดย Ph.D. Edwin Feulner ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ (Heritage Foundation) โดยปธน.ไล่ฯ ได้แสดงความขอบคุณต่อมูลนิธิเฮอริเทจ ที่ได้จัดให้ไต้หวันอยู่ในอันดับ 4 ของโลกในรายงานดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปี 2568 พร้อมทั้งให้การยอมรับต่อไต้หวันที่มีระบบกฎหมายที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ประกอบกับมีสภาพแวดล้อมทางการลงทุนที่ดีงาม พร้อมนี้ ปธน.ไล่ฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ไต้หวัน - สหรัฐฯ ต่างก็เป็นประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญระหว่างกัน และร่วมแลกเปลี่ยนทางอุตสาหกรรมระหว่างกันอย่างใกล้ชิด โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะขยายขอบเขตการลงทุนและการจัดซื้อต่อสหรัฐฯ ในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง พลังงานและผลผลิตทางการเกษตร ต่อไปในอนาคต ตลอดจนคาดหวังที่จะประสานความร่วมมือกับพันธมิตรแห่งประชาธิปไตย ร่วมผลักดันสร้างระบบห่วงโซ่เซมิคอนดักเตอร์ที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการพัฒนาสถานการณ์รูปแบบใหม่ได้
 
ปธน.ไล่ฯ ระบุว่า ในสมัยที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก Ph.D. Feulner ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคนสำคัญใน “คณะทำงานด้านการถ่ายโอนอำนาจทางการเมือง” ในวันนี้ที่ได้มาพบปะกันอีกครั้ง ปธน.ไล่ฯ รู้สึกยินดีและคาดหวังที่จะร่วมแลกเปลี่ยนกับ Ph.D. Feulner ในทิศทางความร่วมมือเชิงลึกในอนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ
 
ปธน.ไล่ฯ เน้นย้ำว่า พวกเราเชื่อมั่นว่า มีเพียงการพึ่งพาสันติภาพด้วยศักยภาพของตนเองเท่านั้น จึงจะเป็นนับว่าเป็นสันติภาพที่แท้จริง ในปัจจุบัน งบประมาณทางกลาโหมของไต้หวัน ครองสัดส่วน GDP ร้อยละ 2.5% โดยรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้งบประมาณทางกลาโหมของไต้หวัน พิชิตสู่เป้าหมาย 3% ในเร็ววัน ควบคู่ไปกับการผลักดันการปฏิรูปทางกลาโหม แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณ “การช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น” ตลอดจนสร้างคุณูปการด้านสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
 
Ph.D. Feulner รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับปธน.ไล่ฯ ในประเด็นสถานการณ์โลกในปัจจุบัน และแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ พร้อมกันนี้ Ph.D. Feulner ยังรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่บริษัท TSMC ได้พัฒนามาสู่การสวมบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์แบบทวิภาคีที่มีความรับผิดชอบ ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ