ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
แผนปฏิบัติการเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของทะเลสาบสุริยันจันทรา ได้รับการยอมรับจากเวทีนานาชาติอีกครา โดยในครั้งนี้ สามารถคว้ารางวัลใหญ่จากมหกรรมการท่องเที่ยว ITB Berlin มาครองได้อย่างสำเร็จ
2025-03-06
New Southbound Policy。แผนปฏิบัติการเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของทะเลสาบสุริยันจันทรา ได้รับการยอมรับจากเวทีนานาชาติอีกครา โดยในครั้งนี้ สามารถคว้ารางวัลใหญ่จากมหกรรมการท่องเที่ยว ITB Berlin มาครองได้อย่างสำเร็จ (ภาพจากกระทรวงคมนาคม)
แผนปฏิบัติการเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของทะเลสาบสุริยันจันทรา ได้รับการยอมรับจากเวทีนานาชาติอีกครา โดยในครั้งนี้ สามารถคว้ารางวัลใหญ่จากมหกรรมการท่องเที่ยว ITB Berlin มาครองได้อย่างสำเร็จ (ภาพจากกระทรวงคมนาคม)

กรมการท่องเที่ยว วันที่ 5 มี.ค. 68
 
ตลอดระยะที่ผ่านมา สำนักงานบริหารอุทยานแห่งชาติทะเลสาบสุริยันจันทรา ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการท่องเที่ยว มุ่งผลักดันการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เข้าชิง “รางวัลเรื่องราวจุดหมายปลายทางสีเขียว” (Green Destinations Story Awards) ในงานมหกรรมการท่องเที่ยวนานาชาติ ITB Berlin ประจำปี 2568 ซึ่งผลประกาศเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 ระบุว่า สนง.บริหารอุทยานแห่งชาติฯ คว้าอันดับ 3 ในประเภท “การค้าและการประชาสัมพันธ์”
 
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ เร่งบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน หลังสถานการณ์โควิด – 19 นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา สนง.บริหารอุทยานแห่งชาติทะเลสาบสุริยันจันทรา จึงได้จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น โดยได้ติดต่อเชิญผู้ประกอบการที่อยู่ในขอบเขตการดูแล และอาสาสมัคร เข้าร่วมระดมสมองในการร่างพิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้ อาทิ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งหลังจากที่ผ่านการทดสอบและปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมแล้ว จึงได้จัดทำออกมาในรูปแบบเพคเก็จผลิคภัณฑ์ ซึ่งนอกจากจะได้รับความสนใจเข้าร่วมจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังได้รับการทดลองนำไปปรับใช้โดยตัวแทนบริษัททัวร์ อันจะเป็นการอัดฉีดศักยภาพใหม่ๆ เข้าสู่กระแสความยั่งยืนในพื้นที่ทะเลสาบสุริยันจันทรา
 
สนง.บริหารอุทยานฯ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าชิง  “รางวัลเรื่องราวจุดหมายปลายทางสีเขียว” (Green Destinations Story Awards) ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน อันเนื่องมาจากผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากแผนปฏิบัติการความยั่งยืนในรูปแบบนวัตกรรม โดยในปี 2565 สนง.ได้จัดรณรงค์การลดการใช้พลาสติก ภายใต้แคมเปญ “บอกลาวัสดุพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง” ซึ่งประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณกว่า 206.05 กิโลกรัม ต่อมาในปี 2566 ทางสนง.ได้ให้การชี้แนะชนเผ่าปู้หนง (Bunun) ยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ ภายใต้ “แผนปฏิบัติการชักจูงชนเผ่า มุ่งสู่ทิศทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยได้นำเครื่องเทศพริกไทยหม่าเก้า ไปแปรรูปเป็นน้ำหอมหม่าเก้า ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พื้นที่ควบคู่ไปด้วย และในปี 2567 สนง.ได้กระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประสานความร่วมมือกัน ควบคู่ไปกับการหลอมรวมฉันทามติ ผ่านโครงการ “ก้าวเดินเคียงข้างทะเลสาบสุริยันจันทรา : ผลักดันการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ด้วยภูมิปัญญาของกลุ่มคนจำนวนมาก”
 
สนง.ทะเลสาบสุริยันจันทรา นอกจากจะอัพเดทคู่มือการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในพื้นที่ รวม 26 รายการแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม ร่วมเดินทางสำรวจพื้นที่ด้วยวิธีการที่สอดรับต่อแนวคิดความยั่งยืน เพื่อทำความเข้าใจกับแนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามของผืนแผ่นดินนี้ ควบคู่ไปกับการผลักดันแผนปฏิบัติการด้านการชดเชยการปล่อยคาร์บอน (Carbon Offset) ทั้งนี้ เพื่อขออนมุติการรับรองมาตรฐานระดับสากลในระดับ Gold Standard อย่างไรก็ตาม เพื่อส่งเสริมให้มีการบรรลุเป้าหมายการท่องเที่ยวรูปแบบคาร์บอนต่ำ จึงจำเป็นต้องเริ่มดำเนินมาตรการตั้งแต่ยานพาหนะรูปแบบคาร์บอนต่ำ อาทิ การหันมาใช้รถจักรยานพลังงานไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า และการเดินป่าในเส้นทางเดินเท้า เป็นต้น ควบคู่ไปกับการยื่นเสนอมาตรการชดเชยคาร์บอน หลังจากที่ได้คำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการเดินทาง  
 
ผลการประกาศรางวัลในครั้งนี้ ยังมีผู้ประกอบการศูนย์ศิลปะประเพณีแห่งชาติ (NCFTA) ในเมืองอี๋หลาน ที่สามารถคว้ารางวัลประเภท “วัฒนธรรมและความดั้งเดิม” มาครอง ตลอดที่ผ่านมา ไต้หวันมุ่งมั่นผลักดันการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างกระตือรือร้นเสมอมา โดยในอนาคต พวกเราจะยังคงพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวรูปแบบคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยึดมั่นในหลักการ “ใส่ใจพื้นที่ ประดับเกียรติยศแก่ไต้หวัน” ที่ยื่นเสนอโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงคมนาคม โดยจะมุ่งประสานความร่วมมือเชิงลึกกับผู้ร่วมผลประโยชน์ ภายใต้นโยบาย “การท่องเที่ยวรูปแบบอัจฉริยะ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาคมโลกมองเห็นคุณค่าการท่องเที่ยวสีเขียวของไต้หวันกันเพิ่มมากขึ้น