ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รมช.กต.ไต้หวัน ให้สัมภาษณ์แก่พิธีกรรายการ Enquête Exclusive แห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง M6 ในฝรั่งเศส โดยเน้นย้ำว่า สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการธำรงรักษาความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค
2025-03-12
New Southbound Policy。รมช.กต.ไต้หวัน ให้สัมภาษณ์แก่พิธีกรรายการ Enquête Exclusive  แห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง M6 ในฝรั่งเศส โดยเน้นย้ำว่า สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการธำรงรักษาความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
รมช.กต.ไต้หวัน ให้สัมภาษณ์แก่พิธีกรรายการ Enquête Exclusive แห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง M6 ในฝรั่งเศส โดยเน้นย้ำว่า สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการธำรงรักษาความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 11 มี.ค. 68

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายอู๋จื้อจง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้สัมภาษณ์แก่ Mr. Bernard de la Billardière พิธีกรรายการ Enquête Exclusive  แห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง M6 ในฝรั่งเศส โดยเนื้อหาบทสัมภาษณ์ได้เผยแพร่ออกอากาศในรูปแบบผลงานสารคดี ภายใต้ชื่อ “สัญญาณแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินของน่านน้ำทะเลจีน” (Alerte rouge en mer de Chine) ในช่วงค่ำของวันที่ 9 มีนาคม 2568 ซึ่งได้รับความสนใจในวงกว้างจากประชาชนชาวฝรั่งเศสและประชาคมโลก
 
รมช.อู๋ฯ กล่าวว่า เนื่องจากอุปทานของแผ่นชิปร้อยละ 60 และชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ทันสมัยกว่าร้อยละ 95 ถูกผลิตขึ้นในไต้หวัน ข้อได้เปรียบทางอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ไต้หวันก้าวขึ้นสู่ปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในระบบห่วงโซ่อุปทานโลก โดยไต้หวันมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งสถานภาพในปัจจุบัน ลดบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดจากความขัดแย้ง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก สำหรับไต้หวันแล้ว “สถานภาพเดิม” หมายถึง การที่ไต้หวันไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจีนมาก่อน ด้วยเหตุนี้ หากจีนกระทำการใดที่สนองต่อความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมในปัจจุบัน ด้วยความเห็นชอบเพียงฝ่ายเดียว ก็จะนับว่าเป็นพฤติกรรมการรุกรานโดยทั้งสิ้น
 
ในแง่มุมสถานภาพระหว่างประเทศของไต้หวัน รมช.อู๋ฯ กล่าวว่า แม้ว่าไต้หวันจะสานสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับ 12 ประเทศทั่วโลก แต่ไต้หวันได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนรัฐบาลในต่างแดนกว่า 111 แห่งทั่วโลก ไต้หวันเป็นประเทศ “ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว” (sui generis) เนื่องจากพวกเรามีระบอบประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง มีรัฐบาลที่บริหารงานราชการอย่างมีระบบ รวมไปถึงการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเจริญรุ่งเรือง จึงส่งผลให้วิถีชีวิตของภาคประชาชนอยู่ในมาตรฐานระดับสูง นอกจากนี้ พวกเรายังมีเสรีภาพสื่อที่เปิดกว้าง ตลอดจนร่วมสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาคมโลกอย่างใกล้ชิด ด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรม
 
สำหรับกรณีความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ รมช.อู๋ฯ กล่าวว่า พื้นที่ภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกถือเป็นแหล่งรวมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ระยะที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล (Charles De Gaulle) และฟิลิปปินส์ ได้ทำการฝึกซ้อมรบในพื้นที่ทะเลจีนใต้อยู่เป็นวาระประจำ ประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกที่ต่างทยอยสำแดงศักยภาพทางกลาโหมกันอย่างคึกคักมากขึ้นในพื้นที่ภูมิภาคแห่งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการมุ่งธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของไต้หวัน แม้ว่ากลุ่มประเทศในภูมิภาคจะเกรงกลัวอำนาจจากจีน จึงยังมิได้มีการจัดตั้งพันธมิตรทางทหารหรือร่วมลงนามสนธิสัญญาเพื่อการป้องกันประเทศใดๆ อย่างไรก็ตาม ไต้หวันคาดหวังที่จะเสริมสร้างความเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยและเสรีภาพ อย่างเช่น สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อร่วมกันธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ตลอดจนสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดแก่ประชาคมโลกอย่างยั่งยืนสืบไป
 
ผลงานสารคดีข้างต้นแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือไต้หวันและฟิลิปปินส์ โดยในหมวดไต้หวัน ชี้นำให้เห็นว่า ภัยคุกคามทางทหารที่เกิดจากจีน ไม่เคยรุนแรงเท่านี้มาก่อน จีนมีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่ต้องการจะครอบครองไต้หวัน แต่ไต้หวันก็ไม่มีทีท่าจะยอมจำนนแต่โดยดี ส่วนหมวดฟิลิปปินส์ มีใจความสำคัญที่บ่งชี้ว่า จีนมองข้ามกฎระเบียบระหว่างประเทศ เข้ารุกรานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต้ และควบคุมทุกความเคลื่อนไหวด้วยศักยภาพทางกลาโหมในพื้นที่แห่งนี้ โดยทีมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณความปลอดภัยในพื้นที่น่านน้ำทางทะเล และกลุ่มประมงชาวฟิลิปปินส์ ต่างก็มุ่งสกัดกั้นการรุกรานในพื้นที่น่านน้ำจากกองทัพเรือของจีนอย่างขมักเขม้น