
กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 12 มี.ค. 68
งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมดาวเทียม SATELLITE ปี 2568 มีกำหนดการเปิดฉากขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในช่วงระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2568 ตามเวลาในเขตตะวันออกของสหรัฐฯ หลายปีมานี้ อุตสาหกรรมดาวเทียมของไต้หวันมีการขยายตัวเติบโตอย่างโดดเด่น และสร้างผลสัมฤทธิ์ขึ้นมากมาย ส่งผลให้มูลค่าการผลิตของอุปกรณ์ภาคพื้นดินด้านดาวเทียมของไต้หวันสูงถึง ในปี 2567 สูงถึง 244,100 ล้านเหรียญไต้หวัน ขยายตัวขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตราบจนปัจจุบัน มีผู้ประกอบการไต้หวัน 51 รายที่สามารถรุกเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานผู้ให้บริการบริการโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ โดยในปีนี้ กรมพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้กระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ประสานความร่วมมือกับศูนย์อวกาศแห่งชาติ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวบรวมคณะตัวแทนผู้ประกอบการไต้หวัน 18 ราย ในการเข้าร่วมจัด “คูหาภาพลักษณ์ไต้หวัน Taiwan Space” เพื่อนำเสนอไฮไลท์สินค้าหลากหลายรายการที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล ซึ่งนอกจากอุปกรณ์ภาคพื้นดินของดาวเทียม และชิ้นส่วนประกอบดาวเทียมที่สำคัญแล้ว ยังครอบคลุมไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีดาวเทียม ระบบดาวเทียมสื่อสารและเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล
SATELLITE ปี 2568 ถือเป็นนิทรรศการความเชี่ยวชาญด้านดาวเทียมที่ได้รับความสนใจเป็นวงกว้างในระดับสากล ในครั้งนี้สามารถดึงดูดผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดแสดงกว่า 450 ราย อาทิ Amazon Project Kuiper , Eutelsat OneWeb , SES , Intelsat และ Telesat เป็นต้น โดยนับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา กรมพัฒนาอุตสาหกรรมได้มุ่งผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปลายทางและชิ้นส่วนสำคัญระดับต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ครัวเรือน ยานยนต์ กิจการทางทะเลและอวกาศ ปีนี้นับเป็นปีที่ 4 แล้วที่ไต้หวันเข้าร่วมในรูปแบบการจัดตั้งคูหา ซึ่งสามารถรวบรวมกลุ่มผู้ประกอบการได้รวมจำนวน 18 ราย เพิ่มขึ้นจาก 15 รายของปีที่แล้ว เพื่อนำเสนอสินค้ากว่า 45 รายการ โดยปีนี้นอกจากคูหาไต้หวันแล้ว ยังมีผู้ประกอบการไต้หวันอีก 4 รายที่เข้าร่วมจัดแสดงในละแวกพื้นที่โซนหลัก ซึ่งขานรับต่อคูหาหลักของไต้หวันได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลกสัมผัสถึงศักยภาพแฝงด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดาวเทียมของไต้หวัน
ในระหว่างงานจัดแสดงครั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันยังได้นำเสนอให้เห็นสินค้านวัตกรรมทางเทคโนโลยีอีกเป็นจำนวนมาก ในหมวดดาวเทียมและอวกาศ บริษัท Rapidtek Technologies Inc. ได้วิจัยและพัฒนา IoT payload ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับดาวเทียมลูกบาศก์ (CubeSat) ควบคู่ไปกับการเปิดตัวเทคโนโลยีสายอากาศแบบอาร์เรย์ (array antenna) ที่มีขนาดเล็กสุด (97mm*97mm) แต่สามารถรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันได้สูงสุดถึง 100 คน
ในหมวดอุปกรณ์ภาคพื้นดินและชิ้นส่วนที่สำคัญ บริษัท Phasetrum INC. ได้เปิดตัวอุปกรณ์สำหรับจูนเนอร์ (Phase Tuner) ตัวแรกของโลก ที่สามารถผนวกเข้ากับสายอากาศแบบอาร์เรย์ (array antenna) เพื่อมาแทนที่เทคนิค Beamforming IC ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดพื้นที่ขนาดของวงจรจับคู่ดาวเทียมและเสาอากาศลงครึ่งหนึ่ง ควบคู่ไปกับการลดประสิทธิภาพการใช้พลังงานลง 50%
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการดาวเทียมของไต้หวันและโลกนานาชาติ กิจกรรมในครั้งนี้ยังได้ติดต่อเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอวกาศที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ อาทิ Hughes , Kuiper จากสหรัฐฯ Telesa , MDA Space จากแคนาดา SES จากลักเซมเบิร์ก และ Thales Alenia Space、Airbus Defence and Space จากฝรั่งเศส เข้าร่วมแลกเปลี่ยนทางธุรกิจกับผู้ประกอบการไต้หวัน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไต้หวันสามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่อุปทานด้านดาวเทียวระดับสากลได้