ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ร่วมหารือแนวทางการรับมือมาตรการภาษีศุลกากรต่างตอบแทนของสหรัฐฯ เพื่อสร้างเสถียรภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระดับประเทศ พร้อมกันนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินไต้หวัน ยังได้ยื่นเสนอ 3 มาตรการรับมือต่อสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์
2025-04-08
New Southbound Policy。สภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ร่วมหารือแนวทางการรับมือมาตรการภาษีศุลกากรต่างตอบแทนของสหรัฐฯ เพื่อสร้างเสถียรภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระดับประเทศ พร้อมกันนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินไต้หวัน ยังได้ยื่นเสนอ 3 มาตรการรับมือต่อสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ (ภาพจากสภาบริหาร)
สภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ร่วมหารือแนวทางการรับมือมาตรการภาษีศุลกากรต่างตอบแทนของสหรัฐฯ เพื่อสร้างเสถียรภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระดับประเทศ พร้อมกันนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินไต้หวัน ยังได้ยื่นเสนอ 3 มาตรการรับมือต่อสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ (ภาพจากสภาบริหาร)

สภาบริหารและกระทรวงการคลัง วันที่ 7 เม.ย. 68

เพื่อรับมือกับมาตรการภาษีศุลกากรต่างตอบแทน (Reciprocal tariff) ที่ประกาศโดยประธานาธิบดีทรัมป์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2568 นายกรัฐมนตรีจั๋วหรงไท่จึงได้ติดต่อเชิญคณะตัวแทนพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เข้าร่วมเปิดการเจรจาในสภาบริหาร โดยนางหลี่ฮุ่ยจือ โฆษกสภาบริหาร กล่าวว่า ระหว่างการประชุม ได้มีการเปิดอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบที่ภาคอุตสาหกรรมต้องประสบและมาตรการแนวทางการรับมือของรัฐบาล โดยนรม.จั๋วฯ คาดหวังที่จะเห็นพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ร่วมให้การสนับสนุนแผนการอุดหนุนอุตสาหกรรม รวม 20 มาตรการใน 9 มิติ ด้วยงบประมาณ 88,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างเต็มกำลัง 
 
โฆษกหลี่ฯ กล่าวว่า ก่อนที่ปธน.ทรัมป์ จะประกาศใช้มาตรการภาษีศุลกากรต่างตอบแทนสำหรับแต่ละประเทศ รัฐบาลได้ทำการวิเคราะห์และคำนวณผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพรวม และอุตสาหกรรมเฉพาะราย อย่างไรก็ตาม การที่ไต้หวันถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 32% ถือเป็นสัดส่วนที่สูงเกินความคาดหมาย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาตรการรับมืออย่างเร่งวด่วน โดยในวันที่ 4 เมษายน 2568 นรม.จั๋วฯ ได้จัดงานแถลงข่าว ในประเด็น “แผนการสนับสนุนระบบห่วงโซ่อุปทานการส่งออกของไต้หวัน เพื่อรับมือกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ” ซึ่งนอกจากจะชี้แจงต่อภาคประชาชน เกี่ยวกับรายงานการประเมินผลกระทบและมาตรการรับมือแล้ว ยังได้เรียกร้องให้ให้ทุกหน่วยงานเร่งพิจารณาทบทวนการประเมินผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณ 88,000 ล้านเหรียญไต้หวันเพื่อการอุดหนุน โดยในจำนวนนี้ครอบคลุมทั้งในด้านการลดอัตราดอกเบี้ยทางการค้า สิทธิประโยชน์ทางค่าเบี้ยประกันสินค้าสำหรับการส่งออก โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ประสานความร่วมมือกัน ด้วยการลงมตผ่านการพิจารณางบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อช่วงพยุงอุตสาหกรรมภายในประเทศ ด้วยแผนการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินในระยะสั้น
 
โฆษกหลี่ฯ ยังระบุอีกว่า ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อยังแสดงความห่วงใยต่อมิตรสหายแรงงาน ด้วยเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงแรงงานจึงได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2568 เพื่อยื่นเสนอ “แผนการประกอบอาชีพที่มั่นคง” เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มแรงงานก้าวผ่านอุปสรรคด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน นรม.จั๋วฯ ก็ได้กำชับให้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ ยื่นเสนอแนวทางและกลยุทธ์การรับมือในระยะกลางและระยะยาว หากในอนาคต จะต้องปรับแก้หรือร่างญัตติกฎหมายใหม่ ก็ขอให้สภานิติบัญญัติให้การสนับสนุนด้วย
 
โฆษกหลี่ฯ หยิบยกข้ออ้างอิงที่ว่า โดยปกติแล้ว ทุกประเทศจะมีนโยบายให้การสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเกษตร แผนการสนับสนุนที่สภาบริหารยื่นเสนอในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นขยายเพิ่มจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่แล้ว ยังได้ผ่อนคลายกฎข้อจำกัด และลดขั้นตอนกระบวนการยื่นขออนุมัติเงินอุดหนุน แก่กลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้
 
นรม.จั๋วฯ ยังกล่าวระหว่างการประชุมอีกว่า รัฐบาลจะมุ่งเจรจาทั้งในแง่มาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures) รวมไปถึงแผนการขยายการจัดซื้อและขยายการลงทุน พร้อมทั้งจะเฝ้าจับตาต่อปัญหาการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้ต่ำกว่าราคาทุน และการบริหารธุรกิจที่ละเมิดต่อกฎหมายของนานาประเทศ / เขตพื้นที่ และจะใช้มาตรการรับมือที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันคือ ไต้หวันคาดหวังที่จะได้รับการปรับลดอัตราภาษี มุ่งสู่ทิศทางเชิงบวกสำหรับการพัฒนาในไต้หวัน ตลอดจนสร้างเสริมความสัมพันธ์ทางความร่วมมือรูปแบบใหม่ ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ
 
กองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินแห่งชาติ (National Financial Stabilization Fund) แถลงว่า หลังจากที่ปธน. ทรัมป์ ประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้จากสินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆ ในอัตรา 10% และเรียกเก็บภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal tariff) ตามอัตราเฉพาะที่กำหนดสำหรับแต่ละประเทศ ซึ่งไต้หวันถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 32% ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์โลกเกิดการผันผวนที่รุนแรง และเนื่องจากโครงสร้างอุตสาหกรรมของไต้หวันและสหรัฐฯ เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเสมอมาในระยะยาว ตลาดทุนของไต้หวันและตลาดหลักทรัพย์โลก จึงเกิดความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น โดยเฉพาะกับตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ที่มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันจึงประสบกับวิกฤตความผันผวนในระยะสั้น
 
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินไต้หวัน (Financial Supervisory Commission, FSC) จึงได้ประกาศว่า นับตั้งแต่วันที่ 7 ไปจนถึง 11 เมษายน ขอให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือดำเนินการตามมาตรการ 3 รายการ ดังต่อไปนี้ :

(1) นักลงทุนสามารถใช้หลักทรัพย์อื่นๆ ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายและสามารถประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนตามสมควร เป็นหลักประกันเพื่อชำระเงินส่วนต่างในการซื้อขายหลักทรัพย์ในรูปแบบบัญชีมาร์จิน ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงิน

(2) ลดจำนวนคำสั่งขายชอร์ตหุ้นที่ยืมมาในแต่ละวัน จากเดิมไม่เกิน 30% ของจำนวนการซื้อขายโดยเฉลี่ยใน 30 วันทำการล่าสุด มาเป็นร้อยละ 3 %

(3) ปรับเพิ่มอัตราเงินประกันสำหรับการยืมหลักทรัพย์ จากร้อยละ 90 มาเป็นร้อยละ 130 สำหรับหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียน คาดว่า มาตรการเหล่านี้จะมีส่วนช่วยพยุงเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์ได้

ข่าวยอดนิยม