ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประณามจีนที่จงใจบิดเบือนญัตติ 2758 ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ผู้นำอังกฤษ – นิวซีแลนด์ ก็ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วม หลังการประชุม ณ กรุงลอนดอน โดยระบุย้ำให้การสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน
2025-04-25
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประณามจีนที่จงใจบิดเบือนญัตติ 2758 ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ผู้นำอังกฤษ – นิวซีแลนด์ ก็ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วม หลังการประชุม ณ กรุงลอนดอน โดยระบุย้ำให้การสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันชี้แจงต่อกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประณามจีนที่จงใจบิดเบือนญัตติ 2758 ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ผู้นำอังกฤษ – นิวซีแลนด์ ก็ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วม หลังการประชุม ณ กรุงลอนดอน โดยระบุย้ำให้การสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 24 เม.ย. 68
 
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council, UNSC) รัฐบาลสหรัฐฯ ได้แสดงจุดยืนประณามรัฐบาลจีน ที่บิดเบือนญัตติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ฉบับที่ 2758  อีกทั้งยังตีความนโยบายของประเทศอื่นๆ ในทิศทางที่ขัดต่อหลักข้อเท็จจริง โดยมีเจตนาที่จะจำกัดสิทธิเสรีในการตัดสินใจของนานาประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุชัดว่า ญัตติ 2758 มิได้กีดกันให้ไต้หวันเข้าร่วมในระบบสหประชาชาติและการประชุมแบบพหุภาคีอื่นๆ นับเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ที่รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ ได้แสดงจุดยืนคัดค้านการบิดเบือนญัตติ 2758 ต่อเนื่องจากเมื่อครั้งการประชุมคณะกรรมาธิการบริหาร “องค์การอนามัยโลก” (WHO) ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ แสดงจุดยืนที่แน่ชัดเกี่ยวกับญัตติ 2758 ในการประชุม UNSC
 
โอกาสนี้ รมว.หลินฯ จึงได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศอย่างกระตือรือร้น พร้อมทั้งร่วมประณามรัฐบาลจีนที่จงใจบิดเบือนญัตติ 2758 เพื่อสร้างแรงกดดันต่ออำนาจอธิปไตยของไต้หวัน และกีดกันการเข้าร่วมในองค์การระหว่างประเทศของไต้หวัน พร้อมกันนี้ ยังแสดงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศเอกราชที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง และมิได้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาในข้างต้น ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับสถานภาพในปัจจุบันของช่องแคบไต้หวัน และเป็นข้อเท็จจริงที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ ซึ่งเนื้อความในญัตติ 2758 มิได้มีการระบุถึงไต้หวัน อีกทั้งมิได้ระบุว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเพียงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเป็นตัวแทนของภาคประชาชนชาวไต้หวัน 23 ล้านคน บนเวทีสหประชาชาติหรือเวทีองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ ในการแสดงความคิดเห็น
 
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 Mr. Keir Starmer นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ Mr. Christopher Luxon นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมกันหลังการประชุมหารือ ณ กรุงลอนดอน โดยระบุว่า ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในมหาสมุทรแอตแลนติกและภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก มีความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ถือเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในกลไกความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของประชาคมโลก พร้อมทั้งยังแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์การฝึกซ้อมรบของจีนในพื้นที่รายรอบไต้หวัน เมื่อช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายร่วมแก้ไขปัญหาในประเด็นสองฝั่งช่องแคบไต้หวันด้วยสันติวิธี
 
อังกฤษและนิวซีแลนด์ล้วนเป็นพันธมิตรด้านประชาธิปไตยที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันกับไต้หวัน และเป็นกำลังสำคัญในการคงไว้ซึ่งสันติภาพอย่างมีเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก แถลงการณ์การประชุมในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและความมั่นคงระดับโลก มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยไต้หวันจะมุ่งประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งค่านิยมด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพ ควบคู่ไปกับการธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพและการเปิดกว้างในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ตลอดจนปกป้องความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎกติกาสากล ให้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน
 

ข่าวยอดนิยม