ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
การประชุมรัฐมนตรี APEC ว่าด้วยกิจการทางทะเล เปิดฉากขึ้นอีกครั้งหลังขาดช่วงไปนานถึง 11 ปี โดยในระหว่างนี้ ปธ.คกก.กิจการทางทะเลไต้หวัน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับตัวแทนเขตเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกำหนดอนาคตของท้องทะเล พร้อมกันนี้ ไต้หวัน – ปาเลา ยังได้เปิดการอภิปรายกันในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนทางทะเลในอนาคต
2025-05-05
New Southbound Policy。การประชุมรัฐมนตรี APEC ว่าด้วยกิจการทางทะเล เปิดฉากขึ้นอีกครั้งหลังขาดช่วงไปนานถึง 11 ปี โดยในระหว่างนี้ ปธ.คกก.กิจการทางทะเลไต้หวัน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับตัวแทนเขตเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกำหนดอนาคตของท้องทะเล พร้อมกันนี้ ไต้หวัน – ปาเลา ยังได้เปิดการอภิปรายกันในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนทางทะเลในอนาคต (ภาพจากคณะกรรมการกิจการทางทะเล)
การประชุมรัฐมนตรี APEC ว่าด้วยกิจการทางทะเล เปิดฉากขึ้นอีกครั้งหลังขาดช่วงไปนานถึง 11 ปี โดยในระหว่างนี้ ปธ.คกก.กิจการทางทะเลไต้หวัน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับตัวแทนเขตเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกำหนดอนาคตของท้องทะเล พร้อมกันนี้ ไต้หวัน – ปาเลา ยังได้เปิดการอภิปรายกันในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนทางทะเลในอนาคต (ภาพจากคณะกรรมการกิจการทางทะเล)

คณะกรรมการกิจการทางทะเล วันที่ 2 พ.ค. 68
 
การประชุมรัฐมนตรีเอเปคว่าด้วยกิจการทางทะเล (APEC Ocean-related Ministerial Meeting, AOMM) ครั้งที่ 5 มีกำหนดการจัดขึ้น ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568 นับเป็นอีกครั้งต่อเนื่องจากปี 2557 ที่ได้มีการจัดการประชุม AOMM ขึ้น และนับเป็นครั้งแรกที่คณะกรรมการกิจการทางทะเลของไต้หวัน (Ocean Affairs Council, OAC) ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2561 ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคสาขาเฉพาะทางทะเล โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้รวบรวมเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายทางทะเลใน 19 เขตเศรษฐกิจ เพื่อเข้าร่วมอภิปรายในประเด็นอนาคตของท้องทะเลทั่วโลก ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งตัวแทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไต้หวัน นำทัพโดยนางก่วนปี้หลิง ประธานคณะกรรมการกิจการทางทะเล ในการสื่อให้เห็นถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเลของไต้หวัน ที่นับวันยิ่งได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมสมบูรณ์ และสอดรับต่อกฎระเบียบระหว่างประเทศ และพร้อมตอบสนองต่อความท้าทายระดับนานาชาติ เมื่อเผชิญหน้ากับประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเล อาทิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การพัฒนาที่ยั่งยืนและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบอัจฉริยะ เป็นต้น ไต้หวันและหุ้นส่วน APEC จะร่วมแลกเปลี่ยนพร้อมแบ่งปันญัตติข้อกฎหมายและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อร่วมวางวิสัยทัศน์ว่าด้วยความยั่งยืนทางทะเลร่วมกัน
 
ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ปธ.ก่วนฯ ได้นำคณะเข้าร่วมการประชุมแบบทวิภาคี รวม 7 รอบ และการแลกเปลี่ยนสร้างปฏิสัมพันธ์อีก 10 กว่ารอบ ซึ่งหัวข้อสนทนาครอบคลุมในมิติที่หลากหลาย ทั้งเศรษฐกิจสีน้ำเงิน การจัดการขยะในทะเล การอนุรักษ์ท้องทะเล และการเข้าร่วมของกลุ่มเยาวชน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเชื่อมโยงของแผนปฏิบัติการและความเชื่อมั่นระหว่างไต้หวันและหุ้นส่วน APEC
 
นอกจากนี้ ปธ.ก่วนฯ ยังอาศัยโอกาสการร่วมแลกเปลี่ยนกับตัวแทนเขตเศรษฐกิจ ในการเสริมสร้างความเข้าใจต่อแนวโน้มและแนวทางการอนุรักษ์ระบบนิเวศโลก นอกจากนี้ ปธ.ก่วนฯ ยังได้ร่วมแบ่งปันว่า ในระหว่างที่ไต้หวันมุ่งผลักดันนโยบายพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (MPA) พวกเรานอกจากจะเน้นย้ำการอนุรักษ์ระบบนิเวศแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการผสมผสานทางค่านิยมที่หลากหลาย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชนพื้นเมืองและชาวประมงเข้าร่วมกลไกการพิจารณาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งให้การยอมรับต่อสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อร่วมดำเนินการบริหารปกครองและการแบ่งปันซึ่งกันและกัน
 
เพื่อขานรับต่อหัวข้อการประชุมประจำปีนี้ว่าด้วย “ก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน -ความเชื่อมโยง นวัตกรรมและความเจริญรุ่งเรือง” (Navigating Our Blue Future: Connection, Innovation and Prosperity) ปธ.ก่วนฯ กล่าวเน้นย้ำในระหว่างการประชุมว่า ท้องทะเลทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและความท้าทายที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ในปัจจุบัน เราได้คิดค้นแผนปฏิบัติการรูปแบบต่างๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการรับมือและการฟื้นฟูทางทะเล โดยรัฐบาลได้มุ่งอัดฉีดเทคโนโลยี AI และข้อมูลบิ๊กดาต้า ในการเสริมสร้างการคาดการณ์ภัยธรรมชาติอย่างแม่นยำ ทั้งพายุไต้ฝุ่น พายุซัดฝั่ง ภัยหนาวและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเลียบริมชายฝั่งทะเล ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่นานาประเทศ ผ่านนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งสถานีตรวจวัดเพื่อการป้องกันภัยในรูปแบบอัจฉริยะนับร้อยจุด ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความทรหดในการรับมือกับภัยพิบัติองค์รวมในระดับภูมิภาค และแนวทางการป้องกันในรูปแบบดิจิทัล
 
นอกจากนี้ ไต้หวันยังได้ให้การยอมรับต่อการยื่นเสนอแถลงการณ์ของประเทศเจ้าภาพ ที่ขานรับต่อ “วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040” (APEC Putrajaya Vision 2040) พร้อมทั้งให้คำชี้แนะในการผลักดัน “แนวทางการเสริมสร้างความทรหดทางทะเล” อันถือเป็นหลักชัยสำคัญในการเสริมสร้างมาตรการบริหารสภาพแวดล้อมในระดับภูมิภาค และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
 
นอกจากนี้ ไต้หวันยังเล็งเห็นภัยพิบัติที่มีสาเหตุเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาทิ เรือประมงต่างชาติที่มีท่าทีไม่ประสงค์ดีเข้าเทียบท่าในน่านน้ำไต้หวันเป็นจำนวนบ่อยครั้ง การเข้าสอดแนมและการบ่อนทำลายสายเคเบิลใต้น้ำด้วยความจงใจ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้บูรณาการเทคโนโลยีการตรวจตราสอดส่อง การวิเคราะห์พฤติกรรม และการคิดค้นมาตรการรับมือแบบข้ามหน่วยงาน เพื่อการยกระดับสัญญาณแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและศักยภาพการรับมือแบบทันท่วงที ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกันด้านความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในน่านน้ำทะเล
 
ระหว่างนี้ ปธน.ก่วนฯ ยังได้นำคณะตัวแทนเข้าร่วมหารือกับ Mr. Steven Victor รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ประมงและสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐปาเลา โดยทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเน้นการอภิปรายไปที่ประเด็นการอนุรักษ์ท้องทะเล เศรษฐกิจสีน้ำเงิน ความมั่นคงทางทะเลและความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมทะเล เป็นต้น ในโอกาสนี้ ปธ.ก่วนฯ ขอแสดงความต้อนรับล่วงหน้าต่อ รมว. Victor ที่จะออกเดินทางเยือนเทียบท่าเกาะหลันอวี่ ด้วยเรือ Alingano Maisu เป็นสถานีแรกในวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 โดยปธ.ก่วนฯ พร้อมด้วยเทศบาลเมืองไถตง จะเตรียมต้อนรับคณะตัวแทนที่จะเดินทางเข้าสู่น่านน้ำทะเลของไต้หวัน ในวันที่ 10 พ.ค. นี้ด้วยความจริงใจ
 
ปธ.ก่วนฯ แถลงว่า การเดินเรือ Alingano Maisu มาเยือนไต้หวัน ก็เพื่อต้องการร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้คนในพื้นที่เลียบริมทะเลตะวันออก เพื่อดำเนินการตามหลักจิตวิญญาณในยุคแห่งการสำรวจว่าด้วย “ท้องทะเลไร้กรอบจำกัด การสืบสานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” ทั้งไต้หวันและปาเลา นอกจากจะเป็นประภาคารแห่งวัฒนธรรมออสโตรนีเซียนแล้ว ยังมุ่งสร้างคุณประโยชน์ในการคิดค้นแผนแม่บทที่ยั่งยืนให้แก่ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ผ่านกลไกความร่วมมือทางทะเลอีกด้วย
 
ปธ.ก่วนฯ เน้นย้ำว่า นอกจากการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลแล้ว ไต้หวัน – ปาเลา ยังได้เสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนในเชิงลึกด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการบริหารจัดการขยะในทะเล การช่วยกู้ภัยทางทะเลและการฟื้นฟูวัฒนธรรมทางทะเล การไปมาหาสู่ระหว่างกันด้วยความจริงใจ ส่งผลให้ “ทะเล” กลายเป็นภาษาร่วมกันของภาคประชาชนทั้งสองประเทศ
 
ในระหว่างการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในครั้งนี้ ไต้หวัน – ปาเลาได้บรรลุฉันทามติร่วมกันหลายรายการ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการจับมือกันผลักดันความยั่งยืนทางทะเล และเสถียรภาพในภูมิภาค โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันในการเสริมสร้างความทรหดของท้องทะเลอย่างยั่งยืน และการผลักดันโครงการในประเด็นที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ อาทิ บลูคาร์บอน (Blue Carbon) โรคปะการัง การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี AI และการแก้ปัญหาการเพิ่มทวีคูณของสาหร่ายทะเลที่มากเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมุ่งมั่นร่วมกันปราบปรามพฤติกรรมการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, unreported and unregulated, IUU) ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกันในการประยุกต์ใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังได้ให้คำมั่นว่าจะขยายขอบเขตเศรษฐกิจสีน้ำเงิน มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล การประมงที่ยั่งยืนและการวางรากฐานอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรมอย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ เพื่อมุ่งสู่การพิชิตเป้าหมายร่วมกันด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ทะเลอย่างยั่งยืน

ข่าวยอดนิยม