ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ปธน.ไล่ชิงเต๋อให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นที่นำโดย Mr. Yasutoshi Nishimura อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น”
2025-05-06
New Southbound Policy。ปธน.ไล่ชิงเต๋อให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นที่นำโดย Mr. Yasutoshi Nishimura อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น” (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)
ปธน.ไล่ชิงเต๋อให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นที่นำโดย Mr. Yasutoshi Nishimura อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น” (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)

ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 5 พ.ค. 68
 
เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 5 พฤษภาคม 2568 ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ผู้นำไต้หวัน ได้ให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นที่นำโดย Mr. Yasutoshi Nishimura อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น” โดยปธน.ไล่ฯ ได้กล่าวแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่เป็นกระบอกเสียงให้การสนับสนุนไต้หวันบนเวทีนานาชาติ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนให้ความสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันอย่างหนักแน่นเสมอมา
 
ปธน.ไล่ฯ แถลงว่า หลายปีมานี้ รัฐบาลจีนได้ทำการซ้อมรบในพื้นที่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่องแคบไต้หวัน ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนใต้และทะเลญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นการเข้ารุกรานประเทศรายรอบด้วยกลยุทธ์พื้นที่สีเทา อันส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในระดับภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ ปธน.ไล่ฯ จึงเห็นว่า ไต้หวัน - ญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระยะห่วงโซ่ที่ 1 จึงควรเสริมสร้างความร่วมมือกันในการรับมืออย่างสามัคคี เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างก็เป็นหุ้นส่วนทางประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในค่านิยมสากลด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนร่วมกัน หากสามารถเสริมสร้างความร่วมมือแบบทวิภาคีในด้านความมั่นคงทางทะเล ความยืดหยุ่นทางสังคม และแนวทางการเผชิญหน้ารับมือกับกลยุทธ์พื้นที่สีเทาแล้ว เชื่อว่าจะสามารถสำแดงซึ่งศักยภาพการสกัดกั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ควบคู่ไปกับการปกป้องระบอบประชาธิปไตยที่พวกเราหวงแหนให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
 
นอกจากนี้ ปธน.ไล่ฯ ยังแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่ร่วมเป็นกระบอกเสียงให้การสนับสนุนไต้หวันบนเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง อาทิ การประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสหรัฐฯ - ญี่ปุ่นในปีนี้ แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิก G7 และการหารือแบบทวิภาคีระหว่าง “ญี่ปุ่น - องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)” ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดงจุดยืนเน้นย้ำความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน พร้อมแสดงจุดยืนต่อต้านการใช้กำลังอาวุธหรือแรงกดดันในการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมในปัจจุบันของช่องแคบไต้หวัน
 
ท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ส่งผลให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นับวันยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยไต้หวันคาดหวังที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่นในเชิงลึก นอกจากจะคว้าสิทธิเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership, CPTPP) ยังหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเปิดการเจรจาร่วมลงนามใน“ความตกลงเชิงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ” (EPA) ระหว่างไต้หวัน – ญี่ปุ่น โดยเร็ววัน เพื่อขยายโอกาสความร่วมมือทางภาคอุตสาหกรรมแบบทวิภาคี ทั้งในด้านเซมิคอนดักเตอร์ พลังงานไฮโดรเจน เทคโนโลยี AI และอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นต้น ควบคู่ไปกับการจัดตั้งความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แนบแน่นระหว่างกัน เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นใน “ระบบห่วงโซ่อุปทานที่เป็นอิสระจากการพึ่งพาจีน” อันจะนำไปสู่การกระตุ้นการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันในภายภาคหน้าต่อไป
 
Mr. Nishimura กล่าวยกย่องปธน.ไล่ฯ ที่มุ่งดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาในไต้หวันให้เป็นไปอย่างราบรื่น ภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีความสลับซับซ้อนในปัจจุบัน พร้อมระบุวว่า สำหรับการขออนุมัติเข้าร่วม CPTPP ของไต้หวัน ตนได้แสดงจุดยืนเปิดรับด้วยความยินดีในสมัยที่ยังอยู่ในวาระตำแหน่งรมว.กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นยังมุ่งมั่นส่งมอบความช่วยเหลือให้แก่บริษัท TSMC ที่มาเข้าจัดตั้งโรงงานในเมืองคูมาโมโตะอย่างเต็มกำลัง เชื่อว่า การประสานความร่วมมือระหว่างกัน จะสามารถส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ พัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเป็นการจัดตั้งระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความแข็งแกร่งยืดหยุ่นที่ดียิ่งขึ้น
 
Mr. Nishimura ระบุว่า อดีตนรม.อาเบะ เคยกล่าวไว้ว่า “ปัญหาของไต้หวัน ก็เท่ากับเป็นปัญหาของญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน” ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปต่างเฝ้าจับตาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก เนื่องจากสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก มีส่วนเกี่ยวโยงกับสันติภาพและเสถียรภาพในประชาคมโลก ด้วยเหตุนี้ กลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันและพันธมิตทั่วโลกจึงควรที่จะประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และร่วมกันเผยแพร่แนวคิดข้างต้นออกไปเป็นวงกว้าง โดย Mr. Nishimura หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับปธน.ไล่ฯ ในประเด็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - ญี่ปุ่น และการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
 

ข่าวยอดนิยม