ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ก.เศรษฐการจับมือกับหน่วยงานอุตสาหกรรม วิชาการและการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จัด “การประชุมหุ้นส่วนระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก” เพื่อร่วมสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความทรหด พร้อมจับทิศทางความต้องการในอนาคตที่น่าเชื่อถือ
2025-05-26
New Southbound Policy。ก.เศรษฐการจับมือกับหน่วยงานอุตสาหกรรม วิชาการและการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จัด “การประชุมหุ้นส่วนระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก” เพื่อร่วมสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความทรหด พร้อมจับทิศทางความต้องการในอนาคตที่น่าเชื่อถือ
ก.เศรษฐการจับมือกับหน่วยงานอุตสาหกรรม วิชาการและการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จัด “การประชุมหุ้นส่วนระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก” เพื่อร่วมสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความทรหด พร้อมจับทิศทางความต้องการในอนาคตที่น่าเชื่อถือ

ทำเนียบประธานาธิบดีและกระทรวงเศรษฐการ วันที่ 23 พ.ค. 68
 
เมื่อเผชิญหน้ากับความเสี่ยงด้านการเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์และการปรับโครงสร้างของระบบห่วงโซ่อุปทาน กระทรวงเศรษฐการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกันชี้แนะมอบหมายให้สถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมไต้หวัน (ITRI) จัด “การประชุมหุ้นส่วนระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก” ขึ้น ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติไทเป (TICC) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 โดยมีประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ ผู้นำไต้หวันเข้าร่วมกล่าวปราศรัย พร้อมกันนี้ ยังได้ติดต่อเชิญบรรดาทูตานุทูตที่ประจำการในไต้หวัน จากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ให้เดินทางมาเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรม ความมั่นคง ความทรหด และการสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ซึ่งการประชุมครั้งนี้สามารถดึงดูดตัวแทนผู้ประกอบการด้านวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ และกิจการโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงตัวแทนสถาบันอุดมศึกษา คลังสมองและสื่อ เข้าร่วมเป็นจำนวนรวมกว่า 700 คน เพื่อร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนกันในประเด็นความมั่นคงของระบบห่วงโซ่อุปทาน กลไกการแบ่งงานในระดับสากล และการส่งเสริมข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยีระหว่างกัน เป็นต้น ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อการกระตุ้นความร่วมมือด้านความทรหดของระบบห่วงโซ่อุปทานระดับนานาชาติในอนาคตต่อไป
 
ปธน.ไล่ฯ กล่าวว่า กลไกการผลิตของไต้หวันจำเป็นต้องอาศัยการสร้างความเชื่อมโยงสู่ระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลก อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จึงจะสามารถได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไต้หวันยินดีที่จะเป็นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคสมัย AI แห่งอนาคต
 
ปธน.ไล่ฯ ชี้ว่า งานมหกรรม COMPUTEX TAIPEI ประจำปีนี้ ยิ่งใหญ่อลังการกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากมีผู้ประกอบการจำนวน 1,400 รายจาก 30 ประเทศทั่วโลก เดินทางมาร่วมจัดแสดงสินค้าเทคโนโลยีทันสมัย รวมทั้งสิ้น 4,800 คูหา และจากข้อมูลสถิติที่รวบรวมโดยสมาคมคอมพิวเตอร์ไทเป (Taipei Computer Association) จะเห็นได้ว่า กลุ่มชาวต่างชาติที่เดินทางมาเข้าร่วมงานมหกรรมในครั้งนี้ มีจำนวนสูงถึง 50,000 คน
 
ปธน.ไล่ฯ เผยว่า จากสถานการณ์ข้างต้นที่ไม่เคยมีมาก่อน สามารถสรุปได้ว่า ไต้หวันบังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เด่นชัดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยในจำนวนนี้ ไต้หวันครองงส่วนแบ่งการตลาดด้านการผลิตวงจรรวม (IC) และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และทดสอบวงจรรวม เป็นอันดับ 1 ของโลกอีกทั้งตลาดในอุตสาหกรรมการออกแบบ IC ก็ครองสัดส่วนอยู่อันดับต้นๆ ระดับโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เท่านั้น ซึ่งทุกประเทศล้วนมีการออกแบบและการประชาสัมพันธ์ IC ที่แตกต่างกันออกไป สหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบด้านวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยี ส่วนบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ มีอุปกรณ์ตัวช่วยสำคัญในกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัย สำหรับญี่ปุ่น ก็มีวัสดุตั้งต้นและเครื่องมืออุปกรณ์ครบครัน จึงอาจกล่าวได้ว่า กลไกการผลิตของไต้หวันจำเป็นต้องอาศัยการสร้างความเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลก อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จึงจะสามารถได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ปธน.ไล่ฯ แถลงว่า ในปัจจุบัน เซมิคอนดักเตอร์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการทุ่มตลาดด้วยกลวิธีการจำหน่ายด้วยราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ผ่านการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง เหล่าผู้ประกอบการในจีนต่างประยุกต์ใช้มาตรการทุ่มตลาดด้วยวิธีการยื่นขออนุมัติเงินทดแทนจากรัฐบาล ทั้งในด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้า อลูมิเนียม แผงโซลาร์เซลล์ จอมอนิเตอร์และรถยนต์ เป็นต้น อันส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของนานาประเทศ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ด้านเซมิคอนดักเตอร์ หากไม่รับมือให้ดี เกรงว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดประชาคมโลกจึงควรประสานความร่วมมือกันสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนในระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก
 
นอกจากนี้ ปธน.ไล่ฯ ยังกล่าวอีกว่า ศักยภาพทางฮาร์ดแวร์ของไต้หวันได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในประชาคมโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคสมัย AI แห่งอนาคต และเป็นองค์ประกอบสำคัญของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ในด้านซอฟต์แวร์และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้ไต้หวันมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรมที่ครอบคลุมยิ่งๆ ขึ้นไป
 
เพื่อพิชิตเป้าหมายข้างต้น ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมจะประสานความร่วมมือกันในการผลักดันการบัญญัติญัตติกฎหมาย และแสวงหามาตรการการลดทอนภาษี รวมไปถึงการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสรรสร้างสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมของไต้หวันได้รับการพัฒนาที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดจนจะทำการจัดตั้งคลังข้อมูลและศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นในทุกพื้นที่ของไต้หวัน
 
เชื่อว่าทุกท่านคงจะสังเกตเห็นว่า ระยะที่ผ่านมานี้ บริษัท NVIDIA จับมือกับคณะกรรมการกิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัท TSMC และ Foxconn จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยี AI ขึ้นในไต้หวัน ซึ่งนอกจากภาคเอกชนแล้ว ภาครัฐก็ได้ทำการจัดตั้งศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้น ณ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสีเขียวในเขตซาหลุน นครไถหนาน และสวนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ทางใต้ของไต้หวัน ในอนาคต หากมีความจำเป็น ก็จะขยายสู่พื้นที่ทางภาคเหนือและภาคกลางของไต้หวัน ซึ่งนอกจากหน่วยงานวิชาการจะสามารถเข้าทำการวิจัยผ่านการประยุกต์ใช้ AI แล้ว อุตสาหกรรมทุกแขนงยังสามารถเข้าร่วมแสวงหาแผนโซลูชันสำหรับการแก้ปัญหาในมิติต่างๆ ของการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากแหล่งรวมเทคโนโลยีแห่งนี้
 
นายกัวจื้อฮุย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมในหัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ภายใต้สถานการณ์การเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์” โดยรมว.กัวฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมใน 4 ทิศทางหลักของ “แผนริเริ่มว่าด้วยหุ้นส่วนระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเซมิคอนดักเตอร์แห่งประชาธิปไตย” ที่ยื่นเสนอโดยปธน.ไล่ฯ ดังนี้ : (1) การเสริมสร้างความทรหดของระบบห่วงโซ่อุปทาน (2) การจัดตั้งระบบห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลาย (3) การจัดตั้งสมาพันธ์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแผ่นชิป AI และ (4) การผลักดันระบบห่วงโซ่การผลิตชิปขั้นสูงในรูปแบบประชาธิปไตย โดยรมว.กัวฯ ได้ ร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้บรรยา ยผ่าน 3 แง่มุม ประกอบด้วย การลงทุน การตลาดและบุคลากร
 
ในแง่การลงทุน เนื่องจากเทคโนโลยีของไต้หวันก้าวนำโลก จึงขอเชิญชวนให้หุ้นส่วนนานาชาติเข้าร่วมลงทุนในไต้หวัน เพื่อร่วมจัดตั้งระบบเศรษฐกิจ อันเป็นส่วนหนึ่งของการสรรสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานด้านประชาธิปไตยที่มีความทรหด ในแง่การตลาด ขณะนี้ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มี AI เป็นองค์ประกอบหลัก มีเพียงการประสานความร่วมมือระหว่างพันธมิตรประชาธิปไตย จึงจะสามารถร่วมสร้างตลาดที่มีความน่าเชื่อถือ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกิดจากการทุ่มตลาดของแผ่นชิปที่ได้รับการพัฒนามาตราบจนปัจจุบัน ส่วนในแง่บุคลากร ไต้หวันมีข้อได้เปรียบด้านการวิจัยพัฒนาและบุคลากรที่ยอดเยี่ยม โดยในอนาคต เราจะมุ่งผลักดันความร่วมมือระหว่างบุคลากรแบบข้ามพรมแดน พร้อมขยายไปสู่มิติ AI และอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการจัดตั้งเครือข่ายบุคลากรเชิงนวัตกรรมที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น
 
หลังจากนี้ ITRI จะสวมบมทบาทเป็นแกนกลางเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีและการผลักดันอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ วางรากฐานธุรกิจไปสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศร่วมสำแดงคุณค่าของระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพในไต้หวัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางภาคอุตสาหกรรมร่วมกัน
 

ข่าวยอดนิยม