ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันจัดแสดงผลงานวรรณกรรมใน 3 ประเภทหลักที่ได้รับคัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน ในคูหาไต้หวัน ที่จัดขึ้นในงานมหกรรมหนังสือนานาชาติแห่งกรุงโซล
2025-06-18
New Southbound Policy。ไต้หวันจัดแสดงผลงานวรรณกรรมใน 3 ประเภทหลักที่ได้รับคัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน ในคูหาไต้หวัน ที่จัดขึ้นในงานมหกรรมหนังสือนานาชาติแห่งกรุงโซล (ภาพจากพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน)
ไต้หวันจัดแสดงผลงานวรรณกรรมใน 3 ประเภทหลักที่ได้รับคัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน ในคูหาไต้หวัน ที่จัดขึ้นในงานมหกรรมหนังสือนานาชาติแห่งกรุงโซล (ภาพจากพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน)

กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 17 มิ.ย. 68
 
มหกรรมหนังสือนานาชาติแห่งกรุงโซล (Seoul International Book Fair) ถือเป็นเทศกาลหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลี และทรงอิทธิพลสำคัญในทวีปเอเชีย ซึ่งมีกำหนดการเปิดฉากขึ้นใน COEX Exhibition Center กรุงโซล ในช่วงระหว่างวันที่ 18 - 22 มิถุนายน 2568 นับเป็นปีแรกที่ไต้หวันได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นธีมหลักประจำปี โดยคูหาไต้หวันได้จัดออกแบบขึ้น ภายใต้หัวข้อ “TAIWAN SENSIBILITY” เพื่อขานรับต่อโอกาสนี้ พิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน (National Museum of Taiwan Literature, NMTL) จึงได้คัดเลือกผลงานหนังสือ จำนวน 82 รายการเข้าร่วมจัดแสดงในคูหาไต้หวัน รวม 3 ประเภทหลัก ประกอบด้วย “งานเขียนประเภท Nature Writing” “วรรณกรรมชนพื้นเมือง” และ “รางวัลวรรณกรรมไต้หวัน (Taiwan Literature Award)” นอกจากนี้ ยังได้ติดต่อเชิญบรรดานักเขียนไต้หวัน เข้าร่วมจัดเวทีเสวนาในคูหา ควบคู่ไปกับการโปรโมทลิขสิทธิ์หนังสือ และวรรณกรรมที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
 
NMTL แถลงว่า หลายปีมานี้ NMTL มุ่งทำการประชาสัมพันธ์หนังสือออกสู่ท้องตลาดต่างประเทศอย่างกระตือรือร้น ซึ่งไม่เพียงแต่การทำการแลกเปลี่ยนระหว่างพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังขยายและเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้เพิ่มมากขึ้นผ่านช่องทางสำนักพิมพ์เชิงพาณิชย์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ภายใต้การสนับสนุนของกระแสโครงการ T-content ที่ดูแลกำกับโดยกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน NMTL จึงได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมไต้หวัน (Taiwan Creative Content Agency, TAICCA) และมูลนิธิมหกรรมหนังสือไทเป (Taipei Book Fair Foundation, TBFF) เป็นครั้งแรก ในการเข้าร่วมจัดคูหาในงานมหกรรมหนังสือนานาชาติกรุงโซล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะบูรณาการทรัพยากรจากทุกภาคส่วน ในการยกระดับการมองเห็นและบทบาทสำคัญของผลงานวรรณกรรมไต้หวันในโลกนานาชาติ ผ่านแง่มุมจากพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งชาติไต้หวัน ควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ภาพลักษณ์อันโดดเด่นของวรรณกรรมไต้หวัน ได้รับการผลักดันให้ก้าวขึ้นสู่เวทีนานาชาติต่อไป
 
ผลงานที่ได้รับคัดเลือก รวม 82 รายการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผลงานในรูปแบบภาษาจีน อังกฤษและเกาหลี ณ ที่นี้ขอหยิบยกรายชื่อผลงานในประเภท “งานเขียนประเภท Nature Writing” มาทำการชี้แจง อาทิ “The Man with the Compound Eyes” ที่เรียบเรียงโดยนายอู๋หมิงอี้ “The Windbird Pinocha” ที่เรียบเรียงโดยนายหลิวเค้อเซียง “Fisherman” ที่เรียบเรียงโดยนายเลี่ยวหงจี “Taming Sheep” ของนายสวีเจิ้นฝู่ ต่างก็ได้รับการคัดเลือก โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอภาพลักษณ์ของผลงานวรรณกรรมไต้หวัน และความห่วงใยต่อประเด็นดังกล่าว ผ่านผลงานในมิติที่หลากหลายและนักเขียนแบบข้ามยุคสมัย นอกจากนี้ ผลงานหนังสือเรื่อง “Ghost Town” ของนายเฉินซือหง ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 หลังจากที่ได้อนุมัติขายลิขสิทธิ์ให้มีการแปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว ยิ่งทำให้สำนักพิมพ์ในเกาหลีและบรรดาผู้อ่านชาวเกาหลี เฝ้าติดตามให้ความสนใจต่อผลงานวรรณกรรมของไต้หวันกันเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ NMTL จึงได้จัดวางผลงานที่เคยคว้ารางวัลวรรณกรรมแห่งชาติในสมัยที่ผ่านๆ มา ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภายในคูหาโดยได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำชี้แนะ และทำการประชาสัมพันธ์ลิขสิทธิ์แก่ผู้ที่สนใจ

ข่าวยอดนิยม