ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
นรม.ไต้หวันเป็นประธานในการประชุมรายงานว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเน้นย้ำว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะประสานความร่วมมือกัน ผลักดันภารกิจที่เกี่ยวข้องอย่างมีเสถียรภาพต่อไป
2025-06-20
New Southbound Policy。นรม.ไต้หวันเป็นประธานในการประชุมรายงานว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเน้นย้ำว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะประสานความร่วมมือกัน ผลักดันภารกิจที่เกี่ยวข้องอย่างมีเสถียรภาพต่อไป (ภาพจากสภาบริหาร)
นรม.ไต้หวันเป็นประธานในการประชุมรายงานว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเน้นย้ำว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะประสานความร่วมมือกัน ผลักดันภารกิจที่เกี่ยวข้องอย่างมีเสถียรภาพต่อไป (ภาพจากสภาบริหาร)

สภาบริหาร วันที่ 19 มิ.ย. 68
 
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2568 นายจั๋วหรงไท่ นายกรัฐมนตรีไต้หวันทำหน้าที่เป็นประธาน “การประชุมรายงานว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) ครั้งที่ 6” โดยนรม.จั๋วฯ ระบุว่า ภารกิจด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นโครงการที่มีความยากลำบากและครอบคลุมในหลายปัจจัย สำหรับกลุ่มประเทศที่เคยก้าวผ่านความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ โดยนรม.จั่วฯ ขอแสดงความขอบคุณต่อเหล่าคณะกรรมการทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อส่งมอบคำชี้แนะให้รัฐบาลสามารถผลักดันภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีเสถียรภาพต่อไป นอกจากนี้ นรม.จั่วฯ เน้นย้ำว่า ภารกิจดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามความคาดหวัง ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สภาบริหารได้มีมติอนุมัติ “แผนการส่งเสริมนโยบายตามขั้นตอนภารกิจความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” โดยในอนาคต รัฐบาลจะมุ่งบูรณาการทรัพยากรจากทุกหน่วยงานเข้าสู่ภารกิจสำคัญในประเด็นดังกล่าวต่อไป
 
ต่อกรณีที่คณะกรรมการเรียกร้องให้รัฐบาลร่างพิจารณาโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต แผนกลยุทธ์การบริการ และกลไกการพิจารณาทบทวน ที่สอดคล้องต่อกฎระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ทั้งนี้ เพื่อให้เหยื่อทางการเมืองและสมาชิกครอบครัวทุกยุคทุกสมัยได้รับการปลอบประโลม อันเนื่องมาจากความเจ็บปวดทางกายและใจที่ต้องประสบจากเหตุการณ์ความไม่ยุติธรรมในอดีต โดยนรม.จั๋วฯ เน้นย้ำว่า ในกรณีเร่งด่วนที่เหล่าคณะกรรมการได้ระบุเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาระยะยาวของผู้เคราะห์ร้ายอาวุโสจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้น ณ โรงพยาบาลอวี้หลี่ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (MOHW) นรม.จั๋วฯ ขอเรียกร้องให้ MOHW ยื่นเสนอแนวทางการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน โดยนรม.จั๋วฯ และนายหลินหมิงซิน รัฐมนตรีประจำสภาบริหาร จะเร่งวางกำหนดการเดินทางเข้าเยี่ยมเยือนกรณีพิเศษในรพ.อวี้หลี่ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจหลักที่เหล่าคณะกรรมการเฝ้าติดตามอยู่ พร้อมกันนี้ นรม.จั๋วฯ ยังได้กำชับให้ MOHW เร่งขยายขอบเขตการตรวจสอบว่า ยังมีเหยื่อทางการเมืองและสมาชิกครอบครัวใดที่ประสบชะตากรรมในลักษณะที่คล้ายคลึงกันอีกหรือไม่ พร้อมส่งมอบทรัพยากรให้กลุ่มเป้าหมายตามกำลังและความเหมาะสม
 
หลังจากที่เสร็จสิ้นการรับฟังรายงาน “แผนการเปลี่ยนผ่านของอนุสรณ์สถานเจียงไคเชก” โดยกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน (MOC) แล้ว นรม.จั่วฯ แถลงว่า ทิศทางการดำเนินภารกิจของ “คณะทำงานเพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอนุสรณ์สถานเจียงไคเชก” กำลังมุ่งสู่ทิศทาง “การอนุรักษ์ความทรงจำทางประวัติศาสตร์” และ “การประชาสัมพันธ์การศึกษาด้านประชาธิปไตย” โดยในระยะกลางและระยะยาว จะผลักดันให้อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ยกระดับสู่ “สวนอุทยานการศึกษาด้านประชาธิปไตย” เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมทำความเข้าใจต่อวิวัฒนาการจากลัทธิอำนาจนิยมไปสู่กระบวนการทางประชาธิปไตยของไต้หวัน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างแนวคิดค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม ด้วยเหตุนี้ สภาบริหารจึงลงมติเห็นชอบต่อกรณีข้างต้น
 
สำหรับ “ร่างญัตติแผนปฏิบัติการว่าด้วยการอนุรักษ์สถานที่ทางประวัติศาสตร์ในช่วงเหตุการณ์หรือช่วงเวลาที่เจ็บปวดในอดีต” ที่ยื่นเสนอโดย MOC นรม.จั๋วฯ แถลงว่า สภาบริหารก็ได้มีมติเห็นชอบและให้การสนับสนุน พร้อมกำชับให้ MOC รวบรวมความคิดเห็นของหน่วยงานและคณะกรรมการ พร้อมทั้งหารือแนวทางการดำเนินการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และหวังว่า ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ร่างญัตติดังกล่าวจะก่อเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และยื่นส่งให้สภาบริหารพิจารณาอนุมัติเป็นลำดับถัดไป
 
นรม.จั่วฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ญัตติข้างต้นได้รับการอนุมัติแล้ว ก็ขอให้ MOC เฝ้าตรวจการณ์ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง และส่งมอบความช่วยเหลือให้ทุกหน่วยงานมุ่งผลักดันภารกิจการอนุรักษ์ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งกำชับให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการกิจการทางทะเล ให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น โดยรัฐบาลกลางจะทำหน้าที่เป็นต้นแบบแกนนำในการชักจูงประเทศชาติ ให้ร่วมอนุรักษ์ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ผ่านสถานที่อันทรงคุณค่าเหล่านี้ ตลอดจนเพื่อสำแดงบทบาทเชิงการศึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรมในไต้หวัน
 
เราจะเห็นได้ว่า “ร่างญัตติว่าด้วยการเสริมสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านของกลุ่มชนพื้นเมือง หลังยุคสงคราม” และภารกิจการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรมของกลุ่มชนพื้นเมืองที่ระบุไว้ใน “รายงานการประชุมว่าด้วยการผลักดันกฎหมายขั้นพื้นฐานของกลุ่มชนพื้นเมือง ภายใต้สภาบริหาร” มีความสอดรับกันอย่างลงตัว อย่างไรก็ตาม เพื่อส่งเสริมภารกิจการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านของกลุ่มชนพื้นเมือง นรม.จั๋วฯ จึงได้กำชับให้คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมือง(CIP) รวบรวมนำเอาข้อคิดเห็นของเหล่าคณะกรรมการไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงแก้ไข และวางมาตรการการดำเนินการรับมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมยื่นเสนอให้สภาบริหารพิจารณา ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ ยังขอให้ CIP และหน่วยงานต่างๆ มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่า หลังจากที่แผนการดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ยังจำเป็นต้องทำการพิจารณาแก้ไขตามลำดับ พร้อมทั้งมุ่งผลักดันอย่างกระตือรือร้น เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของภาคประชาสังคม โดยในระหว่างการผลักดัน ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการและประสบการณ์ในอดีตของกลุ่มเป้าหมายที่เคยตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน รวมถึงประวัติความเป็นมาของแต่ละชนเผ่า เพื่อให้เกิดการผลักดันในทิศทางที่เหมาะสม ภายใต้มุมมอง “กระแสนิยมหลักของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง”
 
นอกจากนี้ ต่อประเด็น “ร่างญัตติแผนกลยุทธ์กองทุนเพื่อการส่งเสริมความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” สภาบริหารมีมติเห็นด้วยตามหลักการ และขอกำชับให้สำนักงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ทำการแก้ไขตามข้อคิดเห็นของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “กองทุนเพื่อการส่งเสริมความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” คือการนำทรัพย์สินที่ได้มาอย่างโดยมิชอบ โอนเข้าสู่ระบบการคลังของภาครัฐในยุคสมัยการปกครองในรูปแบบเผด็จการมาใช้ดำเนินการเพื่อผลประโยชน์แก่ส่วนรวม ตามระเบียบการส่งเสริมความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านสิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรม การดูแลระยะยาวและสวัสดิการทางสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ เหล่าคณะกรรมการยังได้ชูเป้าหมายหลักที่สำคัญของการผลักดันภารกิจความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน นั่นก็คือ การเสริมสร้างฉันทามติค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมยุคปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความทรหดทางประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงจะมุ่งเน้นไปสู่ทิศทาง “ความทรหดทางประชาธิปไตย” อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเร่งบูรณาการทรัพยากร ควบคู่ไปกับการผลักดันในทิศทางเชิงลึก พร้อมทั้งจัดตั้งแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนตอบสนองความคาดหวังของภาคประชาสังคม ผ่านการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
 
นอกจากนี้ สภาบริหารยังมีมติให้การสนับสนุนจัดตั้ง “คณะทำงานด้านการเสริมสร้างความทรหดทางประชาธิปไตย” ที่ยื่นเสนอโดยคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

ข่าวยอดนิยม