
กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 28 มิ.ย. 68
เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอันหนักแน่นที่ไต้หวัน – สาธารณรัฐเช็ก มีต่อยูเครน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 นายเคอเหลียงรุ่ย ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำเช็ก และ Mr. David Steinke ผู้แทนรัฐบาลเช็กประจำกรุงไทเป จึงได้มีมติลงนาม “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ด้านการจัดตั้งความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนด้านโครงสร้างพลังงานที่สำคัญในยูเครน” ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยไต้หวัน - เช็กจะส่งมอบกลไกให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนในการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกรองน้ำและระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า ในวาระโอกาสนี้ นายอู๋จื้อจง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไต้หวัน และ Mr. Tomáš Kopečný ทูตพิเศษด้านกิจการบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในยูเครนของรัฐบาลสาธารณรัฐเช็ก ก็ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ผ่านรูปแบบออนไลน์เช่นเดียวกัน
รมช.อู๋ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า การสืบสานโครงการความร่วมมือระหว่างไต้หวัน – เช็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนที่ต้องประสบกับภัยสงครามที่เกิดจากฝ่ายรัสเซีย ในการจัดสร้างความยืดหยุ่นของระบบห่วงโซ่พลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ภาคประชาชนชาวยูเครนมีน้ำสะอาดไว้บริโภค โดยในจำนวนนี้ โครงการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกรองน้ำเพื่อการบริโภคแบบเคลื่อนที่ คาดว่าจะสามารถส่งมอบอานิสงส์ให้แก่ภาคประชาชนที่พำนักอาศัยอยู่ในเมืองดนีโปร (Dnipropetrovsk) ได้เป็นจำนวนกว่า 380,000 คน และคาดว่าโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟาและพลังงานร่วม (Co-generation) จะสร้างอานิวงส์ให้แก่ชาวเมืองคาร์คิฟ (Kharkiv) ได้เป็นจำนวนประมาณ 60,000 คน โดยในอนาคต ไต้หวัน – เช็กจะจับมือกับพันธมิตรประชาธิปไตยในการสร้างคุณูปการเพื่อเป็นประโยชน์แก่การบูรณะสร้างโครงสร้างพื้นฐานในยูเครนต่อไป
Ms. Kopečný แถลงว่า ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่มีโอกาสร่วมเป็นสักขีพยานในการประสานความร่วมมือ ระหว่างไต้หวัน – เช็ก อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรูปแบบความร่วมมือแบบพหุภาคีที่มีความเฉพาะตัว เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - เช็ก - ยูเครน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนชาวยูเครนที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามรุนแรง มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภคอย่างอุ่นใจ สะท้อนให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองประเทศ ที่มุ่งมั่นดำเนินการเจรจามาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปี และอาจกล่าวได้ว่า กลไกความร่วมมือระหว่างไต้หวัน - เช็ก ถือเป็นต้นแบบของประชาคมโลกที่เหมาะแก่การนำไปอ้างอิง
โครงการข้างต้นถือเป็นการสืบสานแผนปฏิบัติการส่งมอบความช่วยเหลือให้ยูเครน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไต้หวัน - เช็ก นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ภาคประชาชนชาวยูเครนมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค พร้อมทั้งคำนึงถึงความต้องการด้านพลังงานที่มีความเร่งด่วน ด้วยการจัดตั้งเทคโนโลยีเครื่องกรองน้ำที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบห่วงโซ่ด้านพลังงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านพลังงานในพื้นที่ยูเครน อันจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ภาคประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น ท่ามกลางสภาพอากาศที่แปรปรวนสุดขั้ว
ในปัจจุบัน ไต้หวันและหลายประเทศในทวีปยุโรปต่างกำลังประสานความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนกันอย่างขมักเขม้น ภายใต้การยึดมั่นในจิตวิญญาณการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศ ด้วยการมุ่งผลักดันความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ความร่วมมือทางการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อกลไกการส่งมอบความช่วยเหลือและเสียงสนับสนุนที่ประชาคมโลกมีต่อยูเครนและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยในอนาคตจะทยอยขยายขอบเขตความร่วมมือเป็นวงกว้างมากขึ้น แนวทางเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมที่ไต้หวันและกลุ่มประเทศทวีปยุโรปที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ในการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตลอดจนเป็นการสนับสนุนเสรีภาพ สันติภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างหนักแน่น ด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรม