ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป (DG EMPL) และกรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแห่งสหภาพยุโรป (EU-OSHA) รวบรวมคณะเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับกระทรวงแรงงานไต้หวัน ในประเด็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีเกียรติและศักด์ศรีที่เท่าเทียม การเสวนาในภาคประชาสังคม รวมถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
2025-07-15
New Southbound Policy。กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป (DG EMPL) และกรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแห่งสหภาพยุโรป (EU-OSHA) รวบรวมคณะเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับกระทรวงแรงงานไต้หวัน ในประเด็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีเกียรติและศักด์ศรีที่เท่าเทียม การเสวนาในภาคประชาสังคม รวมถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน (ภาพจากกระทรวงแรงงาน)
กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป (DG EMPL) และกรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแห่งสหภาพยุโรป (EU-OSHA) รวบรวมคณะเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับกระทรวงแรงงานไต้หวัน ในประเด็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีเกียรติและศักด์ศรีที่เท่าเทียม การเสวนาในภาคประชาสังคม รวมถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน (ภาพจากกระทรวงแรงงาน)

กระทรวงแรงงาน วันที่ 14 ก.ค. 68
 
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 Mr. Mario NAVA ปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป (DG EMPL) นำคณะตัวแทนเดินทางเยือนไต้หวัน โดยได้จับมือกับนายหงเซินฮั่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไต้หวัน (Ministry of Labor, MOL) จัด “การประชุมเสวนาระดับสูง และการอภิปรายประเด็นแรงงาน ระหว่างไต้หวัน – EU ครั้งที่ 6” การประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ EU มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับปลัดกระทรวง นำคณะตัวแทนเดินทางเยือนไต้หวัน นับตั้งแต่ที่มีการริเริ่มจัดขึ้นในปี 2561 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนและการให้ความสำคัญของ EU ที่มีต่อความร่วมมือในกิจการแรงงานระหว่างไต้หวัน -  EU นอกจากนี้ Mr. William COCKBURN อธิบดีกรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแห่งสหภาพยุโรป (EU-OSHA) ก็ได้นำคณะตัวแทนเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อร่วมมือกับสำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของไต้หวัน จัดการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระหว่างไต้หวัน – EU ครั้งที่ 4 (EU - Taiwan Occupational Safety and Health Cooperation Meeting) ในวันเดียวกัน
 
ในระหว่างการประชุมเสวนาระดับสูง ระหว่างไต้หวัน – EU รมว.หงฯ แถลงว่า ไต้หวัน – EU ต่างยึดมั่นในค่านิยมสากลด้านเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม โดยเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือเจรจากันในประเด็นด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับการผลักดันโครงการความร่วมมือ เพื่อสรรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีเกียติและศักดิ์ศรีให้แก่กลุ่มแรงงาน สังคมไต้หวันนับวันยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานจำนวนมาก เนื่องจากเราเป็นส่วนหนึ่งในระบบห่วงโซ่อุปทานโลก ด้วยเหตุนี้ การจัดสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ จึงเป็นภารกิจสำคัญของ MOL
 
ในปี 2567 EU ได้มีมติผ่านการพิจารณา “กฎหมายห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรป” (Corporate Sustainability Due Diligence Directive, CSDDD) และ “กฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ถูกบีบบังคับ” ซึ่งประสบการณ์ด้านระบบกฎหมาย เครื่องมือทางนโยบาย และกลไกการบริหารงานเหล่านี้ นอกจากจะมีส่วนช่วยในกลไกการบริหารงานของผู้ประกอบการไต้หวันแล้ว ยังสามารถปกป้องสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไปอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2568 EU ยังได้ยื่นเสนอโครงการ “สมาพันธ์สภาวิชาชีพ” (Union of Skills) ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ การยกระดับความชำนาญการ การฝึกฝนทักษะใหม่ การบูรณาการแบบข้ามพรมแดน และกลยุทธ์การดึงดูดบุคลากร ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของไต้หวัน ตลอดช่วงที่ผ่านมา
 
ในโอกาสนี้ Mr. NAVA ยังได้เน้นย้ำจุดยืนของ EU ที่มีต่อการเสริมสร้างสิทธิแรงงานประมงนอกน่านน้ำ โดย Mr. NAVA ตระหนักดีว่า สภาพแวดล้อมการทำงานในเขตทะเลนอกน่านน้ำ มีข้อจำกัดและลักษณะพิเศษ โดย Mr. NAVA เล็งเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันได้เร่งดำเนินแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนและการทำประมงอย่างกระตือรือร้น และอยู่ระหว่างการร่างพิจารณาข้อบังคับใช้ ที่อ้างอิงตามอนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง โดย Mr. NAVA หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นไต้หวันมุ่งผลักดันการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณ Wifi บนเรือประมงนอกน่านน้ำ ควบคู่ไปกับการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกลุ่มประเทศที่มีแรงงานประมงจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อร่วมยกระดับการคุ้มครองสิทธิแรงงานประมงอย่างครอบคลุม
 
Mr. NAVA ได้ให้การยอมรับต่อผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนแบบทวิภาคีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของ พร้อมยินดีที่จะเห็น MOL ให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบความยั่งยืนทางธุรกิจอย่างรอบด้าน และออกมาตรการคุ้มครองแรงงานที่ถูกบีบบังคับอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ Mr. NAVA ยังชี้แจงว่า “สมาพันธ์สภาวิชาชีพ” เป็นโครงการสำคัญที่ EU ต้องการมุ่งเสริมสร้างการเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพและการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
 
ในระหว่างการประชุมหารือด้านแรงงาน รมว.หงฯ ระบุว่า การเปิดการเสวนาในภาคประชาสังคม ระหว่างกระบวนการกำหนดนโยบาย ถือเป็นรูปแบบปกติของกลุ่มประเทศประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบัน หลายประเทศใน EU ต่างก็มีกลไกการเสวนาในภาคประชาสังคมที่สมบูรณ์พร้อม โดยการประชุมในครั้งนี้ DG EMPL ได้ติดต่อเชิญให้สหพันธ์แรงงานขนส่งแห่งยุโรป (European Transport Workers’ Federation) และสมาคม Pelagic Freezer Trawler Association ร่วมเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อพูดคุยหารือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไต้หวัน ในประเด็นมาตรการและข้อเสนอแนะว่าด้วยการยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานของชาวประมงทะเลน้ำลึก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเสวนาและความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและแรงงานประมง ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างประเทศมาตุภูมิของกลุ่มแรงงาน และประเทศที่แรงงานประมงต่างชาติ เข้าตั้งรกรากการทำงาน
 
เจ้าหน้าที่สำนักการประมง ได้รายงานสถานการณ์การดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมการประมงและสิทธิมนุษยชน” พร้อมทั้งระบุว่า จะอ้างอิงตามอนุสัญญา ILO C188 ในการผลักดันภารกิจที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นที่พันธมิตรและหุ้นส่วนประชาคมโลกเฝ้าจับตาให้ความสนใจ อาทิ ระยะเวลาการทำงานบนเรือและการลิดรอนสิทธิแรงงานประมง และจะมุ่งพิชิตเป้าหมายในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ทั้งการยกระดับค่าตอบแทน วงเงินประกันภัยและสวัสดิการ พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในท่าเทียบเรือ และติดตั้งอุปกรณ์ CCTV
 
ในระหว่างการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รมว.หงฯ กล่าวว่า ขณะนี้ MOL กำลังมุ่งผลักดันการแก้ไขญัตติกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ทิศทางหลักด้วยกัน คือ (1) ภาคประชาสังคมเฝ้าจับตาต่อปัญหาการข่มเหงรังแกในที่ทำงาน โดยพวกเราหวังที่จะสรรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัย มีเกียรติและศักดิ์ศรีให้แก่กลุ่มแรงงาน ผ่านการกำหนดนิยามและบรรทัดฐานที่ชัดเจน และ (2) การลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้ พวกเราได้อ้างอิงมาตรการแนวทางจากนานาประเทศทั่วโลก ที่ครอบคลุมในส่วนของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยส่งเสริมการป้องกันภัยอันตรายในสถานประกอบการ และการเฝ้าตรวจตราความปลอดภัยของกลุ่มแรงงานอย่างใกล้ชิด
 
การประชุมความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ “การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน” , “ความเสี่ยงด้านจิตสังคมและแนวทางการส่งเสริมอาชีวอนามัยด้านสุขภาวะทางอารมณ์และจิตใจ” รวมถึง “โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน”
 
นับเป็นครั้งแรกที่การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดขึ้นในรูปแบบสถานที่จริง ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องหลายท่าน เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในไต้หวัน โดยในระหว่างนี้ มีผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เข้าร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยหวังที่จะเรียนรู้ซึมซับกลยุทธ์และผลสัมฤทธิ์ด้านการวิจัยล่าสุดของ EU ผ่านแพลตฟอร์มเวทีการแลกเปลี่ยน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกำหนดนโยบายและกลไกมาตรการที่เกี่ยวข้องในไต้หวัน ควบคู่ไปกับการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสภาพแวดล้อมการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป