New Southbound Policy Portal

งานวิจัยของ ITRI 3 รายการได้รับรางวัลออสการ์แห่งเทคโนโลยี

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมของไต้หวัน (ITRI) สามารถคว้า 3 รางวัลใหญ่จาก R&D 100 Awards ดร.เผิงอวี้หมิน รองประธาน ITRI ถ่ายภาพร่วมกับตัวแทนคณะทำงานที่ได้รับรางวัล ภาพจากซ้ายมาขวาได้แก่ ดร.ต๋งหมิ่นเหยียน ผู้อำนวยการ Material and Chemical Research Laboratories  ดร.เจิ้งเซิ่งชิ่ง รองผู้อำนวยการ  Information and Communications Research Laboratories ดร.เผิงอวี้หมิน รองประธาน ITRI ดร.จูมู่เต้า ผู้อำนวยการ Electronic and Optoelectronic System Research Laboratories และนายเซี่ยหมิงฮั่ว ผู้จัดการฝ่าย

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมของไต้หวัน (ITRI) สามารถคว้า 3 รางวัลใหญ่จาก R&D 100 Awards ดร.เผิงอวี้หมิน รองประธาน ITRI ถ่ายภาพร่วมกับตัวแทนคณะทำงานที่ได้รับรางวัล ภาพจากซ้ายมาขวาได้แก่ ดร.ต๋งหมิ่นเหยียน ผู้อำนวยการ Material and Chemical Research Laboratories ดร.เจิ้งเซิ่งชิ่ง รองผู้อำนวยการ Information and Communications Research Laboratories ดร.เผิงอวี้หมิน รองประธาน ITRI ดร.จูมู่เต้า ผู้อำนวยการ Electronic and Optoelectronic System Research Laboratories และนายเซี่ยหมิงฮั่ว ผู้จัดการฝ่าย

งานวิจัยของ ITRI 3 รายการได้รับรางวัลออสการ์แห่งเทคโนโลยี

Economic Daily News วันที่ 19 พ.ย. 61

การย้อมผ้าจำเป็นต้องใช้น้ำจำนวนมาก แต่หากนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ สามารถจะไม่ต้องใช้น้ำเลย ถือเป็นการแก้ปัญหาน้ำเสียในอุตสาหกรรมดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ซึ่งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI) ได้ร่วมกับ Eclat ผู้ประกอบการสิ่งทอยักษ์ใหญ่ของไต้หวันในการพัฒนา Functional Dyeing Synchronized with CO2 Supercritical Technology ซึ่งหากผู้ประกอบการทั้งหมดในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไต้หวันนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ จะทำให้สามารถประหยัดน้ำได้มากถึงปีละ 115 ล้านตัน (เท่ากับประมาณ 3 เท่าของปริมาณน้ำในเขื่อนเป่าซานหมายเลข 2 ในเมืองซินจู๋) ซึ่งระบบนี้ได้รับรางวัล R&D 100 Awards ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นรางวัลออสการ์แห่งเทคโนโลยีประจำปีนี้

 

โดยในปีนี้ ผลงานของไต้หวันโดดเด่นเป็นอย่างมาก งานวิจัยของ ITRI รวม 3 งาน สามารถคว้ารางวัลใหญ่มาครอง โดยนอกจาก Functional Dyeing Synchronized with CO2 Supercritical Technology แล้ว ยังมีระบบ Portable UVC LED Water Sterilizer System และระบบ Automatic Police UAV Patrol System ด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของไต้หวันที่ได้รับรางวัลอีกไม่น้อย เช่น ระบบ Smart Surgical Glasses Solution ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง Taiwan Main Orthopaedic Biotechnology และ ITRI รวมไปจนถึงระบบ Monitor and Diagnose Framework for Manufacturing Processes และระบบ Hybrid MassLINK Bus Stop ของ Institute for Information Technology (III) ต่างก็ได้รับรางวัล R&D 100 Awards ประจำปีนี้เช่นเดียวกัน ถือเป็นการได้รับรางวัลด้านการค้นคว้าวิจัยระดับโลกนี้ เป็นปีที่ 11 ติดต่อกันของงานวิจัยจากไต้หวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีของไต้หวันที่ได้มาตรฐานระดับโลก

 

ทั้งนี้ Mr.Tim Studt ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการตัดสินและที่ปรึกษาบรรณาธิการของ R&D 100 Awards ชี้ว่า ITRI ยังคงมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ได้ผลสำเร็จในด้านใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ด้าน Ms. Laura Panjwani บรรณาธิการของ R&D 100 Awards เห็นว่า ตนหวังว่าจะมีหน่วยงานที่ทำงานวิจัยระดับโลกเช่นเดียวกับ ITRI มากขึ้น ที่มีงานวิจัยได้รับรางวัล R&D 100 Awards

 

โดยนายหลัวต๋าเซิง อธิบดีกรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (DOIT) กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ชี้ว่า โครงการด้านการค้นคว้าวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก DOIT ต่างก็สามารถคว้ารางวัล R&D 100 Awards มาครองได้ตลอดช่วง 11 ปีที่ผ่านมา

 

ในช่วงหลายปีมานี้ รางวัล R&D 100 Awards ให้ความสำคัญกับการต่อยอดเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านการวิจัยของไต้หวันมีจุดเด่นในด้านนี้อยู่แล้ว โดยในปี 2017 มีการลงทุนเพื่อนำงานวิจัยทางเทคโนโลยีไปต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 59,000 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นค่าเฉลี่ยของงบประมาณในการทำงานวิจัยทางเทคโนโลยี 1 เหรียญไต้หวัน จะทำให้เกิดการลงทุน 4.35 เหรียญไต้หวัน ซึ่งงานวิจัยที่ได้รับรางวัลตลอดช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำไปต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว

 

ดร.หลิวเหวินสง ประธาน ITRI ชี้ว่า งานวิจัยสามารถช่วยยกระดับอุตสาหกรรมได้สองทาง ทางแรกคือทำให้เกิดเป็นธุรกิจใหม่ขึ้น เพื่อนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสร้างนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอุตสาหกรรม อีกทางหนึ่งคือช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อให้เทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถก้าวออกจากห้องทดลอง เพื่อไปสร้างให้เกิดประโยชน์ในตลาด อันจะเป็นการช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปในตัว