New Southbound Policy Portal

ไต้หวันครองอันดับ 20 ของดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ การคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (CIPC) แห่งสภาหอการค้าสหรัฐฯ (US Chamber of Commerce) ได้ประกาศรายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (International IP Index) ฉบับที่ 7 ซึ่งไต้หวันได้คะแนนรวม 28.05 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 20 จากจำนวน 50 เขตเศรษฐกิจที่ทำการสำรวจ ถือเป็นประเทศในอันดับที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียรองจากญี่ปุ่นที่ครองอันดับ 8 สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในอันดับ10 และเกาหลีใต้ ที่ครองอันดับ 13

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (CIPC) แห่งสภาหอการค้าสหรัฐฯ (US Chamber of Commerce) ได้ประกาศรายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (International IP Index) ฉบับที่ 7 ซึ่งไต้หวันได้คะแนนรวม 28.05 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 20 จากจำนวน 50 เขตเศรษฐกิจที่ทำการสำรวจ ถือเป็นประเทศในอันดับที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียรองจากญี่ปุ่นที่ครองอันดับ 8 สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในอันดับ10 และเกาหลีใต้ ที่ครองอันดับ 13

สำนักข่าวCNAเมื่อวันที่8ก.พ.62

 

มีรายงานชี้ว่า ไต้หวันเร่งเพิ่มความคุ้มครองและการบังคับใช้กฏหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการผลิตยาชีวภาพ รวมถึงแก้ไขกฏหมายด้านสิทธิบัตรและระบบการคุ้มครอง ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (CIPC) แห่งสภาหอการค้าสหรัฐฯ (US Chamber of Commerce) ได้ประกาศรายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (International IP Index) ฉบับที่ 7 ซึ่งไต้หวันได้คะแนนรวม 28.05 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 20 จากจำนวน 50 เขตเศรษฐกิจที่ทำการสำรวจ ถือเป็นประเทศในอันดับที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียรองจากญี่ปุ่นที่ครองอันดับ 8 สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในอันดับ10 และเกาหลีใต้ ที่ครองอันดับ 13

 

แม้ว่าอันดับของไต้หวันจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว แต่ผลคะแนนรวมกลับสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรและการคุ้มครอง ซึ่งในปัจจัยหลักที่มีคะแนนเต็ม 8 คะแนนนี้ ไต้หวันสามารถทำได้ถึง 7 คะแนน โดยในจำนวนนี้ ปัจจัยย่อยด้านอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร เงื่อนไขของสิทธิบัตร และมาตรฐานการร่างกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตร ต่างก็ได้รับ 1 คะแนนเต็ม

 

เมื่อต้นปีของปีที่ผ่านมา กฎหมายยาฉบับแก้ไขของรัฐบาลก็ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติ พร้อมทั้งประธานาธิบดีได้ลงนามให้บังคับใช้ โดยมีการแก้ไขในส่วนของระบบเชื่อมโยงสิทธิบัตร อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยาและชีววิทยาศาสตร์ของไต้หวัน โดยในร่างแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรได้เสนอให้ขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบ จาก 12 ปีเป็น 15 ปี เพื่อให้การคุ้มครองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ในด้านนวัตกรรมและการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของธุรกิจกลางและขนาดย่อม กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ได้วางมาตรการกระตุ้น โดยการลดหย่อนภาษีและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ธุรกิจกลางและขนาดย่อม รวมทั้งจัดหลักสูตรอบรมในนิคมอุตสาหกรรม หรือจัดการฝึกอบรมด้านทรัพย์สินทางปัญหาแบบเฉพาะรายให้กับธุรกิจกลางและขนาดย่อม

 

ทั้งนี้ รายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ได้จัดทำการสำรวจด้านสภาพการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันของ 50 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมูลค่ารวมของผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP) ของประเทศเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 90% ของโลก ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการสำรวจในรายงานแบ่งออกเป็น 8ปัจจัยหลัก และ 45ปัจจัยย่อย เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้าและการบังคับใช้กฏหมาย เป็นต้น