New Southbound Policy Portal

ครบรอบ 25 ปีแห่งความร่วมมือทางอวกาศระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ศูนย์ดาราศาสตร์จัดแสดงโมเดลดาวเทียม FORMOSAT-7

นิทรรศการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ เปิดตัวแล้วที่พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ไทเป(Taipei Astronomical Musuem) เมื่ัอวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมานี้  ภาพถ่ายโมเดลดาวเทียม FORMOSAT-7 ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการดังกล่าว สำนักข่าว CNA วันที่ 26 ก.พ. 62

นิทรรศการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ เปิดตัวแล้วที่พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ไทเป(Taipei Astronomical Musuem) เมื่ัอวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมานี้ ภาพถ่ายโมเดลดาวเทียม FORMOSAT-7 ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการดังกล่าว สำนักข่าว CNA วันที่ 26 ก.พ. 62

สำนักข่าว CNA วันที่  26  ก.พ. 62

เนื่องในวาระครบรอบ 40 ปี “กฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน” ไต้หวันและสหรัฐฯ ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์และอวกาศ นายเฉินเหลียงจี รมว.วิทยาศาตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่โครงการสร้างดาวเทียม FORMOSAT-1 ในปี 1994 และภายในสิ้นปีนี้ ดาวเทียม FORMOSAT-7 มีกำหนดการปล่อยสู่วงโคจร นับเป็นการก้าวไปสู่หลักชัยครั้งสำคัญ

 

นิทรรศการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ ว่าด้วยอวกาศและดาราศาสตร์ เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ไทเป(Taipei Astronomical Musuem) โดยมี Brent Christensen ผู้อำนวยการสถาบันอเมริกาในไต้หวัน (American Institute in Taiwan) นายเลี่ยวจวิ้นจื้อ ประธานสถาบันวิจัยแห่งชาติ (Academic Sinica) นายเฉินเหลียงจี รมว.เทคโนโลยี นายเก่าจงซิง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงซาน (National Chung-Shan Institute of Science & Technology) และนายเผิงเจิ้นเซิง รองผู้ว่าการกรุงไทเป ร่วมพิธีเปิดงาน

 

ในงานมีการจัดแสดง โมเดลจรวดส่งดาวเทียม FORMOSAT-7 ที่มีขนาดความยาวกว่า 7 เมตร และชิ้นส่วนต่างๆของดาวเทียม และยังมีเครื่องมือจำลองอย่าง กล้องเทเลสโคป (Telescope) เครื่องมือในการตรวจหาร่องรอยของปฏิสสารในอวกาศ (Alpha Magnetic Spectrometer, AMS ) เป็นต้น

 

นายเฉินเหลียงจีกล่าวว่า ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน – สหรัฐฯ โดยเฉพาะด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นสุดยอด สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนที่มีความชำนาญการมากที่สุดของไต้หวัน พิธีเปิดนิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศในวันนี้ ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ

 

นายเฉินเหลียงจี ระบุว่า ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯเริ่มขึ้นตั้งแต่โครงการสร้างดาวเทียมFORMOSAT-1 ในปี 1994 ในช่วงเวลานั้น ห้องโครงการอวกาศแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ National Space Organization, NSPO) ได้ส่งบุคลากร 28 คนไปเข้ารับการอบรม และเข้าร่วมในการพัฒนา ออกแบบ ผลิต ตรวจสอบและศึกษากระบวนการควบคุม จากบริษัทTRW ของสหรัฐฯ

 

ดาวเทียม FORMOSAT-1ได้ถูกนำขึ้นสู่วงโคจร โดยจรวด ATHENA-1/LMLV1 ของ ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) บริษัทด้านอากาศยานดาวเทียมของสหรัฐฯ เมื่อช่วงเดือน ม.ค. ปี 1999

 

นายเฉินเหลียงจีแถลงว่า ต่อมาได้พัฒนา FORMOSAT-2 ขึ้น ซึ่งก็คือดาวเทียมที่สามารถประยุกต์รับการควบคุมจากพื้นโลกได้ ห้องโครงการอวกาศแห่งชาติและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ ร่วมมือกันคิดค้นเครื่องมือจับภาพฟ้าแลบเหนือชั้นบรรยากาศ (The Imager for Sprites and Upper Atmospheric Lightning , ISAUAL) หนึ่งในชิ้นส่วนดาวเทียมดังกล่าว นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมของ FORMOSAT-2 ยังเป็นตัวช่วยที่สำคัญเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นบนพื้นโลก อาทิ ในเดือน ธ.ค. ปี 2007  ตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ ภาพถ่ายดาวเทียม FORMOSAT-2 จับภาพตำแหน่งของต้นเพลิงและพื้นที่เกิดเหตุที่ได้รับผลกระทบ มีส่วนช่วยเหลือประชาชนในภัยพิบัติครั้งนี้ ภายหลัง FORMOSAT-5 ซึ่งเข้ามารับหน้าที่ต่อจาก FORMOSAT-2  ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX เมื่อเดือนส.ค. ปี 2017

 

ท้ายสุด นายเฉินเหลียงจีกล่าวว่า ดาวเทียม FORMOSAT-7 ที่กำลังจะทำการปล่อยขึ้นสู่อวกาศ เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยร่วมมือกับสหรัฐฯ ถือเป็นอีกก้าวใหญ่แห่งความสำเร็จ ดาวเทียมดังกล่าวจะทำหน้าที่แทน FORMOSAT-3 และจะกลายเป็นเครื่องวัดอุณหภมิที่แม่นยำที่สุดในชั้นอวกาศ