New Southbound Policy Portal

Paul Ryan อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เข้าร่วมหารือกับปธน.ไช่ฯ ผู้นำไต้หวัน คาดหวังความสัมพันธ์ไต้หวัน – สหรัฐฯ ก้าวไปอีกระดับ

ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (ขวา) ได้ให้การต้อนรับ Mr. Paul Ryan อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (ซ้าย) พร้อมทั้ง กล่าวขอบคุณ Mr. Ryanที่เป็นผู้นำคณะกรรมาธิการผ่านร่างญัตติและร่างกฎหมายหลายประการที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา สำนักข่าว CNA วันที่ 15 เม.ย. 62

ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (ขวา) ได้ให้การต้อนรับ Mr. Paul Ryan อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (ซ้าย) พร้อมทั้ง กล่าวขอบคุณ Mr. Ryanที่เป็นผู้นำคณะกรรมาธิการผ่านร่างญัตติและร่างกฎหมายหลายประการที่เป็นมิตรต่อไต้หวัน ในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา สำนักข่าว CNA วันที่ 15 เม.ย. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 15 เม.ย. 62
 

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน แห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับ Paul Ryan อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ โดยระหว่างการสนทนา Mr. Ryan ได้กล่าวว่า ชาวอเมริกันมีความรู้สึกที่ดีต่อไต้หวันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างมีค่านิยมร่วมกัน โดยมีกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน(TRA) เป็นตัวสะท้อนถึงค่านิยมที่มีร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ยังเผยว่า ในด้านการค้าระหว่างประเทศและความมั่นคงในประเทศ ไต้หวันและสหรัฐฯ ยังสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ให้แนบแน่นยิ่งขึ้นไปได้


 

ปีนี้ถือเป็นวาระครบรอบ 40 ปีแห่งกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน และเป็นปีครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) เมื่อเช้าวันที่ 15 เม.ย. ปธน.ไช่ฯ ได้ให้การต้อนรับ Mr. Paul Ryan อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการของสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลอง


 

Mr. Ryan กล่าวขณะเข้าเยี่ยมคารวะปธน.ไช่ฯ ว่า ตนเป็นตัวแทนของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และรัฐบาลทรัมป์ นำคณะเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน พร้อมย้ำว่าเสียงสนับสนุนต่อกฎหมายความสัมพันธ์ในสภาคองเกรส ยังคงมีความหนักแน่นไม่ด้อยไปกว่าเมื่อครั้งที่ผ่านญัตติกฎหมายฯ เมื่อ 40 ปีที่แล้วเลย


 

โดย Mr. Ryan ยังแถลงว่า สหรัฐฯ และไต้หวันมีเป้าหมายร่วมกันหนึ่งประการ คือต้องการกระตุ้นให้เกิดอิสระและเสรีภาพในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก รวมไปถึงความคืบหน้าด้านการค้าระหว่างประเทศ การปกครองโดยกฎหมาย และประชาธิปไตย ซึ่งกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน ก็คือตัวสะท้อนค่านิยมร่วมกันเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม ในด้านการค้าระหว่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ ไต้หวันและสหรัฐฯ ยังสามารถร่วมมือกันพัฒนาความสัมพันธ์ให้แนบแน่นยิ่งขึ้นไปได้


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวว่า กฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน ถือเป็นรากฐานสำคัญของการแลกเปลี่ยนด้านการค้าและความมั่นคงของไต้หวันกับสหรัฐฯ


 

โดยปธน.ไช่ฯ ยังเผยว่า “ สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนไต้หวัน โดยไม่มีการแบ่งแยกฝักฝ่ายและพรรคการเมืองอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก” โดยเฉพาะในระหว่างการดำรงตำแหน่งของ Mr. Ryan คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้มีมติผ่านร่างกฎหมายและร่างญัตติเพื่อสนับสนุนไต้หวันหลายฉบับ รวมไปถึง “กฎหมายการเดินทางไปไต้หวัน” (Taiwan Travel Act) ที่ได้ผ่านญัตติเมื่อปีที่แล้ว และได้เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วางแผนในการร่างกฎหมาย เพื่อช่วยให้ไต้หวันได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมในองค์การอนามัยโลกในฐานะผู้สังเกตการณ์อีกครั้ง ซึ่งเมื่อสองปีที่แล้ว ทางสภาฯ ยังผ่านญัตติสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมในองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (INTERPOL) พลังสนับสนุนเหล่านี้ต่างเป็นกำลังใจให้ไต้หวันยืนหยัดในการสร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาคมโลกต่อไป


 

นอกจากนี้ ปธน.ไช่ฯ ยังมั่นใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ จะแนบแน่นขึ้นกว่าเดิม และจะร่วมส่งอิทธิพลเชิงบวกในภูมิภาค บนพื้นฐานของความร่วมมือที่มั่นคง เพื่อสร้างสันติภาพ ความรุ่งเรือง และความเป็นมีอิสระและเสรีภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก


 

ปธน.ไช่ฯ ยังคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มิตรสหายชาวอเมริกันจะเข้าใจว่า ไต้หวันเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่สามารถเชื่อถือได้ การคงอยู่ของไต้หวัน ก่อให้เกิดความสมดุลของภูมิภาคและการพัฒนาของประชาธิปไตย โดยปิดท้ายด้วยข้อสรุปที่ว่า “พวกเราเป็นพลังบวกที่ดีและขาดไม่ได้ของภูมิภาค”