New Southbound Policy Portal

ผู้สืบทอดคำสอนขงจื๊อแห่งศตวรรษ กิจกรรมรำลึกครบรอบ 100 ปี ข่งเต๋อเฉิง

นิทรรศการ 100 ปี ข่งเต๋อเฉิง จัดขึ้นที่หอศิลป์ป๋ออ้าย ในอนุสรณ์สถานดร.ซุนยัดเซ็น โดยนำหนังสือและศิลปวัตถุล้ำค่าต่างๆ ออกจัดแสดงจำนวนมาก

นิทรรศการ 100 ปี ข่งเต๋อเฉิง จัดขึ้นที่หอศิลป์ป๋ออ้าย ในอนุสรณ์สถานดร.ซุนยัดเซ็น โดยนำหนังสือและศิลปวัตถุล้ำค่าต่างๆ ออกจัดแสดงจำนวนมาก

 

ข่งเต๋อเฉิง (孔德成) อดีตประธานสภาสอบคัดเลือกของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ทายาทสายตรงรุ่นที่ 77 แห่งตระกูลขงจื๊อ ผู้สืบทอด “เหยียนเซิ่งกง” (衍聖公) คนสุดท้าย ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ที่ยกย่องความยิ่งใหญ่ของต้นตระกูลขงจื๊อจากฮ่องเต้ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเฟิ่งซื่อกวน (奉祀官) หรือประธานพิธีบวงสรวงบรมครูขงจื๊อเป็นคนแรก ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายมาอย่างโชกโชน ประกอบกับเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวลัทธิคำสอนของขงจื๊อ เรื่องราวของท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นการบันทึกระดับตำนานแห่งศตวรรษ

 

กิจกรรมรำลึก 100 ปี และนิทรรศการข่งเต๋อเฉิง จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2562 ณ  หอประชุมใหญ่ บริษัทการปิโตรเลียมไต้หวัน (CPC Corporation) และหอศิลป์ป๋ออ้ายหรือหอศิลป์แห่งภราดรภาพในอนุสรณ์สถานดร.ซุนยัดเซ็น ในกรุงไทเป

กิจกรรมรำลึกในครั้งนี้ได้จัดทำ “หนังสือข่งเต๋อเฉิง ฉบับรวมเล่ม” รวบรวมวรรณกรรม งานเขียน บันทึกประจำวัน และหนังสือด้านกฎหมายต่างๆ ไว้ด้วยกัน นับเป็นหนังสือชุดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบประมาณกว่าสิบล้านเหรียญไต้หวัน เพื่อถ่ายทำสารคดีชุด “孔德成傳記紀錄片:風雨一盃酒” สารคดีชีวประวัติของข่งเต๋อเฉิง โดยเดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่จริงในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญยิ่งในการวิจัยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

 

นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำวิทยานิพนธ์ซึ่งเขียนด้วยลายมือของข่งเต๋อเฉิง จัดแสดงต่อสาธารณชน โดยเป็นผลงานที่เขียนที่นครฉงชิ่งเมื่อปีค.ศ.1940นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำวิทยานิพนธ์ซึ่งเขียนด้วยลายมือของข่งเต๋อเฉิง จัดแสดงต่อสาธารณชน โดยเป็นผลงานที่เขียนที่นครฉงชิ่งเมื่อปีค.ศ.1940

ทายาทสายตรงถือกำเนิดขึ้นในตำหนักขงจื๊อ

แสงจากดวงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวกำลังสาดส่อง สร้างความอบอุ่นไปทั่วท้องถนนซงเหริน กลางกรุงไทเป อันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ภายในหอประชุมใหญ่ของบริษัท CPC Corporation คราคร่ำไปด้วยบุคคลสำคัญมากมาย อาทิ อดีตประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว แห่งไต้หวัน สาธารณรัฐจีน, เติ้งเจียจี รองผู้ว่าการกรุงไทเป, หลินชิงฉี อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, หลันซื่อชง ผู้อำนวยการสำนักการปกครอง กรุงไทเป และตัวแทนสำนักลัทธิขงจื๊อจากประเทศต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนทายาทตระกูลข่งหลายร้อยคนจากทั่วโลก ที่พากันเดินทางมาร่วมรำลึก ข่งเต๋อเฉิง บัณฑิตแห่งศตวรรษ ท่ามกลางบรรยากาศภายในงานที่ดูเคร่งขรึมแต่อบอวลไปด้วยความอบอุ่น    

ด้านอนุสรณ์สถานดร.ซุนยัดเซ็น ได้จัดนิทรรศการพิเศษขึ้นที่หอศิลป์ป๋ออ้าย ภายในนิทรรศการได้นำเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ มาจัดแสดงจำนวนมาก อาทิ ภาพเขียนตัวอักษรศิลป์คำว่า “萬世師表” อันหมายถึง บรมครูผู้เกรียงไกร ซึ่งเป็นภาพเขียนตัวอักษรศิลป์จากลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีที่ตระกูลข่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (กู้กง) ของไต้หวันมาจัดแสดงด้วย นอกจากนี้ยังมีร่างเอกสารหรือหนังสือที่มีคุณค่าจำนวนมาก และบันทึกช่วงอพยพย้ายไปยังนครฉงชิ่ง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการจัดแสดงสิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์อื่นๆ มากมาย ทั้งข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น หนังสือรับรอง, ตราประทับส่วนราชการ, เหรียญเกียรติยศ, ภาพถ่ายอันล้ำค่า และหนังสือกฎหมายต่างๆ เป็นต้น   

เสื้อคลุมผ้าไหมลายพญางูห้าเล็บ สันนิษฐานว่าได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิกวงซวี่ในราชวงศ์ชิง ชุดดังกล่าวจัดแสดงคู่กับสายสร้อยประคำราชสำนัก ทำจากไม้ต้นโพธิ์ หยก และทัวร์มาลีน และผ้าปักลายบอกขุนนางระดับชั้นสูงสุดฝ่ายบุ๋นของราชสำนัก แสดงให้เห็นถึงการยกย่องและให้เกียรติในตระกูลข่งและบิดาของข่งเต๋อเฉิง ซึ่งก็คือข่งลิ่งหยีเป็นอย่างสูง

สารคดีชีวประวัติข่งเต๋อเฉิงถูกนำมาฉายในงานรำลึกและในนิทรรศการพร้อมกัน โดยถ่ายทอดเรื่องราวในช่วงศตวรรษที่แล้วราวปีที่ 9 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐจีน (ค.ศ.1920) ในวันที่ 4 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ ขณะนั้นตำหนักขงจื๊อ ในเมืองชวีฟู่ มณฑลซานตง มีการป้องกันอย่างเข้มงวดทั้งภายในและภายนอกของตำหนัก ทุกคนต่างเฝ้ารออย่างสงบ ในที่สุดหนูน้อยข่งเต๋อเฉิงก็ร้องไห้ลืมตาดูโลก กลายเป็นทายาทผู้รับหน้าที่สืบทอดสายเลือดตระกูลขงจื๊อที่มีมายาวนาน 2,500 ปี

ข่งฉุยฉาง ทายาทรุ่นที่ 79 ผู้สืบเชื้อสายตระกูลขงจื๊อ รับตำแหน่งเฟิ่งซื่อกวน ประธานประกอบพิธีบวงสรวงบรมครูขงจื๊อ ขณะกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันจัดงานรำลึกข่งเต๋อเฉิงในครั้งนี้ โดยพร้อมจะรับภาระหน้าที่ในการสืบทอดแนวความคิดของปรัชญาขงจื๊อให้ดำรงคงอยู่สืบไปข่งฉุยฉาง ทายาทรุ่นที่ 79 ผู้สืบเชื้อสายตระกูลขงจื๊อ รับตำแหน่งเฟิ่งซื่อกวน ประธานประกอบพิธีบวงสรวงบรมครูขงจื๊อ ขณะกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันจัดงานรำลึกข่งเต๋อเฉิงในครั้งนี้ โดยพร้อมจะรับภาระหน้าที่ในการสืบทอดแนวความคิดของปรัชญาขงจื๊อให้ดำรงคงอยู่สืบไป

เอกสารสำคัญที่นำมาจัดแสดงเป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนอีกชิ้นหนึ่ง คือ หนังสือคำสั่งสีแดง/เหลืองของสวีซื่อชาง (徐世昌) ประธานาธิบดีในยุครัฐบาลเป่ยหยาง เป็นคำสั่งแต่งตั้งตำแหน่งเหยียนเซิ่งกงให้แก่ข่งเต๋อเฉิง ซึ่งในขณะนั้น คุณชายน้อยในชุดผ้าอ้อมท่านนี้ เกิดมาได้เพียงหนึ่งร้อยวันก็ได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ที่ยกย่องความยิ่งใหญ่ของต้นตระกูลขงจื๊อ และต้องแบกรับภาระหน้าที่อันหนักอึ้งของตระกูลข่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ข่งเต๋อเฉิง ผู้มีความแน่วแน่ท่ามกลางไฟสงคราม

ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือหลักฐานที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนมอบให้แก่ข่งเต๋อเฉิงเป็นกรณีพิเศษ โดยในปีค.ศ. 1935 ข่งเต๋อเฉิงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ต้าเฉิงจื้อเซิ่งเซียนซือเฟิ่งซื่อกวน” หรือประธานพิธีบวงสรวงขงจื๊อ บรมครูผู้เกรียงไกร โดยได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวัย 15 ปีที่นครหนานจิง

ทะเบียนสมรสที่ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดียิ่งฉบับนี้ เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่บันทึกเรื่องราวการสมรสของข่งเต๋อเฉิง เขาได้เข้าพิธีวิวาห์ท่ามกลางไฟสงครามลุกโชน ทำให้มีความสุขและอบอุ่นจากการใช้ชีวิตคู่ จิตใจไม่เงียบเหงาว้าเหว่อีกต่อไป

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปีค.ศ.1938 ขณะที่ข่งเต๋อเฉิงมีอายุ 18 ปี เขาได้รับคำสั่งให้เดินทางลงใต้ในทันที ขณะที่ซุนฉีฟางผู้เป็นภรรยาท้องแก่ใกล้คลอด ทำให้เขาตัดสินใจลำบากยิ่งว่า จะเดินทางลงใต้ตามคำสั่งหรือไม่ แต่ความกังวลที่ตกเป็นหุ่นเชิดให้กับผู้อื่น ทำให้เขาลังเลไม่ได้ที่จะต้องตัดสินใจออกเดินทางในคืนนั้นทันที และหลังจากนั้นเพียงหนึ่งชั่วยาม กองทัพทหารญี่ปุ่นได้บุกเข้ามาถึงเมืองชวีฟู่  การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวทำให้บันทึกหน้าประวัติศาสตร์แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

คณะของสองสามีภรรยาข่งเต๋อเฉิง อาจารย์ลวี่จินซัน และหลีปิ่งหนาน เลขานุการ รวม 8 คน ตกอยู่ในอาการหวาดกลัวและหวั่นวิตกตลอดการเดินทาง  3 วัน หลังจากนั้นพวกเขาเดินทางถึงเมืองฮั่นโข่ว ทั่วแผ่นดินจีนตกอยู่ท่ามกลางสงครามเป็นเวลามากกว่า 5 วัน และในตอนนั้นเองที่ข่งเต๋อเฉิงได้ต้อนรับการถือกำเนิดของบุตรสาวคนโตชื่อ ข่งเหวยเอ้อ 

หลังอพยพมาอยู่ยังนครฉงชิ่ง บ้านพักถูกโจมตีด้วยระเบิดถึง 2 ครั้ง จนกระทั่งย้ายเข้าไปอยู่ในภูเขาเกอเล่อซาน จึงได้อยู่อย่างเงียบสงบช่วงหนึ่ง และบุตรชายของเขาคือข่งเหวยอี้ ได้ถือกำเนิดที่นี่เมื่อปีค.ศ.1939

 

ภาพวาด “คฤหาสน์อีหลาน” หนึ่งในผลงานของหวังเซี่ยนถัง โดยมีกวีที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้เขียนบทกลอนลงบนภาพวาดดังกล่าว เช่น ไถจิ้งหนง จางจิ้ง ไต้จวินเหริน ชวีวั่นหลี่ หลีปิ่งหนาน และจ้าวอาหนาน เป็นต้น ความสวยงามของภาพสะกดให้ผู้คนหยุดชื่นชมและดื่มด่ำความงดงาม (คฤหาสน์อีหลาน เป็นคฤหาสน์ที่ข่งเต๋อเฉิงเคยพำนักอาศัยระหว่างปีค.ศ.1939-1946)ภาพวาด “คฤหาสน์อีหลาน” หนึ่งในผลงานของหวังเซี่ยนถัง โดยมีกวีที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้เขียนบทกลอนลงบนภาพวาดดังกล่าว เช่น ไถจิ้งหนง จางจิ้ง ไต้จวินเหริน ชวีวั่นหลี่ หลีปิ่งหนาน และจ้าวอาหนาน เป็นต้น ความสวยงามของภาพสะกดให้ผู้คนหยุดชื่นชมและดื่มด่ำความงดงาม (คฤหาสน์อีหลาน เป็นคฤหาสน์ที่ข่งเต๋อเฉิงเคยพำนักอาศัยระหว่างปีค.ศ.1939-1946)

พลัดถิ่นแต่ไม่พลัดบ้าน

ข่งเต๋อเฉิงพูดถึงชีวิตของท่านแบบติดตลกว่า ชั่วชีวิตนี้ไม่เคยเข้าเรียนในโรงเรียนเลย โดยหลังจากที่ท่านย้ายมาอาศัยในไต้หวันแล้ว มหาวิทยาลัยในเอเชียหลายแห่งได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับท่าน อาทิ Sungkyunkwan University เกาหลีใต้, Reitaku University ญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University) เป็นต้น

เมื่อครั้งที่ท่านยังเล่าเรียนอยู่ในตำหนักขงจื๊อ ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูอาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน อาทิ หวังหมิ่นหัว, จวงไกหลัน, อู๋ป๋อเซียว, จันเฉิงชิว และหลังจากที่อพยพไปพำนักอาศัยอยู่ที่เขาเกอเล่อซาน ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนจากลวี่จินซันและติงเหวยเฝิน ทำให้มีวิชาความรู้พื้นฐานในศาสตร์ต่างๆ มากมาย ทั้งทางวิชาการ ดนตรี และภาษา เช่น การศึกษาคัมภีร์โบราณ, อักษรศาสตร์, สัทวิทยาภาษาจีนโบราณ, อักษรบนเครื่องทองสัมฤทธิ์, การเขียนพู่กัน, ภาษาอังกฤษ และกู่ฉิน เครื่องดนตรีจีนโบราณ เป็นต้น เมื่อปีค.ศ.1948 ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา เพื่อรับแนวคิดการศึกษาวิชาความรู้แบบตะวันตก และยอมรับในคุณค่าของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ระหว่างนั้นยังได้รับคำแนะนำจากฟู่ซือเหนียน ปัญญาชนผู้มีความรู้และเป็นที่เคารพยกย่องในความมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ในช่วงชีวิตของการเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ข่งเต๋อเฉิงได้ใช้เงินส่วนตัวถ่ายทำภาพยนตร์ขาวดำเรื่อง “พิธีกรรม และพิธีการแต่งงาน” ทะลุกรอบจำกัดของตนเองและแหวกออกจากสิ่งเก่าๆ โดยลูกศิษย์ผู้ที่รับบทเป็นนักแสดงภาพยนตร์ในขณะนั้น ได้มาเข้าร่วมงานนิทรรศการดังกล่าว เพื่อรำลึกถึงความทรงจำในอดีตร่วมกัน

ข่งเต๋อเฉิงเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนอักขระจีนโบราณทั้ง 5 แบบ ฝากผลงานเขียนไว้มากมาย ซึ่งหนังสือเหล่านี้ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญในงานนิทรรศการครั้งนี้ด้วย

ในฐานะผู้สืบเชื้อสายของตระกูลขงจื๊อ ข่งเต๋อเฉิงเป็นคนที่นอบน้อมถ่อมตนและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีมาตั้งแต่วัยเด็ก ประพฤติปฏิบัติตนโดยยึดมั่นความถูกต้อง จริงใจ คุณธรรม และความรักความสามัคคีในครอบครัว เป็นกฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิตตลอดมา สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ นิทรรศการครั้งนี้ได้นำภาพเขียนตัวอักษรศิลป์คำว่า “忠信篤敬” อันหมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี และการเคารพนับถือ มาจัดแสดงด้วย ซึ่งคำดังกล่าวถือเป็นข้อคิดเตือนใจที่ลูกหลานตระกูลข่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในวงศ์ตระกูล 

ช่วงระหว่างที่ข่งเต๋อเฉิงต้องผจญกับมรสุมชีวิตต่างๆ นานา ท่านแสดงบทบาทในฐานะนักวิชาการเพียงอย่างเดียว แม้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ รวมทั้งดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น ประธานสภาสอบคัดเลือก ที่ปรึกษาทำเนียบประธานาธิบดี ตลอดจนตำแหน่งทูตพิเศษในฐานะผู้สืบเชื้อสายขงจื๊อ เป็นต้น แต่ท่านยังคงยึดมั่นในหลักปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา

ในระยะแรกที่อพยพมาพำนักอยู่ในไต้หวัน ท่านได้เดินทางไปเป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวงบรมครูขงจื๊อในประเทศต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ท่านยังมีโอกาสสนทนากับสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในปีค.ศ.1984 การพบกันของบุคคลสำคัญจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในครั้งนั้น กลายเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวขานกันมากในรอบศตวรรษ

ปีค.ศ.1949 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนในขณะนั้นได้ขนย้ายโบราณวัตถุและสมบัติต่างๆ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (กู้กง) หอสมุดกลางหนานจิง และพิพิธภัณฑ์หนานจิงมายังไต้หวัน และนำไปเก็บรักษายังคลังเก็บวัตถุโบราณที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณอู้ฟงในปีค.ศ.1955 โดยศิลปวัตถุล้ำค่าต่างๆ ของตำหนักขงจื๊อจากเมืองชวีฟู่ก็ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ยังสถานที่เดียวกัน ภายหลังมีการปรับหน่วยงานทั้งสามแห่งรวมเป็นสำนักบริหารพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (กู้กง) โดยข่งเต๋อเฉิงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการในปีถัดมา

ระหว่างดำรงตำแหน่ง ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ จัดแยกหมวดหมู่ บันทึกประวัติความเป็นมา และขั้นตอนการผลิตของศิลปวัตถุต่างๆ รวมทั้งนำวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา สร้างความตื่นตาตื่นใจ และส่งผลให้สหรัฐอเมริกาจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (กู้กง) ย่านไว่ซวงซี เขตซื่อหลิน ในกรุงไทเปอีกด้วย

 

ข่งเต๋อเฉิงจะมีหนังสือติดมืออยู่ตลอดเวลา เป็นคนเข้มงวดกับตนเองและขยันหมั่นเพียรเรียนรู้ตลอดชีวิตของท่าน (ภาพ: หลี่เผยฮุย)ข่งเต๋อเฉิงจะมีหนังสือติดมืออยู่ตลอดเวลา เป็นคนเข้มงวดกับตนเองและขยันหมั่นเพียรเรียนรู้ตลอดชีวิตของท่าน (ภาพ: หลี่เผยฮุย)

ครูผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อลูกศิษย์

สมาคมบรมครูขงจื๊อจงหัว กองการปกครอง กรุงไทเป ศาลเจ้าขงจื๊อกรุงไทเป และอนุสรณ์สถานดร.ซุนยัดเซ็น ได้ร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของข่งเต๋อเฉิงผ่านงานนิทรรศการรำลึกในครั้งนี้

ข่งเต๋อเฉิงเคยเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University) มหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan Normal University) มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงซิง (National Chung Hsing University) มหาวิทยาลัยฝู่เหริน (Fu Jen Catholic University) และมหาวิทยาลัยตงอู๋ (Soochow University) โดยสอนในวิชา “ซานหลี่” หรือธรรมเนียมปฏิบัติโบราณ 3 ประการ วิชาอักษรโบราณจินเหวิน และอักษรบนเครื่องสัมฤทธิ์ยุคราชวงศ์อิ๋นและราชวงศ์โจว บุคลิกเคร่งขรึมแต่เปี่ยมด้วยความเมตตาเป็นภาพลักษณ์ของข่งเต๋อเฉิง ที่เหล่าลูกศิษย์หลายๆ คน อย่าง เจิงหย่งอี้ จังจิ่งหมิง หวงฉี่ฟาง และเย่กั๋วเหลียง ยังคงรำลึกเสมอมา

ข่งเต๋อเฉิง เป็นคนปฏิบัติต่อตนเองด้วยความเข้มงวดเคร่งครัด แต่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความอะลุ่มอล่วยให้อภัย ท่านมักจะเชิญนักเรียนที่ฐานะครอบครัวไม่ดีนักมารับประทานอาหารร่วมกันหลังเลิกเรียน เพื่อให้พวกเขาได้รับประทานอาหารที่ดีและอิ่มท้อง แต่กับครอบครัวของท่านเองแล้ว กลับมัธยัสถ์เป็นอย่างมาก บางมื้อก็รับประทานหมั่นโถวเพียงชิ้นเดียว 

  

ในปีค.ศ.1984 ข่งเต๋อเฉิงเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในยุโรปกว่า 8 ประเทศ และได้สนทนากับสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การพบกันของบุคคลสำคัญจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในครั้งนั้น กลายเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวขานในรอบศตวรรษเลยทีเดียว (ภาพจาก สมาคมบรมครูขงจื๊อ)ในปีค.ศ.1984 ข่งเต๋อเฉิงเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในยุโรปกว่า 8 ประเทศ และได้สนทนากับสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การพบกันของบุคคลสำคัญจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในครั้งนั้น กลายเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวขานในรอบศตวรรษเลยทีเดียว (ภาพจาก สมาคมบรมครูขงจื๊อ)

ชีวิตที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนของข่งเต๋อเฉิง

บุตรชายคนโตของข่งเต๋อเฉิงลาจากโลกไปเมื่อท่านอายุได้ 69 ปี นับเป็นความโศกเศร้าที่สร้างความเจ็บปวดให้กับท่านอย่างมากกับการจากไปก่อนวัยอันควรของลูกชาย ประสมประสานกับชะตาชีวิตอันลำเค็ญ และบรรพบุรุษถูกเหยียบย่ำ ยิ่งทำให้เขายากที่จะกลั้นน้ำตาที่ทะลักออกมาด้วยความเศร้าระทมต่อหน้าญาติมิตรในครอบครัว

บันทึกประจำวันเล่มหนึ่งที่ถูกนำมาจัดแสดงภายในงาน ตัวหนังสือเขียนด้วยลายมือค่อนข้างหวัด ได้บันทึกเรื่องราวของพี่สาวคนโตผู้ลาจากโลกนี้ไป ความโศกเศร้าอาดูรที่เกิดจากการสูญเสียถูกถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือได้อย่างหมดจด  นอกจากนี้ยังมี “ตุ้ยเหลียน” หรือคำโคลงคู่ ซึ่งเป็นของขวัญที่ท่านมอบให้กับพี่สาวคนที่สองหลังจากกันมานานกว่า 42 ปี และได้กลับมาพบกันอีกครั้ง คำโคลงคู่ที่ว่าคือ 風雨一盃酒,江山萬里心 (เฟิงอวี่อี้เปยจิ่ว เจียงซันวั่นหลี่ซิน) สื่อความหมายถึงความคิดถึงบ้านเกิดและพี่สาวที่ต้องพลัดพรากจากกันเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตของข่งเต๋อเฉิง

ข่งเต๋อเฉิง ผู้เชี่ยวชาญด้านรีต ธรรมเนียมปฏิบัติโบราณของจีน ได้ใช้ชีวิตของท่านเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พร้อมๆ กับการปฏิบัติตนอย่างมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ และเพื่อประโยชน์ของประชาชน

หลังจากที่ข่งเต๋อเฉิงถึงแก่อสัญกรรมได้สามปี ข่งฉุยฉางหลานคนโตที่สืบเชื้อสายของตระกูลข่ง ทายาทรุ่นที่ 79 เข้ารับหน้าที่ประธานประกอบพิธีบวงสรวงบรมครูขงจื๊อคนต่อไป สืบสานอุดมการณ์ของข่งเต๋อเฉิง ข่งฉุยฉางก้าวไปบนหนทางเส้นเดียวกับที่ข่งเต๋อเฉิงเคยก้าวผ่านมานานกว่า 60 ปี ครั้งสุดท้ายที่เขาเดินผ่านทางแห่งเทพหน้าศาลเจ้าขงจื๊อที่มีความยาวกว่า 1,300 เมตร เสียงระฆังที่ดังก้องกังวาน เสมือนแนวความคิดของปรัชญาขงจื๊อที่สอดคล้องกับยุคสมัยจะได้รับการสานต่อไปตราบนานเท่านาน.