New Southbound Policy Portal

การบรรจบพบกันของตะวันตกกับตะวันออก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านจีนวิทยาระหว่างประเทศ

หอสมุดแห่งชาติ (National Central Library : NCL)

หอสมุดแห่งชาติ (National Central Library : NCL)

 

ณ มุมหนึ่งของสี่แยกถนนจงซานหนานตัดกับถนนซิ่นอี้ ใจกลางกรุงไทเป มีอาคารสีดำสง่างามหลังหนึ่งตั้งตระหง่านอยู่อย่างเงียบสงบ ต่างจากอนุสรณ์สถานเจียงไคเช็ค (Chiang Kai-shek Memorial Hall) ที่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามซึ่งมีเสียงจอแจของผู้คนอยู่ตลอดเวลา ใครจะคิดว่าในอาคารสีดำทะมึนหลังนี้คือสถานที่เก็บรักษาหนังสือโบราณมากมายที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนรวบรวมมาจากสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศเป็นต้นมา และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ยังมีภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งก็คือ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านจีนวิทยาระหว่างประเทศ ทำให้อาคารหลังนี้ซึ่งเปรียบเสมือนไข่มุกสีดำล้ำค่าและดูลึกลับ กลายเป็นขุมทรัพย์แห่งแนวคิดทางปรัชญาและวัฒนธรรมที่ประเมินค่าไม่ได้

 

ห้องข้อมูลของศูนย์วิจัยจีนวิทยา เป็นแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมวารสารและหนังสือด้านจีนวิทยาฉบับภาษาจีนและวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตที่เป็นภาษาตะวันตกห้องข้อมูลของศูนย์วิจัยจีนวิทยา เป็นแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมวารสารและหนังสือด้านจีนวิทยาฉบับภาษาจีนและวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตที่เป็นภาษาตะวันตก

สั่งสมประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับนานาประเทศนานกว่า 7 ทศวรรษ

ที่นี่คือหอสมุดแห่งชาติ (National Central Library : NCL) หน่วยงานต้นสังกัดของหอสมุดทั่วไต้หวัน ทำหน้าที่จัดพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของสาธารณรัฐจีน รวมทั้งติดต่อแลกเปลี่ยนกับนานาชาติ ตั้งแต่ปีค.ศ.1944  นับได้ว่ามีประสบการณ์ด้านการติดต่อแลกเปลี่ยนกับนานาประเทศมานานกว่า 7 ทศวรรษ  นอกจากนี้ยังเก็บรวบรวมและแลกเปลี่ยนสิ่งพิมพ์กับหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาควิชาการ องค์การระหว่างประเทศ และศูนย์จีนวิทยา 606 แห่ง จาก 87 ประเทศทั่วโลก

ในปีค.ศ.1989 หอสมุดแห่งชาติได้จัดตั้งทุนการศึกษาสำหรับนักวิชาการต่างชาติภายใต้ชื่อ Research Grant Program for Foreign Scholars in Chinese Studies ซึ่งมีศาสตราจารย์และนักศึกษาต่างชาติระดับปริญญาเอกกว่า 450 คนจาก 44 ประเทศ เดินทางมาศึกษาวิจัยในไต้หวัน และยังได้รับมอบหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ให้จัดตั้งและบริหารจัดการ Taiwan Fellowship ตั้งแต่ปีค.ศ.2010 เป็นต้นมา ได้ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยต่างชาติแล้ว 807 คนจาก 74 ประเทศ

คุณเจิงสูเสียน ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติไต้หวัน สมัยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกในรอบกว่า 80 ปีคุณเจิงสูเสียน ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติไต้หวัน สมัยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกในรอบกว่า 80 ปี

จากประสบการณ์ด้านการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่สมบูรณ์พรั่งพร้อม ทำให้ในปีค.ศ.2011 หอสมุดแห่งชาติได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง Resource Point ในต่างประเทศ โดยขณะนั้นรัฐบาลสาธารณรัฐจีนมีความประสงค์ที่จะจัดตั้ง Taiwan Academy ให้เป็น Resource Point ในต่างประเทศเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมจีนที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของไต้หวันให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในสากล

 

เชื้อไฟแห่งการถ่ายทอดวัฒนธรรม

ทำไมต้องจัดตั้ง Resource Point หรือ Taiwan Academy ในต่างประเทศ?

หลังการเคลื่อนไหว 4 พฤษภาคม ปีค.ศ.1919 (五四運動) กระแสตะวันตกโหมกระพือรุนแรงในประเทศจีน จนแทบจะเรียกได้ว่า อ้าแขนรับทุกอย่างจากโลกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น ประชาธิปไตย วิทยาศาสตร์ วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งศิลปะ แต่หารู้ไม่ว่า ความศิวิไลซ์ก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตล้วนต้องผสมผสานและหลอมรวมกันกับหลากหลายสิ่ง จึงจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือบ่มเพาะชีวิตใหม่ อันเป็นวัฏจักรของสรรพสิ่งที่ต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา

วัฒนธรรมก็เช่นเดียวกัน Kristofer Marinus Schipper นักจีนวิทยาชาวสวีเดน เคยกล่าวไว้ว่า “วัฒนธรรมนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนทำให้ก่อเกิดวัฒนธรรม”

เมื่อ 200-300 ปีก่อน หรือราวปลายยุคราชวงศ์หมิงและต้นราชวงศ์ชิง เคยเกิดกระแสความนิยมจีนในยุโรป มิชชันนารีชาวตะวันตก อาทิ Matteo Ricci, Johann Adam Schall von Bell และ Flemish Ferdinand ซึ่งเคยเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในประเทศจีน เนื่องจากพูดภาษาจีนได้คล่องแคล่วจึงเข้าไปมีบทบาทในราชสำนักซึ่งเป็นศูนย์รวมอำนาจของจีน  มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับบรรดาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ของจีนบ่อยครั้ง มิชชันนารีเหล่านี้ได้นำเทคโนโลยีตะวันตกเข้าสู่ประเทศจีน ขณะเดียวกันก็ได้นำคัมภีร์ปรัชญาของจีน อาทิ คัมภีร์หลุนอวี่ของขงจื๊อ (The Analects of Confucius) และคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อ ไปเผยแพร่ในวงสังคมชั้นสูงและหมู่ปัญญาชนในยุโรปด้วย

คุณเจิงสูเสียน ผอ.หอสมุดแห่งชาติไต้หวัน กับ Rado Bohinc (ที่ 1 จากขวา) คณบดี Academy of Social Sciences และ Branka Kalenic Ramsak (กลาง) คณบดี School of Humanities at the University of Ljubljana ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้ง TRCCS ในสาธารณรัฐสโลวีเนีย เมื่อปีค.ศ.2017 นับเป็นการปักหมุดจุดสำคัญของภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (ภาพจาก หอสมุดแห่งชาติ)คุณเจิงสูเสียน ผอ.หอสมุดแห่งชาติไต้หวัน กับ Rado Bohinc (ที่ 1 จากขวา) คณบดี Academy of Social Sciences และ Branka Kalenic Ramsak (กลาง) คณบดี School of Humanities at the University of Ljubljana ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้ง TRCCS ในสาธารณรัฐสโลวีเนีย เมื่อปีค.ศ.2017 นับเป็นการปักหมุดจุดสำคัญของภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (ภาพจาก หอสมุดแห่งชาติ)

สำหรับคำว่า “จีนวิทยา” หรือในที่นี้หมายถึง “วัฒนธรรมจีนที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของไต้หวัน” แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลของชาวจีนเท่านั้น ก็เหมือนกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เป็นขุมทรัพย์แห่งวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกที่เป็นไปอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา กระตุ้นให้ผู้คนปฏิรูปแนวคิดเก่าๆ ที่แข็งกระด้างไร้ความยืดหยุ่น โดยหวังว่าจะสามารถนำมาใช้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และดูเหมือนจะมีความสำคัญมากขึ้นในภาวการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤต “การใช้ AI แทนแรงงานมนุษย์” การก้าวออกจากเกาะกลางทะเลเดินไปสู่เวทีโลก ภารกิจการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน “จีนวิทยา” สู่นานาชาติ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง

 

ความได้เปรียบทางวัฒนธรรมที่ประเมินค่าไม่ได้

ตลอดช่วงเวลานับครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นยุคสงครามเย็น เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาได้เกิดกระแสความนิยมศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเทศจีน ทำให้การศึกษาด้านจีนวิทยาจากเดิมที่เป็นการศึกษาวิจัยคัมภีร์หรือปรัชญาจีนโบราณ ขยายขอบเขตออกไปสู่การวิจัยเกี่ยวกับประเทศจีนและในระดับภูมิภาค ประกอบกับการผงาดขึ้นของเศรษฐกิจจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จีนวิทยาหรือจีนศึกษากลายเป็นการวิจัยข้ามศาสตร์ที่ร้อนแรงที่สุดก็ว่าได้

ปีค.ศ.2018 คุณเจิงสูเสียน ผอ.หอสมุดแห่งชาติไต้หวัน ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้ง Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) กับ รศ.ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทำพิธีเปิดป้าย TRCCSปีค.ศ.2018 คุณเจิงสูเสียน ผอ.หอสมุดแห่งชาติไต้หวัน ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้ง Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) กับ รศ.ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทำพิธีเปิดป้าย TRCCS

หลังจีนดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในปีค.ศ.1980 นักวิจัยจำนวนมากเดินทางไปศึกษาวิจัยที่ประเทศจีน ส่งผลให้ไต้หวันที่เคยมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาวัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิมถูกเบียดตกขอบไปโดยปริยาย

กระนั้นก็ตาม ในการติดต่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออก ไต้หวันยังคงมีความได้เปรียบและมีบทบาทสำคัญที่ยากจะถูกทดแทน  ไต้หวันยังใช้ตัวอักษรจีนแบบดั้งเดิม เก็บรักษาคัมภีร์เก่าแก่และวัตถุโบราณเอาไว้มากมาย มีเสรีภาพด้านการแสดงความคิดเห็นและตีพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ รวมถึงกล้าท้าทายอำนาจเผด็จการ หากไม่นำสิ่งล้ำค่าเหล่านี้ขึ้นสู่เวทีโลก ก็จะเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ทั้งต่อไต้หวันเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ตลอดจนการพัฒนาของโลกด้วย

 

เปิดศูนย์ข้อมูลด้านจีนวิทยา 31 แห่งภายในเวลา 6 ปี

แม้หลังจากปีค.ศ.2011 ไม่มีการจัดตั้ง Taiwan Academy เพิ่มขึ้น แต่คุณเจิงสูเสียน (曾淑賢) ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการผลักดันองค์ความรู้ด้านจีนวิทยาของไต้หวันสู่เวทีโลก จึงได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านจีนวิทยาไต้หวัน (Taiwan Resource Center for Chinese Studies, TRCCS) ในต่างประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยประสบการณ์ด้านการติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศมาเป็นพื้นฐาน อีกทั้งเป็นการต่อยอดแนวคิด “การเผยแพร่วัฒนธรรมจีนที่มีอัตลักษณ์ของไต้หวันสู่นานาชาติ” ที่เธอเป็นผู้เสนอขึ้นเมื่อครั้งเข้ารับหน้าที่บริหารหอสมุดแห่งชาติ

หอสมุดแห่งชาติใช้ Interactive Technology มาชุบชีวิตใหม่ให้แก่ “บันทึกกวีนิพนธ์ของซูตงพัว” แค่ใช้นิ้วมือแตะที่จอภาพ ก็สามารถขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ช่วยให้อ่านเนื้อหาหรือชมตราประทับจักรพรรดิในหนังสือโบราณได้ง่ายขึ้นหอสมุดแห่งชาติใช้ Interactive Technology มาชุบชีวิตใหม่ให้แก่ “บันทึกกวีนิพนธ์ของซูตงพัว” แค่ใช้นิ้วมือแตะที่จอภาพ ก็สามารถขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ช่วยให้อ่านเนื้อหาหรือชมตราประทับจักรพรรดิในหนังสือโบราณได้ง่ายขึ้น

หลังทำพิธีเปิดป้าย TRCCS แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาลัยเขตออสติน  (University of Texas at Austin) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ.2012 คุณเจิงสูเสียนนำพาทีมงานจากหอสมุดแห่งชาติและทรัพยากรที่มีอยู่ หอบประสบการณ์ที่พรั่งพร้อมสมบูรณ์ในด้านการเก็บรักษาหนังสือโบราณและสิ่งพิมพ์ไต้หวัน ตระเวนปักหมุดจัดตั้ง TRCCS ในทวีปยุโรป เอเชีย อเมริกา และโอเชียเนีย

ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา นักรบวัฒนธรรมกลุ่มนี้กระตือรือร้นหาทางร่วมมือกับนักวิชาการต่างชาติ พร้อมประสานกับเจ้าหน้าที่การทูตไต้หวันในต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จในการจัดตั้ง TRCCS ขึ้น 31 แห่งทั่วโลก

 

แปลงคัมภีร์จีนโบราณให้เป็นรูปแบบดิจิทัลและจัดแสดงระดับนานาชาติ

นอกจากก้าวออกจากเกาะไต้หวันไปจัดตั้ง TRCCS ในต่างประเทศแล้ว หอสมุดแห่งชาติยังขานรับกระแสการพัฒนาทรัพยากรสู่ระบบดิจิทัล ด้วยการจัดตั้งระบบการจัดแสดงหนังสือโบราณในรูปแบบดิจิทัลเพื่อแบ่งปันทรัพยากรทางบรรณานุกรมให้แก่หน่วยงานเก็บรักษาหนังสือโบราณทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยทั่วทุกมุมโลกสามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับจีนวิทยาจากหนังสือโบราณเหล่านี้ได้

หอสมุดแห่งชาติ นอกจากเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือภาษาจีนและภาษาตะวันตกไว้มากมายแล้ว ยังจัดสถานที่อ่านหนังสือที่แสนสบายและเงียบสงบไว้สำหรับผู้ที่ใฝ่หาความรู้อีกด้วยหอสมุดแห่งชาติ นอกจากเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือภาษาจีนและภาษาตะวันตกไว้มากมายแล้ว ยังจัดสถานที่อ่านหนังสือที่แสนสบายและเงียบสงบไว้สำหรับผู้ที่ใฝ่หาความรู้อีกด้วย

ในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้ คัมภีร์และต้นฉบับตำราเก่าแก่มากมายไหลทะลักออกสู่ต่างประเทศ ทั้งจากการปล้นสะดมหรือกวาดซื้อด้วยเงินจำนวนมหาศาล จากการสำรวจของวงการจีนวิทยาพบว่า คัมภีร์หรือหนังสือจีนโบราณในต่างประเทศมีมากกว่า 3 ล้านเล่ม การที่หนังสือโบราณกระจัดกระจายออกไปทั่วโลกเช่นนี้ นอกจากส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการแล้ว ยังเป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อความเชื่อมั่นของชนชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษ 1920-1930 Marc Aurel Stein นักผจญภัยชาวอังกฤษ เดินทางเข้าไปยังภูมิภาคเอเชียกลางเพื่อขนคัมภีร์โบราณจากถ้ำตุนหวงกลับไปจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาวิจัยถ้ำตุนหวงไม่ใช่นักวิชาการชาวจีนแต่เป็นนักจีนวิทยาชาวยุโรป จนทำให้เฉินหยินเค่อ (陳寅恪) นักวิชาการจีน เคยกล่าวประชดประชันว่า “ถ้ำตุนหวงอยู่ในเมืองจีน แต่การศึกษาวิจัยตุนหวงอยู่ในต่างประเทศ”

การที่หอสมุดแห่งชาติของไต้หวันถูกเลือกให้เป็นหุ้นส่วนสำคัญของโครงการ International Book-exchange คุณเจิงสูเสียนกล่าวว่า “สาเหตุสำคัญมาจากต้นฉบับตำราและคัมภีร์จีนโบราณที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ในหอสมุดแห่งชาตินั่นเอง” เธอยังอธิบายอีกว่า ต้นฉบับตำราและคัมภีร์โบราณเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในทางประวัติศาสตร์ โดยถูกขนย้ายหนีไฟสงครามกลางเมืองมาพร้อมกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน จากฉงชิ่งไปยังเฉิงตู และท้ายที่สุดเข้ามาปักหลักอยู่ในไต้หวัน คุณถังเซินหรง (唐申蓉) เลขานุการผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเล่าว่า  “เคยได้ยินเจ้าหน้าที่อาวุโสของหอสมุดแห่งชาติเล่าถึงประสบการณ์ระทึกขวัญในการเข้าร่วมภารกิจขนย้ายหนังสือโบราณเหล่านี้  แทบต้องเอาชีวิตเข้าแลกเลยทีเดียว”

 

หอสมุดทั่วโลก 80 แห่ง มอบอำนาจ ให้ดำเนินการด้านดิจิทัล

หอสมุดแห่งชาติได้จัดตั้งคณะทำงานข้ามภาคส่วนเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรเพื่อร่วมกันพัฒนาการเก็บรักษาหนังสือ การบริหารด้านบรรณานุกรม การบริหารข้อมูลพิเศษ การพัฒนาระบบดิจิทัล ความร่วมมือระหว่างประเทศ และศูนย์จีนวิทยา เป็นต้น โดยขั้นตอนแรกคือการแปลงหนังสือโบราณให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และต่อมาในปีค.ศ.2008 ได้เข้าร่วม โครงการหอสมุดดิจิทัลแห่งโลก (World Digital Library) ด้วยการอัพโหลดข้อมูลภาพของหนังสือโบราณ 160 เล่ม อีกทั้งยังได้เข้าร่วมโครงการ International Dunhuang Project ในปีค.ศ.2013 ด้วยการอัพโหลดข้อมูลภาพพระไตรปิฎกจากถ้ำตุนหวงและคำอธิบายรวม 141 เล่ม โดยไต้หวันเป็นประเทศเดียวที่เข้าร่วมโครงการห้องสมุดดิจิทัลระดับโลกที่สำคัญถึง 2 โครงการ

ห้องสมุดหนังสือหายากภายในหอสมุดแห่งชาติ เก็บรักษาต้นฉบับตำราและคัมภีร์โบราณกว่า 1.3 แสนเล่ม และหนังสือโบราณแบบเย็บเชือกอีกกว่า 1.2 แสนเล่ม โดยที่มุมอ่านหนังสือ ยังมี “รวมเล่ม 100 คัมภีร์” (One Hundred Collectanea) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไว้บริการผู้อ่านที่ต้องการตรวจสอบและสืบค้นข้อมูลอีกด้วยห้องสมุดหนังสือหายากภายในหอสมุดแห่งชาติ เก็บรักษาต้นฉบับตำราและคัมภีร์โบราณกว่า 1.3 แสนเล่ม และหนังสือโบราณแบบเย็บเชือกอีกกว่า 1.2 แสนเล่ม โดยที่มุมอ่านหนังสือ ยังมี “รวมเล่ม 100 คัมภีร์” (One Hundred Collectanea) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไว้บริการผู้อ่านที่ต้องการตรวจสอบและสืบค้นข้อมูลอีกด้วย

ระหว่างที่เข้าร่วมโครงการหอสมุดดิจิทัลระดับโลก หอสมุดแห่งชาติไต้หวันได้รับมอบหมายจากห้องสมุดทั่วโลก 80 แห่ง ให้เป็นผู้จัดทำหนังสือโบราณกว่า 7.3 แสนเล่มจากทั่วโลกให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในอนาคตอีกไม่นานข้างหน้านี้ คำพยากรณ์ของคุณเฉียนมู่(錢穆) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ลัทธิขงจื๊อและการศึกษา ที่เคยกล่าวไว้ในผลงานชื่อ Essays on History and Culture (歷史文化論叢) ว่า “วัฒนธรรมใหม่ของมวลมนุษยชาติในอนาคต เกิดจากการบรรจบพบกันของวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันออก” อาจจะกลายเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ใครจะรู้!