New Southbound Policy Portal

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวันและมิวเซียมสยาม ร่วมกันจัดนิทรรศการวัฒนธรรมการสักลายของชนพื้นเมืองไต้หวัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน (NTM) และมิวเซียมสยามของไทย ร่วมกันจัดนิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” โดยจัดแสดงวัฒนธรรมการสักลายบนร่างกายของชนเผ่าไทหย่า (Atayal) และชนเผ่าผายวัน (Paiwan) ซึ่งเป็น 2 กลุ่มชนพื้นเมืองในไต้หวัน นับเป็นครั้งแรกที่มิวเซียมสยาม ได้ร่วมจัดนิทรรศการกับพิพิธภัณฑ์อื่น ถือว่ามีนัยสำคัญในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ สำนักข่าว CNA วันที่ 15 ก.ค. 62

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน (NTM) และมิวเซียมสยามของไทย ร่วมกันจัดนิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” โดยจัดแสดงวัฒนธรรมการสักลายบนร่างกายของชนเผ่าไทหย่า (Atayal) และชนเผ่าผายวัน (Paiwan) ซึ่งเป็น 2 กลุ่มชนพื้นเมืองในไต้หวัน นับเป็นครั้งแรกที่มิวเซียมสยาม ได้ร่วมจัดนิทรรศการกับพิพิธภัณฑ์อื่น ถือว่ามีนัยสำคัญในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ สำนักข่าว CNA วันที่ 15 ก.ค. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 15 ก.ค. 62

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan Museum, NTM) และมิวเซียมสยาม (Museum Siam)ของไทย ร่วมกันจัดนิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR) โดยจัดแสดงวัฒนธรรมการสักลายบนร่างกายของชนเผ่าไทหย่า (Atayal) และชนเผ่าผายวัน(Paiwan) ซึ่งเป็น 2 กลุ่มชนพื้นเมืองในไต้หวัน นับเป็นครั้งแรกที่มิวเซียมสยาม ได้ร่วมจัดนิทรรศการกับพิพิธภัณฑ์อื่น ถือว่ามีนัยสำคัญในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ


 

NTM และมิวเซียมสยาม ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกันเมื่อเดือนก.ย. ปีที่แล้ว โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมกันพัฒนาความสัมพันธ์ระยะกลางและระยะยาว โดยผ่านการร่วมกันจัดนิทรรศการ ตระเวณโรดโชว์ในต่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนบุคลากร เป็นต้น ดังนั้นในปีนี้ NTM และมิวเซียมสยาม จึงได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ซึ่งได้ทำพิธีเปิดนิทรรศการเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา ณ มิวเซียมสยาม


 

NTM ได้นำเสนอศิลปะ “การสักลายบนใบหน้าและร่างกาย” ของชนเผ่าไท่หย่าและชนเผ่าผายวัน มาเป็นไฮไลท์ของจัดแสดง ซึ่งประกอบด้วย ภาพถ่ายลายสักบนมือของผู้เฒ่าประจำเผ่าที่หาดูได้ยาก วิดีโอสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เครื่องมืออุปกรณ์สักลาย การแนะนำประวัติศาสตร์การสักมือ และหุ่นไม้แกะสลักที่มีลายสัก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบันทึกไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมเก่าแก่อันมีค่าที่ใกล้จะสูญหาย ทางด้านมิวเซียมสยาม ได้มีการจัดแสดงความหมายและรูปแบบของการสักลายแบบโบราณของไทย เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงวัฒนธรรมการประดับและตกแต่งร่างกายแบบดั้งเดิมของไทย

 

นอกจากมีการจัดแสดงผลงานดังกล่าวแล้ว NTM ยังได้เชิญ นายซ่งไห่หัว (Cudjuy Maljugau) ช่างสักแห่งชนเผ่าผายวัน ไปโชว์ศิลปะการสักลายในงานนิทรรศการด้วย นอกจากนี้ คณะการแสดงศิลปะวัฒนธรรมAmubwiy Puing Culture Arts Group ก็ได้ร่วมเดินทางไปจัดแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิมของชนเผ่า G'sayaซึ่งแตกแขนงจากชนเผ่าไทหย่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวัน


 

นอกจากนี้ นายเฉินเหวินซาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนานเหอ ตำบลหลายอี้ เมืองผิงตง อันเป็นดินแดนของชนเผ่าผายวัน และ Baunay Watan นักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชนเผ่า Shyakalo ซึ่งเป็นชนเผ่าย่อยที่แตกแขนงจากชนเผ่าไทหย่า ก็ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการครั้งนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับช่างสักและนักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชาวไทยด้วย


 

นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวขณะให้สัมภาษณ์ว่า จากความร่วมมือกันระหว่างมิวเซียมสยามและ NTM ในการร่วมมือกันจัดแสดงนิทรรศการลายสักของชนเผ่าพื้นเมืองไต้หวันในครั้งนี้ ทำให้มิวเซียมสยามได้รับประสบการณ์และเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ มากมาย


 

นายหงซื่อโย่ว ผู้อำนวยการ NTM กล่าวขณะให้สัมภาษณ์ว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มิวเซียมสยามได้ร่วมจัดนิทรรศการกับพิพิธภัณฑ์อื่น ซึ่งนับว่ามีนัยสำคัญ ในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ


 

นิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” กำหนดจัดขึ้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 27ตุลาคม 2562