New Southbound Policy Portal

คณะตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชนของไต้หวัน เข้าร่วมการประชุม COP 25

การประชุม COP 25 ที่จัดขึ้น ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. นายจางจื่อจิ้ง รมว. ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน ได้จัดแถลงข่าว พร้อมกล่าวว่า ในปีนี้ ด้วยความมุ่งมั่นพยายามร่วมกันของ กต.ไต้หวัน และสำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศสเปน ได้โปรโมทให้ประชาคมโลก รับทราบถึงคุณประโยชน์ที่ไต้หวันได้สร้างขึ้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ผ่านการจัดการประชุมนอกรอบ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ต่างเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมนอกรอบ ในหลายประเด็น

การประชุม COP 25 ที่จัดขึ้น ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. นายจางจื่อจิ้ง รมว. ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน ได้จัดแถลงข่าว พร้อมกล่าวว่า ในปีนี้ ด้วยความมุ่งมั่นพยายามร่วมกันของ กต.ไต้หวัน และสำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศสเปน ได้โปรโมทให้ประชาคมโลก รับทราบถึงคุณประโยชน์ที่ไต้หวันได้สร้างขึ้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ผ่านการจัดการประชุมนอกรอบ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ต่างเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมนอกรอบ ในหลายประเด็น

MOFA วันที่ 16 ธ.ค. 62

 

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 (UNFCCC COP 25) มีกำหนดการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 15 ธ.ค. ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ซึ่งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวัน ได้รวบรวมคณะตัวแทน เดินทางเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของทุกปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ นายจางจื่อจิ้ง รัฐมนตรีว่าการทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน ทำหน้าที่เป็นหัวหน้านำคณะตัวแทนไต้หวันเดินทางไปเข้าร่วม ซึ่งคณะตัวแทนได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วงไปอย่างราบรื่นในทุกประการ


 

MOFA ระบุถึง ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ จากการเข้าร่วมการประชุม UNFCCC ในปีนี้ของไต้หวัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้


 

ประการแรก ประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศของไต้หวัน ได้เร่งส่งเสริมให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นรูปธรรม โดยในปีนี้ มีประเทศพันธมิตรไต้หวัน รวม 13 ประเทศได้ส่งหนังสือเรียกร้อง และกล่าวสนับสนุนไต้หวัน ให้มีส่วนร่วมในการประชุม UNFCCC นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกรัฐสภาของมิตรประเทศ จาก 12 ประเทศ อาทิ อังกฤษ สเปน เยอรมนี เป็นต้น ได้ส่งหนังสือเรียกร้องถึงสำนักเลขาธิการ และโพสต์ข้อความลงสื่อโซเชียลอย่างเปิดเผย เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ทั่วโลก ประจักษ์เห็นถึงความจำเป็นในการเข้ามีส่วนร่วมของไต้หวัน


 

ประการที่ 2 คณะตัวแทนไต้หวัน ประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศ ได้ร่วมกันจัดการประชุมระดับทวิภาคีขึ้นทั้งหมด 42 รอบ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และโปรโมทแผนผลักดันเข้าร่วมการประชุม UNFCCC ของไต้หวัน โดยคณะตัวแทนไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน รวมถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และเอกอัครราชทูตหรือผู้แทนของมิตรประเทศ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดการประชุมระดับทวิภาคีขึ้นทั้งหมด 42 รอบ ในระหว่างการประชุม UNFCCC ครั้งนี้


 

ประการที่ 3 ในปีนี้ ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมหารือนอกรอบทั้งหมด 13 รอบ ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดึงดูดผู้สนใจกว่าพันคนมาเข้าร่วม ถือเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจในเชิงลึก เกี่ยวกับแผนผลักดันของไต้หวัน ให้กับประชาคมโลกเพิ่มมากขึ้น


 

ประการที่ 4 หัวหน้าคณะและสมาชิกที่เกี่ยวข้อง ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อต่างประเทศ ทั้งหมด 12 รอบ อาทิ “ดอยเช่อ เวลเล่อ” (Deutsche Welle) สถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะของเยอรมนี ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในทวีปยุโรปเป็นอย่างมาก “Diario ABC” และ “La Razón” หนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ในสเปน และสำนักข่าว CNA ของไต้หวัน เป็นต้น


 

ประการที่ 5 ในปีนี้ ไต้หวันได้จัดกิจกรรมไฮไลท์เพื่อการประชาสัมพันธ์ขึ้น ในละแวกศูนย์การประชุมนานาชาติ กรุงมาดริด รวมถึงการจัดทำโฆษณา ที่ปรากฎตามป้ายรถโดยสารประจำทาง ภายนอกตัวขบวนรถไฟฟ้า และภายนอกรถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก การประชาสัมพันธ์ทั้งแบบภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งเหล่านี้ ยิ่งทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น และได้รับเสียงชื่นชมจากทุกแวดวงอย่างล้นหลาม


 

ประการสุดท้าย กต.ไต้หวันได้ผลักดันภาพยนตร์สั้นเพื่อการประชาสัมพันธ์ ภายใต้หัวข้อ “บินลู่ไปตามแรงลม” เมื่อวันที่ 25 พ.ย. จากการสร้างฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งของไต้หวัน ขึ้นเป็นแห่งแรก นับเป็นการประกาศให้ประชาคมโลกรับทราบว่า ไต้หวันนอกจากจะมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายของ UNFCCC อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับโลก ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างกระตือรือร้น โดยภาพยนตร์ดังกล่าวได้จัดทำคำบรรยายเป็นภาษาต่างประเทศ ทั้งหมด 10 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน และไทย เป็นต้น ซึ่งได้นำออกเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต ให้ได้ชมพร้อมกันทั่วโลก โดยนับตั้งแต่ที่ได้เผยแพร่ภาพยนตร์ดังกล่าวมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ตราบจนปัจจุบัน มียอดผู้เข้าชม รวมเป็นจำนวนกว่า 10.7 ล้านครั้ง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม