New Southbound Policy Portal

NCKU เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นานาชาติ ผ่านศูนย์วิจัยในต่างแดน

ดร. ซูฮุ่ยเจิน (ที่ 3 จากขวา) อธิการบดี NCKU และ ศจ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ (ที่ 4 จากซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ถ่ายภาพร่วมกัน ณ ศูนย์วิจัยร่วม (MU-NCKU Joint Research Center) เมื่อปี 2018 (ภาพจาก NCKU)

ดร. ซูฮุ่ยเจิน (ที่ 3 จากขวา) อธิการบดี NCKU และ ศจ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ (ที่ 4 จากซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ถ่ายภาพร่วมกัน ณ ศูนย์วิจัยร่วม (MU-NCKU Joint Research Center) เมื่อปี 2018 (ภาพจาก NCKU)

NCKU วันที่ 27 เม.ย. 63

 

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. มหาวิทยาลัยเฉิงกง (National Cheng Kung University, NCKU) แถลงว่า แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในช่วงเริ่มต้น จะทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องเลื่อน หรือแม้กระทั่งยกเลิกประชุม หรือปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่เนื่องจากเมื่อช่วงที่ผ่านมา ทาง NCKU ได้จัดตั้งฐานการวิจัยในต่างประเทศที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในพื้นที่ ซึ่งตราบจนปัจจุบันยังคงสามารถผลักดันโครงการร่วมวิจัยทางวิทยาศาสตร์แบบข้ามประเทศ ได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ


 

ศาตราจารย์ หวังเสี่ยวเหวิน หัวหน้าฝ่ายกิจการต่างประเทศของ NCKU ชี้ว่า ในปีนี้หัวใจสำคัญในการเปิดรับสมัครผลงานวิจัยภายใต้โครงการร่วมวิจัย ได้เล็งเป้าไปที่การวิจัยเชิงวิชาการระดับนานาชาติและปรัชญาการศึกษา ตั้งแต่ที่เริ่มก่อตั้ง NCKU เป็นต้นมา โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความเชี่ยวชาญแบบสหวิทยาการ ประสานความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริง  ส่งเสริมให้นักวิชาการระดับสูงที่มีผลงานยอดเยี่ยมร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมนำคณะนักวิจัยแบบข้ามวงการ ไปส่งมอบความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยการนำนักศึกษาเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพเข้าร่วมวางแผนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แบบข้ามประเทศ


 

ยกตัวอย่างเช่น ดร. เผิงกุ้ยชุน ศาสตราจารย์สถาบันจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี (Department of Microbiology & Immunology) คณะแพทยศาสตร์ของ NCKU และผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันบูรณาการพื้นฐานการวิจัยของโรคไข้เลือดออก ผนวกเข้ากับประสบการณ์การรักษาทางคลินิกในพื้นที่ ระหว่างไต้หวัน – ไทย เพื่อสำรวจการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี ( Dengue fever) และการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (Leukemia) นำเสนอแนวคิดการวิจัยเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีแบบใหม่ พร้อมทั้งนำนักศึกษาเมล็ดพันธุ์ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ ร่วมเรียนรู้พื้นฐานการใช้งานและเทคนิคการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจแยกเซลล์ด้วยเทคนิค Flow Cytometry และการวิเคราะห์หลักการตรวจหาเชื้อแบบอีไลซา (Enzyme-linked Immunosorbent Assay, ELISA)


 

นอกจากนี้ NCKU ยังได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) ของมาเลเซีย และคณะนักวิจัยที่รวมตัวกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยทั้ง 3 สถาบันได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาตัวยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย ป้องกันโรคมะเร็ง และสำหรับผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม โดยคาดหวังที่จะปรับปรุงและยกระดับระบบการดูแลทางการแพทย์ในสังคม ลดต้นทุนทางสังคมผู้สูงอายุ ผ่านผลงานวิจัยเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ อนึ่ง NCKU และมหาวิทยาลัยการแพทย์และการเภสัชนครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City Medicine and Pharmacy University) ของเวียดนาม ยังได้ร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือแก่สตรีมีครรภ์ในเวียดนาม ที่ประสบปัญหาสุขอนามัยและภาวะแทรกซ้อน ผ่านการคัดกรองพันธุกรรมทางวิทยาศาสตร์ ระบบประกันสุขภาพ และการให้คำปรึกษาหลังการคลอดบุตร


 

ยิ่งไปกว่านั้น NCKU ยังได้ขยายความเชื่อมโยงไปยังสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำต่างๆ ในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย ผ่านการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมในต่างประเทศ โดยเป้าหมายในปี 2020 คือต้องการบูรณาการหลักพื้นฐานทางวิชาการ รวบรวมคณะผู้เชี่ยวชาญทางภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการแบบข้ามวงการ ข้ามประเทศ เร่งเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาในเชิงลึก สร้างโอกาสในการเข้ามีส่วนร่วมของนักศึกษา ตลอดจนมุ่งเน้นการแก้ปัญหาและความท้าทายที่ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อระดับภูมิภาคและระดับโลก