New Southbound Policy Portal
สาระสำคัญของเนื้อข่าว :
♦ ในปี 2018 ไมโครซอฟท์ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI ขึ้นในไต้หวันเป็นแห่งแรกของเอเชีย โดยในปีนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้ประกาศอีกว่าจะอัดฉีดงบลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นต่อไป
♦ เพียงแค่ไต้หวัน – สหรัฐฯ ผนวกรวมข้อได้เปรียบเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือในการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน เชื่อว่าจะสามารถนำพาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดมาสู่ไต้หวัน สหรัฐฯ และประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
♦ หลังจากนี้ ไมโครซอฟท์มีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ระดับภูมิภาคแห่งแรกในไต้หวัน พร้อมขยายทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการประมวลผลบนระบบคลาวด์ โดยการลงทุนในโครงการเหล่านี้จะสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมคลาวด์ของไต้หวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-------------------------------------------
ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 26 ต.ค. 63
เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วม “งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการใหม่แห่งการลงทุนของไมโครซอฟท์ในไต้หวัน” พร้อมกล่าวชื่นชมบริษัทไมโครซอฟท์ที่เพิ่มการลงทุนในไต้หวันว่า เป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดที่ประสานความร่วมมือกับไต้หวันในการชิงถ้วยรางวัลนานาชาติ และเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนทางความร่วมมือในทุกภาคส่วนระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ผ่านโครงการใหม่นี้ ตลอดจนจะนำมาซึ่งการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน และชัยชนะร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ปธน.ไช่ฯ กล่าวแสดงความขอบคุณไมโครซอฟท์ที่ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา เล็งเห็นโอกาสการเติบโตในไต้หวัน อีกทั้งยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่ยินดีเข้าลงทุนในไต้หวันมาเป็นเวลาเนิ่นนาน
ปธน.ไช่ฯ ชี้ว่า ในวาระการดำรงตำแหน่งผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สมัยที่แล้วของตน ได้มีการผลักดัน “โครงการอุตสาหกรรมนวัตกรรม 5 + 2” ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้ขานรับต่อโครงการเอเชียซิลิคอนวัลเลย์ โดยประกาศจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม IoT ในไต้หวัน หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้เร่งขยายการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในไต้หวัน นอกจากนี้ ในปี 2018 ไมโครซอฟท์ยังได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI ขึ้นในไต้หวันเป็นแห่งแรกของเอเชียอีกด้วย โดยในปีนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้ประกาศอีกว่าจะอัดฉีดงบลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นต่อไป
ปธน.ไช่ฯ ระบุว่า ขณะนี้สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ส่งผลให้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกเกิดการพลิกผันครั้งใหญ่ ประกอบกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้าง ในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ต่อไป
ปธน.ไช่ฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในด้านการผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระดับสูง ไต้หวันมีข้อได้เปรียบที่ไม่มีใครสามารถแทนที่ได้ ในด้านการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ไต้หวันถือเป็นพันธมิตรที่มั่นคงและเชื่อถือได้ของสหรัฐฯ และประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยสหรัฐฯ นับเป็นประเทศผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงระดับโลก เพียงแค่ไต้หวัน – สหรัฐฯ ผนวกรวมข้อได้เปรียบเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือในการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน เชื่อว่าจะสามารถนำพาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดมาสู่ไต้หวัน สหรัฐฯ และประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถสร้างประสิทธิภาพอันยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน
ปธน.ไช่ฯ แสดงความคิดเห็นว่า ในวันนี้ที่ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มการลงทุนในไต้หวัน ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างไต้หวันและประชาคมโลก โดยเฉพาะกับสหรัฐฯ ต่อไป ในด้านความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ไมโครซอฟท์ถือได้ว่าเป็นผู้นำระดับโลก
ปธน.ไช่ฯ เน้นย้ำว่า ในวันนี้ที่ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัวโครงการใหม่แห่งการลงทุนในไต้หวัน นอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ แล้ว ยังเป็นการประสานความร่วมมือกับไต้หวันในการสรรสร้าง “ไต้หวันดิจิทัล” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหลักชัยที่สำคัญอีกด้วย หลังจากนี้ ไมโครซอฟท์มีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ระดับภูมิภาคแห่งแรก พร้อมขยายทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการประมวลผลบนระบบคลาวด์ โดยการลงทุนในโครงการเหล่านี้จะสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมคลาวด์ของไต้หวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัดฉีดแรงขับเคลื่อนใหม่เข้าสู่การพัฒนาทางอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้ประชาคมโลกประจักษ์เห็นถึงศักยภาพแห่งการวิจัยและพัฒนาของไต้หวันต่อไป
ท้ายนี้ ปธน.ไช่ฯ ได้แสดงความขอบคุณ พร้อมแสดงความคาดหวังต่อไมโครซอฟท์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ปธน.ไช่ฯ คาดหวังที่จะเห็นไมโครซอฟท์ร่วมบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับไต้หวันเป็นจำนวน 200,000 คน สร้างโอกาสงานที่มากกว่า 30,000 ตำแหน่ง และสร้างมูลค่าการผลิตมากกว่า 3 แสนล้านเหรียญไต้หวันขึ้นไป