New Southbound Policy Portal

จากขยะรีไซเคิลสู่การหมุนเวียนทรัพยากร สร้างความร่วมมือแบบพหุภาคี

สาระสำคัญของเนื้อข่าว :
♦ เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ ภายใต้หัวข้อ “จากขยะรีไซเคิลสู่การหมุนเวียนทรัพยากร” เพื่อร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการนำขยะรีไซเคิลกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่ของไต้หวัน 

♦ ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประสบการณ์ความสำเร็จในด้านการจัดตั้งระบบจัดการขยะรีไซเคิล ด้วยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบการเข้าสู่กองทุนของไต้หวัน นอกจากจะกลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนนานาชาติแล้ว ยังส่งให้ไต้หวันประสบความสำเร็จด้านการรีไซเคิลทรัพยากรในระดับแนวหน้าของโลกอีกด้วย

♦ สำหรับไต้หวันแล้ว ขยะคือทรัพยากรที่ถูกวางอยู่ผิดตำแหน่ง เนื่องจากไต้หวันมีอุตสาหกรรมรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถปรับเปลี่ยนให้ขยะเข้าสู่การหมุนเวียนของทรัพยากรได้
-------------------------------------------
ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วันที่ 29 ต.ค. 63

 

เพื่อผลักดันการสร้างความร่วมมือการรีไซเคิลทรัพยากรกับพันธมิตรจากนานาชาติ และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างไต้หวันและประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Administration, EPA) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ ภายใต้หัวข้อ “จากขยะรีไซเคิลสู่การหมุนเวียนทรัพยากร” ระหว่างวันที่ 22 – 23 ต.ค. และวันที่ 28 – 29 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยได้ติดต่อเชิญเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน และเดนมาร์ก ที่ประจำอยู่ในไต้หวันรวม 20 กว่าคนเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการนำขยะรีไซเคิลกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่ของไต้หวัน ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแนวคิดของสิ่งแวดล้อมอันยั่งยืน

 

เนื่องจากไต้หวันขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติ ประกอบกับมีประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีขนาดเล็ก จึงมีความยากที่จะแสวงหาสถานที่ฝังกลบขยะ อย่างไรก็ตาม ประเด็นการจัดการกับขยะเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขปัญหา ระบบรีไซเคิลและ “โครงการรีไซเคิลทรัพยากร 4 in 1”  ที่ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมริเริ่มผลักดันนับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจมูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านเหรียญไต้หวันต่อปีในปัจจุบัน และสร้างโอกาสงานที่มากกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง ภายใต้การผลักดันแผนการดังกล่าวมาเป็นตลอดระยะเวลาหลายปี ประสบการณ์ความสำเร็จในด้านการจัดตั้งระบบจัดการขยะรีไซเคิล ด้วยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบการเข้าสู่กองทุนของไต้หวัน นอกจากจะกลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนนานาชาติแล้ว ยังส่งให้ไต้หวันประสบความสำเร็จด้านการรีไซเคิลทรัพยากรในระดับแนวหน้าของโลกอีกด้วย

 

EPA แถลงว่า สำหรับไต้หวันแล้ว ขยะคือทรัพยากรที่ถูกวางอยู่ผิดตำแหน่ง เนื่องจากไต้หวันมีอุตสาหกรรมรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถปรับเปลี่ยนให้ขยะเข้าสู่การหมุนเวียนของทรัพยากรได้ อันถือว่าเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ให้กับขยะอย่างแท้จริง โดยที่ผ่านมา ในไต้หวันได้มีการนำขยะที่เป็นเศษแก้วกระจกมาใช้ในการปูพื้นถนน ซึ่งก็คือการทำให้ขยะกลายเป็นทรัพยากร แต่ในปัจจุบันนี้ พวกเรามีโอกาสได้เห็นว่า บริษัทสตาร์ทอัพได้นำเศษแก้วกระจกมาปรับเปลี่ยนเป็นงานศิลปะ ซึ่งนี่เป็นการเพิ่มมูลค่าของขยะให้สูงขึ้น

 

EPA ชี้แจงเพิ่มเติมว่า กิจกรรมในครั้งนี้ส่งเสริมให้ไต้หวันและมิตรประเทศทั่วโลกสามารถร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและประสบการณ์ระหว่างกัน พร้อมร่วมบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอันยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่หลากหลาย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ พวกเรายินดีที่จะเผยแพร่เทคโนโลยีฟื้นฟูทรัพยากรอันยอดเยี่ยมของไต้หวัน เพื่อให้ประชาคมโลกที่มีความต้องการได้รับทราบถึงปณิธานที่ว่า “ไต้หวันสามารถช่วยได้” (Taiwan can help) ในด้านการส่งเสริมภารกิจความร่วมมือระดับภูมิภาค คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตจะสามารถสร้างความร่วมมือในโครงการต่างๆ และเจริญความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์กับประชาคมโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอันยอดเยี่ยมนี้